โควิด-19กระทบแผนลงทุนในพื้นที่อีอีซี พณ.เผย 5 เดือนยอดตั้งธุรกิจหดตัวเฉียด14%

รายงานข่าวจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ธุรกิจในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) ประกอบด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และ ระยอง ในช่วง 5 เดือนแรกปี 2563 มีการจัดตั้งธุรกิจใหม่ใน3 จังหวัดรวม 2,731 ราย ทุนจดทะเบียน 6,790.50 ล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปี 2562 จำนวนลดลง 13.35% และมูลค่าทุนจดทะเบียนลดลง 18.32% โดย 71.73% เป็นการจัดตั้งธุรกิจใหม่ในจังหวัดชลบุรี 1,959 ราย ทำให้ปัจจุบันพื้นที่ 3 จังหวัด มีนิติบุคคลคงอยู่ ณ 31 พฤษภาคม จำนวน 74,073 ราย ทุนจดทะเบียนรวม 1.96 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น ชลบุรี 54,357 ราย คิดเป็น 73.38% ระยอง 13,909 ราย คิดเป็น 18.78% และฉะเชิงเทรา 5,807 ราย คิดเป็น 7.84% ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจบริการ 60.90 % รองลงมาคือการขายส่งขายปลีก 24.01% และการผลิต 15.09%

สำหรับธุรกิจที่ยังดำเนินกิจการอยู่สูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ การผลิต 1. ธุรกิจกลึงกัดไสโลหะ 942 ราย มีรายได้ 10,480.76 ล้านบาท 2. ธุรกิจติดตั้งเครื่องจักร อุตสาหกรรมและอุปกรณ์ 593 ราย มีรายได้ 5,458.80 ล้านบาท และ 3. ธุรกิจผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริม สำหรับยานยนต์ 545 ราย มีรายได้ 768,427.18 ล้านบาท โดยขายส่ง/ปลีก 1.ธุรกิจขายส่งเครื่องจักรอื่นๆ 1,549 ราย มีรายได้ 46,069.89 ล้านบาท 2. ธุรกิจขายส่ง เครื่องจักรเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรม 1,177 ราย มีรายได้ 14,602.67 ล้านบาท และ 3. ธุรกิจขายปลีกวัสดุ ก่อสร้าง 994 ราย มีรายได้ 32,580.12 ล้านบาท บริการ 1. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 13,509 ราย มีรายได้ 50,717.30 ล้านบาท 2. ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 5,149 ราย มีรายได้ 42,254.18 ล้านบาท และ 3. ธุรกิจบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร 2,121 ราย มีรายได้ 5,356.55 ล้านบาท

การถือหุ้นของต่างชาติในนิติบุคคลไทย 40.22 % ของทุนทั้งหมด โดยสัญชาติญี่ปุ่นมีสัดส่วนมากที่สุด คิดเป็น 48.10 % รองลงมาคือ จีน มีสัดส่วน 10.63% และสิงคโปร์มีสัดส่วน 5.49% โดยมีการลงทุน ในจังหวัดระยองสูงสุด 53.08% ธุรกิจที่ลงทุนโดยสัญชาติญี่ปุ่นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆส าหรับยานยนต์ มีมูลค่า 74,322.15 ล้านบาท 2. ผลิตอะลูมิเนียมและผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม มีมูลค่าการลงทุน 38,720.91 ล้านบาท 3. ผลิตยางล้อและยางใน มีมูลค่า 31,797.32 ล้านบาท

ธุรกิจที่ลงทุนโดยสัญชาติจีนสูงสุด 3 อันดับแรก เรียงตามมูลค่าทุนจดทะเบียน ได้แก่ 1. ผลิตยางล้อและยางใน 14,033.60 ล้านบาท 2. ผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่นๆส าหรับยานยนต์ 8,617.29 ล้านบาท 3. ร้านขายปลีกวัสดุก่อสร้างอื่นๆ 4,374.24 ล้านบาท ธุรกิจที่ลงทุนโดยสัญชาติสิงคโปร์สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. ผลิตมอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องก าเนิดไฟฟ้า 8,318.38 ล้านบาท 2. ผลิตยางล้อและยางใน 6,920.98 ล้านบาท 3. ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดใช้ในครัวเรือน 4,046.59 ล้านบาท

Advertisement

รายงานข่าวระบุต่อว่า สาเหตุที่ให้การลงทุนในอีอีซีลดลง ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 กระทบต่อการดำเนินธุรกิจปกติ และชะลอการลงทุนเพื่อรอความชัดเจนของการแพร่ระบาดของโควิด-19 และระยะเวลาของผลกระทบ ที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะจบแค่ไหน อีกทั้งในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม มีการหยุดกิจการชั่วคราวทำให้เกิดการชะงักของการลงทุนใหม่

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image