สกู๊ปหน้า 1 มติชน : ‘ดอยเชียงดาว’ พื้นที่สงวนชีวมณฑลล่าสุดของโลก

ดอยเชียงดาวž พื้นที่สงวนชีวมณฑลžล่าสุดของโลก

น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ดอยเชียงดาวŽ หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปาก ดอยหลวงŽ เพราะความยิ่งใหญ่ของขุนเขาที่สูงจรดขอบฟ้าเหนือ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ด้วยความสูง 2,225 เมตร เป็นอันดับสามรองมาจากดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง และดอยผ้าห่มปก อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

วันนี้ ดอยหลวงเชียงดาวผ่านร้อนผ่านหนาว กรำแดดและพายุฝน มาจนถึงวันที่ได้รับการคัดเลือกและมีมติเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้เสนอเป็น พื้นที่สงวนชีวมณฑลŽ (biosphere reserve) แห่งใหม่ ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้เข้าสู่กรอบการพิจารณาในปี 2564

น.ส.วิมลมาศ นุ้ยภักดี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ผู้จัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า จ.เชียงใหม่ ระบุว่า ภูมิใจมากเมื่อสิ่งที่สานต่อมานานเริ่มเข้าสู่กระบวนการที่ชัดเจน เพราะ 20 ปีแล้วที่ไทยไม่ได้มีการเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑลต่อยูเนสโกเลย ทั้งที่เรามีพื้นที่ศักยภาพพร้อมอยู่แล้ว แม้ว่าจะมีการประชุมเครือข่ายพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตลอด และประเทศต่างๆ ทั่วโลกเขาจะเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งใหม่กันมาตลอด

 

Advertisement

เดิมประเทศไทยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑลทั้งหมด 4 แห่ง ประกอบด้วย โดยในปี 2519 พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นป่าดิบแล้ง ปี 2520 พื้นที่สงวนชีวมณฑลห้วยคอกม้า จ.เชียงใหม่ ในฐานะระบบลุ่มน้ำภูเขา ในเขต 3 อุทยานแห่งชาติคือ ดอยสุเทพ-ปุย ออบขาน และขุนขาน พื้นที่สงวนชีวมณฑลสวนสัก-ห้วยทาก จังหวัดลำปาง ในฐานะป่าสักขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และห่างหายไปอีก 20 ปี จึงได้รับการรับรองอีก 1 แห่ง ในปี 2540 คือ พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าชายเลนระนอง จังหวัดระนอง ป่าชายเลนของไทยและแห่งแรกของโลก

ครั้งนี้มีการสำรวจพื้นที่ศักยภาพทั่วประเทศจำนวน 19 แห่ง เพื่อส่งให้คณะกรรมการระดับกรมพิจารณาคัดเหลือ 4 พื้นที่คือ ดอยเชียงดาว เกาะตะรุเตา ป่าแม่วงก์ และป่ากุยบุรี ต่อมาคณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณานำร่องใน 2 พื้นที่คือ ดอยเชียงดาว ที่เป็นสังคมพืชกึ่งอัลไพน์แห่งเดียวของประเทศไทย และเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นหมู่เกาะ และล่าสุดเมื่อคณะกรรมการระดับชาติตัดสินใจเลือกดอยเชียงดาวส่งให้ ครม.พิจารณาเสนอชื่อต่อยูเนสโก

Advertisement

ลักษณะเด่นของดอยเชียงดาวคือ เป็นป่าเขตร้อน 4 ชนิด มีทั้งป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าเปิดระดับสูง เกิดความหลากหลายของสภาพป่า มีพรรณไม้กว่า 1,800 ชนิด และด้วยมีความสูงเกินกว่า 1,900 เมตร จึงเป็นป่ากึ่งอบอุ่นเหมือนต่างประเทศ โครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นเขาหินปูน ทำให้มีไม้พุ่มแปลกตา เป็นพื้นที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นสังคมพืชกึ่งอัลไพน์แห่งเดียวของประเทศไทย จึงมีพืชชนิดใหม่จำนวนมาก เป็นพืชเฉพาะถิ่นพบได้ที่เดียวในโลก หายาก และน่าสนใจมากกว่า 50 ชนิด อาทิ ค้อเชียงดาว เทียนเชียงดาว ชมพูเชียงดาว กุหลาบขาวเชียงดาว ก่วมเชียงดาว ตีนเป็ดเชียงดาว หรีดเชียงดาว ขาวปั้น เอื้องศรีเชียงดาว สิงโตเชียงดาว และเทียนนกแก้ว พรรณพฤกษาที่มีค่างดงามไร้ที่ติ

ในขณะเดียวกันชุมชนที่อยู่โดยรอบยังมีความหลากหลาย ทั้งชาติพันธุ์และวิถีชีวิต เศรษฐกิจชุมชนจึงมาจากการเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีความเข้มแข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ และดอยเชียงดาวยังเป็นต้นกำเนิดแหล่งน้ำปิง แม่น้ำสายสำคัญของเชียงใหม่

จากข้อมูลของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ย้ำว่า ดอยเชียงดาวมีสัตว์ป่ามากถึง 672 ชนิด โดยเฉพาะเลียงผา และกวางผา สัตว์ป่าสงวนที่พบได้บนยอดเขาสูงเทียมเมฆ เสือโคร่ง เสือไฟ เสือลายเมฆ ลิงลม ชะนีมือขาว ค่างแว่นถิ่นเหนือ ลิงภูเขา ลิงอ้ายเงียะ ลิงวอก เม่น อีเก้ง หมาไน และลิ่น มีสัตว์ปีก 383 ชนิด โดยเฉพาะนกที่พบมีสภาพใกล้สูญพันธุ์และตกอยู่ในภาวะถูกคุกคาม เช่น นกกก นกแก๊ก นกกางเขนดง นกตั้งล้อ นกพญาไฟใหญ่ นกกางเขนน้ำ นกขุนทอง นกเปล้าหางแหลม นกกะรางหัวขวาน นกขุนแผนอกส้ม นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล นกขมิ้นท้ายทอยดำ เหยี่ยวภูเขา ไก่ฟ้าหลังขาว นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ นกปรอดเหลืองหัวจุก นกไต่ไม้หน้าผากกำมะหยี่ นกบั้งรอกใหญ่ นกเขียงคราม และนกหายากที่สุดแต่พบได้ที่นี่ นกกินแมลงเด็กแนน และไก่ฟ้าหางลายขวาง

 

ตลอดจนสัตว์เลื้อยคลานสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก 91 ชนิด เช่น เต่าปูลู ตะพาบน้ำ เต่าหก ตะกวด งูจงอาง งูสิง งูเหลือม ตุ๊กแก กิ้งก่าดง กิ้งก่าป่าสีน้ำเงิน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ไม่น้อยกว่า 48 ชนิด และใกล้จะสูญพันธุ์คือ กะท่าง กบ อึ่งอ่างบ้าน อึ่งขาดำ กบหนอง กบนา ปลาน้ำจืด 25 ชนิด ได้แก่ ปลาจาด ปลาขี้ยอก ปลาแม่แปบ ปลาสร้อยเกล็ดถี่ ปลาตะเพียน ปลากด

ส่วนแมลงหายากและเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองคือ ด้วงกว่างดาว ด้วงกว่างห้าเขา ด้วงคีมยีราฟ ผีเสื้อกลางคืนหางยาว ผีเสื้อถุงทอง ผีเสื้อหางดาบตาลไหม้ หรือแม้กระทั่งผีเสื้อที่พบเฉพาะที่ดอยเชียงดาว และคาดว่าอาจจะสูญพันธุ์แล้วคือ ผีเสื้อภูฐาน หรือผีเสื้อสมิงเชียงดาว

ทั้งนี้ ยูเนสโกตั้งธงในเรื่องการจัดทำพื้นที่สงวนชีวมณฑลขึ้นมากว่า 40 ปี ก็เพราะประชากรโลกมีการใช้ทรัพยากรกันอย่างไม่เห็นค่า และอนาคตโลกจะต้องลำบากกับความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้ จึงเห็นว่าควรจะต้องมีองค์ความรู้ในเรื่องการอนุรักษ์มาจัดการพื้นที่ เพื่อหาโอกาสให้ผู้คนได้แสวงหาแนวทางในการพัฒนาพื้นที่และสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างยั่งยืน

 

โดยบุคคลที่น่ายกย่องและต้องพูดถึงคือ ดร.สง่า สรรพศรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม นักวิชาการหนึ่งเดียวของไทย ในฐานะผู้ร่วมริเริ่มการจัดทำพื้นที่สงวนชีวมณฑลจาก 10 ประเทศทั่วโลก

น.ส.วิมลมาศระบุว่า ระหว่างที่รอการเสนอพื้นที่สงวนชีวมณฑล เราก็ต้องเดินหน้าใน 3 ประเด็นหลักคือ การอนุรักษ์ การพัฒนา การศึกษาวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยมีแผนให้เห็นว่าเราจะแบ่งเขตการจัดการออกเป็น 3 ส่วนคือ พื้นที่แกนกลาง ระบบนิเวศสมบูรณ์มากและห้ามเข้าทำกิจกรรมใดๆ ที่จะส่งผลเสียหาย พื้นที่กันชน ป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ พื้นที่แกนกลาง สามารถทำกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ และสุดท้าย พื้นที่รอบนอก ประชาชนอยู่อาศัย ทำกิน ซึ่งจุดนี้คือการสร้างจิตสำนึกของการอนุรักษ์ให้ธรรมชาติและประชาชนอยู่ร่วมกันได้

แม้ว่าปีที่ผ่านมาดอยเชียงดาวจะเกิดไฟไหม้ป่าครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายปี จนต้องมีการประกาศห้ามเข้าเด็ดขาด มีเพียงนักวิชาการเข้าไปเก็บข้อมูลและสำรวจพื้นที่จนพบว่า ขณะนี้ ธรรมชาติŽ สามารถฟื้นตัวกลับมาได้เองอีกครั้ง กลายเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑลแห่งที่ 5 ของไทย

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image