ฟื้น “บึงสีไฟ” พื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ ภารกิจ “กรมน้ำ” สร้างระบบนิเวศสมบูรณ์แบบ

ฟื้นบึงสีไฟžพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ

ภารกิจกรมน้ำžสร้างระบบนิเวศสมบูรณ์แบบ

ภารกิจหนึ่ง ของกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ที่ได้มอบหมายจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คือ การฟื้นฟู บึงสีไฟ ซึ่งเป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ แม่น้ำพิจิตรสายเก่า ถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งแรกของจังหวัดพิจิตร ที่สำคัญก็คือ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำนานาชาติ 1 ใน 69 แห่งของประเทศไทย

บึงสีไฟŽ เนื้อที่ประมาณ 8,624 ตารางกิโลเมตรหรือ 5,390 ไร่ เป็นแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่อันดับ 3 ของภาคเหนือ และอันดับ 5 ของประเทศและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด แหล่งอาศัยของนกหลายชนิด และยังเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของจังหวัดพิจิตรด้วย เดิมบึงสีไฟมีพื้นที่ประมาณ 12,000 ไร่ แต่เกิดปัญหาการบุกรุกปัจจุบันเหลือพื้นที่เพียง 5,390 ไร่

ที่ผ่านมา นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ได้เข้าร่วมประชุมเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟูบึงสีไฟ ที่ศาลากลางจังหวัดพิจิตร โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตรและเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานฯ พบว่า ปัญหาของบึงสีไฟ ในปัจจุบันมี 2 เรื่อง คือ การนำน้ำเข้าบึงสีไฟ และการขนย้ายกองดินออกจากบึงสีไฟ

Advertisement

ดังนั้นจะต้องมีการแก้ปัญหาทั้ง 2 ประเด็น โดยในส่วนการนำน้ำเข้าบึงสีไฟปีละประมาณ 12 ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทาน จะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ส่วนการขนย้ายดินออกจากบึงสีไฟ ปัจจุบันกรมเจ้าท่า อยู่ระหว่างประกาศขายดินให้กับผู้รับจ้าง ลบ.ม.ละ 2 บาท ซึ่งกำหนดยื่นเสนอราคา วันที่ 21 กรกฎาคม 2563 จำนวนมูลดินประมาณ 6 ล้าน ลบ.ม. การดำเนินการ ขุดลอก ในช่วงที่ 2 ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ อีกประมาณ 7 เเสน ลบ.ม.โดยประมาณ

ทั้งนี้ บึงสีไฟ เมื่อกรมเจ้าท่าทำการขุดลอกแล้วเสร็จจะมีความจุประมาณ 12 ล้าน ลบ.ม.

โดยเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ พร้อมด้วย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรี ทส. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ นายภาดลได้ลงพื้นที่และร่วมประชุมกัน ณ อุทยานบัว บึงสีไฟ ได้ข้อสรุปและ แนวทางการแก้ไขปัญหาบึงสีไฟ ดังนี้

Advertisement

 

1.กรมเจ้าท่า จะดำเนินการขนดินออกจากพื้นที่ทั้งหมดภายในเดือน ก.ย.2563 และให้จังหวัดช่วยเจรจาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางจำหน่ายและนำดินออกจากพื้นที่

2.กรมชลประทาน ดำเนินการจัดสรรน้ำเข้าบึงสีไฟ ภายในฤดูฝนนี้

3.ทส. โดยกรมทรัพยากรน้ำ ดำเนินการสำรวจออกแบบบึงสีไฟ ให้สอดคล้องกับระบบนิเวศ ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน

4.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนการฟื้นฟูแหล่งน้ำทั้งระบบ

ตั้งเป้าเอาไว้ว่า เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคาดหวังว่าจะเห็นบึงสีไฟกลับมามีความสวยงามเหมือนดังอดีตที่ผ่านมา

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตรกล่าวว่า โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ มีความก้าวหน้าในการดำเนินการเป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องของการจัดการดิน จากการขุดลอก โดยได้สั่งการให้กรมเจ้าท่า เร่งดำเนินการประมูลจำหน่ายดินที่ได้จากการขุดลอกโครงการส่วนที่เหลือ ซึ่งทราบว่า กรมเจ้าท่า ได้ขอความร่วมมือจากผู้รับจ้าง ให้ขนย้ายดินไปไว้ที่ศูนย์ราชการพิจิตร ทำให้ช่วยลดงบประมาณในการถม หากต้องมีการปรับปรุงพัฒนาในอนาคต

”ขอให้จังหวัดพิจิตร ช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการจราจร เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนในระหว่างการขนย้ายวัสดุ ตลอดจนการซ่อมบำรุงถนนให้อยู่ในสภาพดีเพื่อความสะดวกและความสุขของประชาชนชาวจังหวัดพิจิตร ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องที่ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ เห็นความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการขุดลอกบึงสีไฟและขอให้สำเร็จตามเป้า หมายที่กำหนดไว้ตามแผนงานต่อไป”Ž พล.อ.ประวิตรกล่าว

ภาดล ถาวรกฤชรัตน์

ด้านนายภาดล กล่าวว่า การฟื้นฟูพัฒนาบึงสีไฟ ถือว่ามีความสำคัญมาก โดยเฉพาะการฟื้นฟูระบบนิเวศ ทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพในการเก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภคและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ทั้งยังเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติ ที่สำคัญ คือ เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ด้านระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในบึงสีไฟ มีการพบนกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 80 ชนิด เป็นนกน้ำกว่า 35 ชนิด นกประจำถิ่นและนกอพยพ ไม่น้อยกว่า 30 ชนิด รวมทั้งพบพันธุ์ปลาอย่างน้อย 33 ชนิด และพันธุ์พืชมากถึง 49 ชนิด ถ้าฟื้นฟูเสร็จ อาจจะมีการดำเนินการพัฒนาบึงสีไฟในระยะต่อไปเพื่อทำให้บึงสีไฟเป็นสถานที่เก็บกักน้ำได้มากขึ้นเพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วย

อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ขณะที่การฟื้นฟู แม่น้ำพิจิตรสายเก่าŽ แม่น้ำพิจิตร มีความยาวตลอดลำน้ำ ประมาณ 127 กิโลเมตร ปัจจุบันมีวัชพืชขึ้นหนาแน่นตามลำแม่น้ำ เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุนมา เติมให้แม่น้ำพิจิตร ประชาชนที่อาศัยอยู่ตลอดสองฝั่งลำน้ำ เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร และไม้ผลยืนต้น จึงได้มอบนโยบายแนวทางการแก้ไขปัญหาและอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำพิจิตรสายเก่า ดังนี้

1.ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำ และประตูระบายน้ำ บริเวณช่วงต้นน้ำ กลางน้ำและช่วงปลายน้ำ โดยดำเนินการ 3 จุด คือ ประตูระบายอาคารบังคับน้ำดงเศรษฐี ประตูระบายอาคารบังคับน้ำตำบลวัดขวาง และ ประตูระบายอาคารบังคับน้ำวัดบางคลาน โดยให้แล้วเสร็จทันพร้อมรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ 2.กรมชลประทาน เร่งสำรวจออกแบบลำน้ำแม่น้ำพิจิตรสายเก่าทั้งระบบให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 และ 3.สทนช.บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ ตามการสำรวจออกแบบของกรมชลประทาน

นี่คือภารกิจฟื้นฟู บึงสีไฟ-แม่น้ำพิจิตรสายเก่าŽ ที่เราจะรอดูความสำเร็จ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image