พระดำริ “เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา” ยกระดับระบบป้องกันอุทกภัย ติดตั้ง “สถานีโทรมาตรอัตโนมัติ” ทั่ว ปท.

พระดำริ "เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา" ยกระดับระบบป้องกันอุทกภัย ติดตั้ง "สถานีโทรมาตรอัตโนมัติ" ทั่ว ปท.

พระดำริ “เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา” ยกระดับระบบป้องกันอุทกภัย ติดตั้ง “สถานีโทรมาตรอัตโนมัติ” ทั่ว ปท.

ด้วยทรงห่วงใยราษฎรที่ประสบกับปัญหาอุทกภัยซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้เป็นอย่างมากนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา จึงทรงมีพระราชดำริให้ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างยั่งยืน โดยการเฝ้าระวังหรือมีระบบเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อให้สามารถเตรียมความพร้อม และรับมือกับสถานการณ์อุทกภัยได้อย่างทันท่วงที

ในการนี้ ได้เสด็จไปทรงเปิดสถานีโทรมาตรอัตโนมัติและทอดพระเนตรการเฝ้าระวังป้องกันอุทกภัย ณ ศูนย์สาธิตการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ด่านป่าไม้ที่ 1 จ.เชียงใหม่ โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รองประธานกรรมการที่ปรึกษา และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ประชาชนทุกหมู่เหล่า เฝ้ารับเสด็จ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย กล่าวว่า สืบเนื่องจากพระนโยบายในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ ที่ทรงมีพระดำริให้มูลนิธิฯ ดำเนินกิจกรรมการเฝ้าระวังภัยเพื่อบรรเทาผลกระทบจากน้ำท่วม โดยมูลนิธิได้ดำเนินโครงการนำร่องติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ 14 จุด ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งที่จังหวัดน่านและจังหวัดสกลนคร ร่วมกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) ในฐานะเครือข่ายของมูลนิธิฯ และให้จัดตั้งเครือข่ายเตือนภัยชุมชนเพื่อนพึ่งภาฯ ขึ้นเพื่ออบรมราษฎรอาสาสมัครในชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลสารสนเทศทรัพยากรน้ำเพื่อการเฝ้าระวังภัย การเตือนภัย และการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน ซึ่งจากการดำเนินโครงการนำร่องที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

“สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ จึงทรงมีพระดำริให้มูลนิธิฯ ขยายผลการดำเนินโครงการนำร่องการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำดังกล่าวให้ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มูลนิธิฯ จึงได้ประสานงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินโครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จำนวน 510 สถานี เพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐ ส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ทั้งในมิติด้านกฎหมาย งบประมาณ การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์ และการสร้างความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่ เพื่อการเฝ้าระวังป้องกันภัยพิบัติ การบริหารจัดการน้ำในชุมชนและการป้องกันความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จากภัยพิบัติอย่างยั่งยืน”

Advertisement
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภานเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
สถานีโทรมาตรอัตโนมัติ
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.สุรเกียรติ์กล่าว และว่า การติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ภาคเหนือครั้งนี้ นับเป็น “ครั้งแรก” ที่มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับเครือข่ายดำเนินการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ และได้ดำเนินการ ติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 80 สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 11 จังหวัด

ทั้งนี้ งานบรรเทาทุกข์ภัยพิบัติมีมากขึ้นเมื่อเทียบจากอดีต พื้นที่เสี่ยงจะท่วมซ้ำซาก การเรียนรู้จากประสบการณ์ในอดีต เฝ้าระวังภัย จะลดความสูญเสีย ซึ่งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ทำหน้าที่เป็นตัววัดข้อมูลสภาพอากาศ ปริมาณน้ำฝน ระดับน้ำ และส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย 4G ไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ สสน. เพื่อประมวลผลข้อมูล จากนั้นจะส่งข้อมูลปริมาณน้ำฝนผ่านข้อความสั้นหรือ SMS ไปยังเครือข่ายชุมชน และแอพพลิเคชั่น ThaiWater หากปริมาณน้ำฝนมีระดับสูงกว่าปกติจะส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังวิทยุสื่อสารของเครือข่ายชุมชนมูลนิธิฯ ทั่วประเทศ เพื่อเตรียมพร้อมป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายจากอุทกภัย หรือเสียหายให้น้อยที่สุด โดยตามแผนจะดำเนินการสำรวจและติดตั้งให้ครบ 510 สถานีภายใน 1 ปีครึ่ง

โครงการติดตั้งสถานีโทรมาตรอัตโนมัติฯ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ นับเป็นการยกระดับระบบการป้องกันภัยและบรรเทาสาธารณภัยให้กับประชาชนอย่างยั่งยืน

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image