THG-มหิดล ร่วมตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านบริการทางการแพทย์ คิดค้น Health Tech ก้าวสู่เมดิคับฮับภูมิภาค

“หมอบุญ” จับมือ มหิดล ตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ฯ ยกระดับโรงพยาลเครือธนบุรีฯ สู่ Smart Hospital ก้าวสู่เมดิคัลฮับภูมิภาค ดึงกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพชาวต่างชาติใช้บริการ

นายแพทย์บุญ วนาสิน ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีนโยบายนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ใหม่ๆ เข้ามาให้บริการเพื่อเพิ่มศักยภาพและยกระดับโรงพยาบาลเครือ THG สู่ Smart Hospital รับยุคดิจิทัลและศักยภาพประเทศไทยเป็นเมดิคัลฮับของภูมิภาคนี้ รวมถึงความต้องการใช้บริการทางการแพทย์จากชาวต่างชาติที่เป็นกลุ่มเฮลท์ ทัวริสซึม หรือกลุ่มท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เนื่องจากประเทศไทยสามารถรับมือการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ได้ดีเป็นอับดับต้นๆ ของโลกและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ

THG-มหิดลตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม Medical Services

นายแพทย์บุญ กล่าวว่า ล่าสุด ได้ลงนามความร่วมมือเอ็มโอยูกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้ง ‘ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม Medical Services’ ที่ โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง เพื่อสนับสนุนการวิจัยพัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ เพื่อนำมาใช้ในโรงพยาบาลเครือ THG และร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม Health Tech สู่การจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในอนาคต ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนความก้าวหน้าและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันทางการแพทย์แก่ประเทศอีกด้วย

Advertisement

“เทรนด์ของโรงพยาบาลในอนาคตจะต้องพัฒนาสู่ Smart Hospital นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์ต่างๆ เข้ามาใช้ เช่น ระบบ A.I., เพื่อยกระดับบริการให้ก้าวหน้าล้ำสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล ช่วยให้คนไข้ที่อยู่ห่างไกลสามารถได้รับคำปรึกษาและเข้าถึงการรักษาได้ทันเวลา ขณะที่โรงพยาบาลสามารถให้บริการคนไข้ได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” นายแพทย์บุญ กล่าว

ดร.เจษฎา ธรรมวณิช Chief PPP Business บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG กล่าวว่า การเปลี่ยนเแปลงสู่ยุคดิจิทัลและ COVID-19 เป็นตัวเร่งให้โรงพยาบาลต้องปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงและป้องกันความเสี่ยงจากโรคระบาด โดยนำนวัตกรรมเทคโนโลยีและอุปกรณ์การแพทย์ รวมถึงการนำหุ่นยนต์ผู้ช่วยบุคลากรทางแพทย์เข้าให้บริการในโรงพยาบาลเพื่อลดการสัมผัสคนไข้และแก้ไขปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ที่ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ

ไทยมีศักยภาพศูนย์กลางวิจัยพัฒนษอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์

Advertisement

ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการวิจัยพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ของภูมิภาคนี้ เนื่องจากมีนักวิจัยที่มีคุณภาพ และมีจุดแข็งด้านความสามารถให้บริการทางการแพทย์ที่โดดเด่นจากวิกฤติโควิด-19 ได้สะท้อนถึงศักยภาพและความสามารถรับมือการแพร่ระบาดและการรักษาคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพจนได้รับความชื่นชมและเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก

ทั้งนี้ ในปัจจุบันโรงพยาบาลต่างๆ มีความต้องการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพ (Health Tech) เพื่อยกระดับการให้บริการรับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลและเพิ่มขีดความสามารถให้บริการแก่คนไข้ โดยปัจจุบันมีนวัตกรรมและอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์หลายอย่างที่น่าสนใจและเป็นเทรนด์การพัฒนาที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ อาทิ ระบบ A.I. เพื่อประเมินอาการและแนวทางวิธีการรักษาเบื้องต้นแก่คนไข้, ระบบ Telemedicine ที่สามารถเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลประวัติการรักษาเพื่อให้บริการแก่คนไข้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลไม่สะดวกเดินทางมายังโรงพยาบาล, การพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพื่อให้บริการแก่คนไข้ ฯลฯ นอกจากนี้ ภายหลังเกิดโรค COVID-19 มีโรงพยาบาลหลายแห่งที่นำนวัตกรรมและหุ่นยนต์ทางการแพทย์เข้ามาให้บริการ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ใหม่ๆ ยังมีความจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนและต่อยอดสู่ความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์ต่างประเทศที่มีองค์ความรู้และชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในตลาดเชิงพาณิชย์ ซึ่งการที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการสนับสนุนจาก บมจ.ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป ร่วมกันจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม Medical Services จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

ไทยส่งออกอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์มีมูลค่าสูงอันดับต้นๆในอาเซียน

รองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกและนำเข้าอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน โดยส่งออกปีละกว่า 107,700 ล้านบาท และนำเข้าปีละกว่า 66,500 ล้านบาท ภาพรวมของการส่งออกขยายตัวเฉลี่ยปีละ 8-10% ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านเฮลท์แคร์และเฮลท์เทคกำลังเป็นที่ต้องการจากทั่วโลกเพื่อยกระดับบริการทางการแพทย์และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงในยุคนิวนอร์มอล ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาทาง วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้พัฒนางานวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ หุ่นยนต์ผ่าตัดนำวิถี, ระบบหุ่นยนต์ผ่าตัดทางไกล (Real -Time Tele Surgery), หุ่นยนต์ช่วยเดินเพื่อฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต( Exoskelton

หุ่นยนต์แพทย์อัจฉริยะ DoctoSight 1 และ 2 สำหรับการวินิจฉัยและรักษาผ่านระบบโทรเวช, หุ่นยนต์ “เวสตี้” เก็บขยะติดเชื้อในโรงพยาบาลด้วยระบบ AGV (Automated Guide Vehicle) ที่ใช้แถบแม่เหล็กนำทาง มีระบบแขนกลในการยกถังขยะได้สูงสุดครั้งละ 5 กิโลกรัม, หุ่นยนต์ “ฟู้ดดี้” ส่งอาหารและยาแก่คนไข้ในหอผู้ป่วย ได้ประมาณ 200 คนต่อวัน โดยใช้ระบบนำทางอัจฉริยะด้วยข้อมูลแผนที่ในตัวหุ่นยนต์แบบ QR-Code Mapping รับน้ำหนักบรรทุกได้ 30 – 50 กิโลกรัม เพื่อลดภาระงานหนักและความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ต่อการติดเชื้อโรคระบาด รวมถึงลดการนำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศอีกด้วย นอกจากนี้ยังมี วีลแชร์ไฟฟ้าควบคุมด้วยสัญญาณสมอง, Alertz อุปกรณ์เตือนการหลับในขณะขับรถด้วยสัญญาณสมอง, ระบบฝึกการแพทย์ผ่าตัดนัยน์ตา (Eye Surgical Training System), ระบบฝึก Haptics VR การแพทย์ผ่าตัดเนื้องอกในสมอง, สารเคลือบนาโนป้องกันเชื้อโรค (NanoCoating), เครื่องกายภาพไจโรโรลเลอร์ (Gyro-Roller) สำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง, ไบโอเซนเซอร์ (Biosensor) อุปกรณ์ตรวจวัดทางชีวภาพ, เป็นต้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image