ทส. ติดตามการบำบัดน้ำเสียศูนย์ราชการฯ

ทส. ติดตามการบำบัดน้ำเสียของศูนย์ราชการฯ

เมื่อวันที่ 8 กันยายน  นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มอบหมายให้ นายนพดล พลเสน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม และตรวจติดตามการบำบัดน้ำเสียของศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีนายสมชาย ทรงประกอบ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ และคณะเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษ เข้าร่วมตรวจและรับฟังผลการพัฒนาด้านการจัดการน้ำเสียของศูนย์ราชการฯ โดยมี ดร.นาฬิกอติภัค แสงสนิท กรรมการผู้จัดการ บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด นำตรวจเยี่ยม

นายนพดล เปิดเผยว่า ศูนย์ราชการฯ เป็น 1 ใน 197 หน่วยงานที่ได้สมัครเข้าร่วมโครงการ “อาคารราชการต้นแบบด้านการจัดการน้ำเสีย” ของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อกระตุ้น ส่งเสริม ให้องค์ความรู้คำแนะนำ เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานมีการจัดการน้ำเสียจากอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย และระบายน้ำทิ้งเป็นไปตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นแบบอย่างที่ดีในการร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมนายนพดล กล่าวต่อว่า จากการติดตามตรวจสอบศูนย์ราชการฯ ในครั้งนี้ เป็นศูนย์ราชการฯ ขนาดใหญ่ที่มีระบบและการจัดการน้ำเสียได้ในระดับดี ทั้งนี้ขอให้รักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่องและควรจัดทำคู่มือวิชาการด้านการบริหารจัดการน้ำเสีย ร่วมกับ คพ. เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบการจัดการน้ำเสียกับศูนน์ราชการ และหน่วยงานอื่นๆ และยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการจัดการน้ำเสียในอนาคตต่อไปตามที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. ได้เน้นย้ำให้ความสำคัญมากด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูแหล่งน้ำ และการเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นน้ำดี ซึ่งจะสำเร็จเป็นรูปธรรมได้ ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน รวมทั้งการจัดการขยะมูลฝอย และปัญหาด้านอื่นๆ ที่อาจจะกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมด้วย โดยให้ คพ.ตรวจติดตามให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง

ดร.นาฬิกอติภัค กล่าวว่า ศูนย์ราชการฯ มีบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพศ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังจัดตั้งให้บริหารอาคารของศูนย์ราชการฯ และดูแลระบบบำบัดน้ำเสียในภาพรวม เป็นกลุ่มอาคาร 8 หลัง รวมพื้นที่ใช้สอย 658,338 ตารางเมตร เข้าข่ายเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษอาคารประเภท ก ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่ต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม มีน้ำเสียจากอาคารต่างๆ ประมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีระบบบำบัดน้ำเสียแบบเอสบีอาร์ จำนวน 1 ชุด ขนาด 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดได้มาตรฐานแล้ว จะนำมาปรับปรุงคุณภาพน้ำอีกขั้นหนึ่งโดยผ่านถังกรองทรายและคาร์บอน เติมคลอรีนก่อนเพื่อนำกลับมาใช้โยชน์ภายในพื้นที่ ใช้รดน้ำต้นไม้ ล้างพื้นและถนน มีการตรวจวัดคุณภาพน้ำทุกเดือน และผลการตรวจสอบน้ำทิ้งของเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2563 มีค่าเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ธพส.ให้ความสำคัญด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเป็นหน่วยงานนำร่อง และเป็นต้นแบบให้หน่วยงานอื่นได้เข้ามาศึกษาดูงานการจัดการน้ำเสียจากอาคารต่อไป

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image