สสว. ร่วมกับ ECBER จัดสัมมนาชี้ช่อง SMEs ไทย บุกตลาดส่งออก รัสเซีย มาเลเซีย เมียนมา และ กัมพูชา

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาศ รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ร่วมกับ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงานสัมมนา พลิกวิกฤติ พิชิตโอกาส: SMEs ผงาดในตลาด รัสเซีย มาเลเซีย เมียนมา & กัมพูชา” กำหนดจัดงานรวม 4 ครั้ง ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 ภูมิภาคของประเทศ โดยครั้งแรกจัดขึ้นแล้ว วันที่ 9 กันยายน เพื่อเจาะลึกตลาดรัสเซียและมาเลเซีย ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีประชากรกว่า 144 ล้านคน และกว่า 32 ล้านคน ตามลำดับ จากข้อมูล GDP ปี 2562 พบว่า รัสเซีย มี GDP 1.722 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มาเลเซียมี 3.82 แสนล้านเหรียญสหรัฐ โดยมาเลเซียถือเป็นหนึ่งในประเทศกลุ่มอาเซียนที่เศรษฐกิจมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตลอด 10 ปีที่ผ่านมายิ่งเห็นชัดเจนมาก ถือเป็นตลาดที่น่าจับตาสำหรับ SMEs ไทย

ดร.วิมลกานต์ กล่าวว่า การจัดสัมมนาครั้งนี้ สืบเนื่องจาก สสว. ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน +8 (อาเซียน 10 ประเทศ และ อินเดีย รัสเซีย จีน เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น อเมริกา) ซึ่งเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่มากกว่า 3,400 ล้านคน จึงจัดสัมมนาครั้งนี้ขึ้นเพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการไทยที่สนใจได้รับฟังประสบการณ์ตรงจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในตลาดรัสเซีย มาเลเซีย เมียนมา และกัมพูชา ได้เรียนรู้การสร้างเครือข่ายธุรกิจการทดสอบตลาดสินค้า รวมถึงการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ Business Consulting กับผู้ประกอบการรายบุคคลจากผู้เชี่ยวชาญ และการให้ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์ เคล็ดลับการบุกตลาดอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในการสร้างเครือข่ายธุรกิจในต่างประเทศ

“ผู้เข้าอบรมนอกจากได้รับฟังแนวทางการดำเนินธุรกิจและประสบการณ์ตรงจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 4 ตลาด เพื่อช่วยแนะนำลู่ทาง โอกาส และการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดตามความเหมาะสมในแต่ละภาคแล้ว ยังจะได้เรียนรู้การสร้าง Business Networking และการทดสอบตลาด จากคู่มือที่แจกในงานสัมมนา รวมถึงให้บริการคำปรึกษาทางธุรกิจ Business Consulting กับผู้ประกอบการรายบุคคล ในรูปแบบ Private group ด้วย”

สำหรับตลาดส่งออกของกลุ่มสินค้าเป้าหมาย SMEs ไทย ประเภทกลุ่มอาหารเครื่องดื่ม และบริการ เป็นกลุ่มสินค้าที่สำคัญของไทย ทั้งในแง่ของการผลิต การส่งออก และการบริการ โดยเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่าประเทศไทยมีการส่งออกมูลค่ากว่า 587,494.39 ล้านบาท อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าสินค้ากลุ่มอาหารและเครื่องดื่มของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน +8 พบว่า ตลาดหลัก (Matured Market) สูงที่สุด คือ สหรัฐฯ (17,856 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) รองลงมาคือ จีน (10,797 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ญี่ปุ่น (6,190 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) อินเดีย (2,842 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และรัสเซีย (1,722 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)

Advertisement

และจากข้อมูล พบว่า ข้อมูลประกอบด้าน GDP ปี 2018 ใน 5 ลำดับแรก ถือว่าเป็นขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลก และยังเป็นประเทศที่มีแนวโน้มของขนาดเศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องและชัดเจนตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา ตามลำดับ ส่วนตลาดศักยภาพสูง (Dynamic Market) ในกลุ่มประเทศอาเซียนที่นำเข้ามากที่สุด คือ อินโดนีเซีย (1,147 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) รองลงมา คือ ไทย (442 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) มาเลเซีย (382 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) สิงคโปร์ (310 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) และฟิลิปปินส์ (303 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ)และกลุ่มประเทศ CLMV (2,612.7พันล้านเหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ

ส่วนกลุ่มยาสมุนไพรและเครื่องสำอางเป็นสาขาที่ได้รับความสนใจจากชาวรัสเซียเป็นจำนวนมากในขณะนี้ โดยส่วนใหญ่ชาวรัสเซียจะคัดเลือกสินค้าที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยและดำเนินการด้านการนำเข้าไปขายที่รัสเซียด้วยตนเอง ซึ่งยังมีโอกาสให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทยในการขยายสินค้าในกลุ่มนี้ไปยังประเทศรัสเซียและในประเทศอาเซียนอื่นด้วย โดยในปี 2563 ประเทศมาเลเซีย มีการนำเข้าสินค้าในกลุ่มนี้มูลค่าถึง 1,813 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาในครั้งถัดไป ตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น e-mail : [email protected] และสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาฯ ได้ที่:https://drive.google.com/drive/folders/1Q_hAUycVm_meSfZwdrWTwpLIUQ_uX17p
https://forms.gle/EHNy1V1H4AwTj3b47 https://forms.gle/5ugupSji26ySvJ5z7

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image