เสวนา “ส.ส.ร.ที่คนไทยต้องการ”รุมอัดรธน.ปี 60

เสวนา “ส.ส.ร.ที่คนไทยต้องการ”รุมอัดรธน.ปี 60

เสวนา “ส.ส.ร.ที่คนไทยต้องการ”รุมอัด รธน.ปี 60  ชี้ส.ส.ร.ต้องมาจากประชาชนโดยตรง ชงตั้ง”กกต.เฉพากิจ”ทำหน้าที่ชั่วคราว “เลขาฯก้าวไกล” ขู่รวมเสียงในสภาปิดสวิตซ์ส.ว. ไม่ได้ลุยขอเสียงปชช.ข้างนอกแทน ด้านอ.จุฬาฯ แนะประชามติ ถามคำถามพ่วงด้วย

เมื่อวันที่ 12 กันยายน ที่ตึกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ คณะรณรงค์เพื่อรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน (ครช.) และองค์กรเครือข่ายจัดงานงานเสวนาวิชาการและเวทีระดมความคิด“ส.ส.ร.แบบไหน…ที่คนไทยต้องการ” โดยนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.) พ.ศ. 2539 กล่าวว่า ขณะนี้เท่าที่ทราบร่างรัฐธรรมนูญที่ให้ตั้ง สสร.มีสองร่าง คือร่างของพรรคร่วมรัฐบาล และร่างของพรรคร่วมฝ่ายค้าน แต่ที่ต่างกันคือ ร่างของรัฐบาลเสนอมีสมาชิกสสร. 200 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน 150 คน ขณะที่ร่างของฝ่ายค้านเสนอให้ 200 คนมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ซึ่งส่วนตัวตนเห็นด้วยร่างของฝ่ายค้านที่สสร.ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด ไม่ควรมีติ่ง เพราะอาจเป็นคนพรรครัฐบาลก็ได้ แม้จะตั้งในประเภทนักเรียน นิสิต นักศึกษา แต่ก็ให้กกต.เป็นผู้กำหนด จึงอาจจะเลือกเด็กของตัวเองก็ได้ เราคาดการณ์ในทางร้ายไว้ก่อน

 

Advertisement

นายพนัส กล่าวอีกว่า อีกทั้งร่างของรัฐบาลเมื่อร่างเสร็จต้องให้สภาเห็นชอบโดยเสียงเกินกึ่งหนึ่งก่อน หากไม่ถึงกึ่งหนึ่งก็จะให้ทำประชามติ ซึ่งตนเองเห็นด้วยกับร่างฝ่ายค้านคือไม่ต้องการให้ร่างผ่านรัฐสภา เมื่อร่างเสร็จแล้วก็ให้ทำประชามติเลย ประชาชนต้องการแบบไหนก็ลงประชามติ เพราะสภาเสียงข้างมากเป็นของรัฐบาลอยู่แล้ว ขณะเดียวกันเห็นด้วยให้มีส.ส.ร.ที่เลือกจากนักเรียน นิสิต นักศึกษาด้วย แต่ตนเองอยากเสนอให้สัดส่วนส.ส.ร. เป็นคนรุ่นใหม่ครึ่งต่อครึ่ง จึงควรล็อคไปเลยว่าสสร.ชุดนี้ไม่ควรอายุเกิน 30-35 ปีเท่านั้น เป็นคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ครึ่งต่อครึ่ง

ด้านนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคด้านการพัฒนาพรรค พรรคเพื่อไทย และอดีต ส.ส.ร. พ.ศ. 2539 กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ที่มีผู้ขนานนามว่าเป็นฉบับปราบโกง และพยายามบอกว่า คนที่คิดจะไปแก้หรือเปลี่ยนคือคนคิดจะโกง ซึ่งต้องบอกตรงๆ ว่าถ้าจะขนานนามให้ถูกต้องต้องเรียกเป็นรัฐธรรมนูญฉบับอภิมหาโกง เพราะโกงอำนาจประชาชนตั้งแต่การยกร่าง รวมทั้งที่อ้างการทำประชามติก็เป็นประชามติแบบโกงๆ ขณะเดียวกันก็วางกลไกสืบทอดอำนาจ อ้างเข้ามาตามวิถีประชาปไตย ซึ่งเป็นประชาธิปไตยที่ประหลาดมาก โดยเฉพาะการเลือกสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) ที่เป็นคนที่มาจากคสช. ถือว่าน่าสมเพชเป็นอย่างมาก ดังนั้นเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เลวที่สุด เพราะสร้างหลุมพลางไว้ทั้งหมด ตนจึงขอชื่นชมว่าเป็นวิชามารขั้นสุดยอด ดังนั้นมองว่ารัฐธรรมนูญ 60 เขียนไว้ไม่ได้ให้แก้ แต่เขียนไว้ให้ฉีก จึงต้องขอบคุณการเคลื่อนไหวจากข้างนอกโดยเฉพาะนิสิตและนักศึกษา ที่ทำให้สิ่งที่ไม่เคยคิดว่าเป็นไปได้ให้เป็นไปได้ เสียงของประชาชนยังมีความหมาย

Advertisement

พงศ์เทพ เทพกาญจนา

นายพงศ์เทพ กล่าวอีกว่า สำหรับส.ส.ร.ที่คนไทยต้องการ คุณสมบัติที่สำคัญต้องมีความมุ่งมั่น สุจริตในการยกร่างเพื่อยึดถือประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก ไม่ใช่ยึดถือคนกลุ่มหนึ่งอีกทั้ง สสร.ต้องมีจิตวิญญาณนักประชาธิปไตยเปิดกว้างรับฟังความเห็นต่าง ดังนั้นที่มาส.ส.ร.ต้องมาจากการเลือกตั้งประชาชนเป็นทางเลือกดีที่สุดและเป็นทางออกมีเหตุผลที่สุด ไม่มีเหตุผลหาคนกลุ่มใดมาเลือกแทน ส่วนการปิดช่องทางสสร.ที่เป็นคนที่นักการเมืองสนับสนุน คือเสนอให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกส.ส.ร.ได้เพียงคนเดียว

นายพงศ์เทพ กล่าวด้วยว่า อีกเรื่องที่กังวลคือเมื่อมีส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกของประชาชน ถ้าให้กกต.ชุดนี้ดูแลการเลือกตั้งตนเองก็ไม่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ยุติธรรมจากผลงานที่ผ่านมาของกกต. ดังนั้นวิธีที่จะทำให้ได้กกต. ทำหน้าที่ชั่วคราวมาจัดเลือกตั้งส.ส.ร. โดยอาจให้เอาจากกกต.ชุดปัจจุบันมา 2 ท่าน และมีกลไกหาคนนอกโดยความเห็นชอลของสภา หรืออาจมีกลไกอื่นๆ เพื่อคัดเลือกมาอีกประมาณ 5 เป็น “กกต.เฉพาะกิจ” เพื่อใช้เลือกตั้งส.ส.ร. หรือใช้ทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม นอกจากนี้สุดท้ายเมื่อมีสสร.แล้ว ประชาชนต้องติดตามการทำงานสสร.อย่างใกล้ชิดและมาร่วมทำงานกับส.ส.ร. เพื่อได้รัฐธรรมนูญที่ยึดถือประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก

 

ชัยธวัช ตุลาธน

ส่วนนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า การร่างรัฐธรรมนูญ ต้องมาจากฐานคิดสำคัญคืออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญเป็นของประชาชน ส.ส.ร.จึงต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมดและต้องแก้ไขได้ทั้งฉบับ ทุกหมวด ทุกมาตรา และต้องผ่านการทำประชามติในขั้นตอนสุดท้าย อย่างไรก็ตามก่อนมีร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ หากเกิดมีการรัฐประหารยึดอำนาจขึ้นอีก หลังจากนี้เราต้องยืนยันอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญที่เป็นของประชาชน เราจะต้องไม่ยอมอีกแล้วให้อำนาจไหลย้อนกลับไปยังกลุ่มคนที่ทำรัฐประหารแม้มีการรับรองอำนาจ ดังนั้นถ้ามีการรัฐประหารขึ้นอีกประชาชนมีสิทธิรวมตัวสถาปนาใช้รัฐธรรมนูญฉบับของตัวเองทันที

เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวต่อว่า ก่อนมีส.ส.ร.และก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ควรปิดสวิตซ์ ส.ว.คู่ขนานไปด้วย ซึ่งที่ฝ่ายค้านยื่นญัตติไปนั้นยังมีอีกมาตราที่ยังไม่เสนอ คือการให้ยกเลิกมาตรา 269 ด้วย คือยกเลิกไม่ให้มีส.ว. 250 คนที่มาจากคสช.ไปเลย ดังนั้นหากรวมเสียงไม่ได้ในสภาก็อาจไปรวมเสียงประชาชนข้างนอกล่ารายชื่อแก้มาตรา 269 เพราะในเมื่อเสนอแก้ไม่ได้ ก็ยกเลิก 250 คนไปเลย นอกจากนี้รัฐบาลชุดนี้ถืออุปสรรคประชาธิปไตย เราจึงต้องช่วยกันเอารัฐบาลชุดนี้ออกพร้อมกับส.ว.ไปเลย

 

ณรงค์เดช สรุโฆษิต

ขณะที่นายณรงค์เดช สรุโฆษิต อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ส.ส.ร. ต้องยึดโยงกับประชาชน ซึ่งกระบวนการร่าง เมื่อจัดทำร่างมาแล้ว ต้องสอบถามความเห็นประชาชนอีกรอบว่ามีประเด็นอะไรอีกหรือไม่ และคำตอบสุดท้ายในการทำประชามติต้องยึดโยงกับประชน แต่ต้องอาศรัยคนที่รู้ขั้นตอนเทคนิคในการเขียนกฎหมาย ในการยกร่าง เข้าไปช่วยกันทำ เราต้องให้น้ำหนักกับประชาธิปไตย สร้างความสมดล และคนตัดสินใจยังยึดโยงกับประชาชน ซึ่งคนที่จะมายกร่างรัฐธรรมนูญผมเสนอเพื่อประสารประโยชน์ระหว่างคนที่อยู่ในแต่ละจังหวัด กับคนที่มองประโยชน์โดยรวมของประเทศ

นายณรงค์เดช กล่าวต่อว่าทำไมเราไม่แบ่งที่มา ส.ส.ร. ออกเป็น 2ประเภท คือมาจากจังหวัดจำนวน 100 คนและมาจากบัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งเป็นผู้แทนประชาชนทั้งประเทศ และในร่างของพรรคร่วมรับบาลและฝ่ายค้าน มีความต่างกัน ถ้าเป็นแบบของรัฐบาลให้รัฐสภาโหวต หากไม่เห็นชอบก็ไปทำประชามติ ส่วนของฝ่ายค้าน ทำประชามติเลย แต่ตอนนี้มีปัญหาที่ว่าเรายังไม่มีกฎหมายประชามติ เรามีเพียงกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการทำประชามติปี 50 ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี 60ไม่ได้มีกำหนดไว้

นายณรงค์เดช กล่าวด้วยว่า ในร่างของทั้ง 2 แบบไม่ได้เขียนว่าประชาชนเห็นชอบคืออะไร ซึ่งร่างของรัฐบาลเขีนเพิ่มว่าให้ประชาชนเห็นชอบ แต่ถ้าประชาชนมีเสียงไม่ถึง 1 ใน 5 หรือร้อยละ 20 ให้ร่างนั้นตกไปเลย ซึ่งอย่างนี้ควรเขียนในรัฐธรรมนูญว่าออกเสียงเท่าไหร่ หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 เพื่อให้รัฐธรรมนูญอยู่ยาว ซึ่งก็น่าจะมีประชาชนมาออกเสียงเกินครึ่ง และไหนๆจะออกเสียงประชามติอยู่แล้ว เพราะเราจะแก้ไขมาตรา 256 ซึ่งการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนุญ60 มีคำถามพ่วงด้วย ดังนั้นการออกเสียงประชามติครั้งนี้จะมีคำถามพ่วงหรือไม่ และควรเขียนว่าผู้ร่าง ควรร่างแบบไหน ตกลงจะเป็นสภาเดี่ยวหรือสภาคู่ จะเอาหรือไม่ ชอบไม่ชอบจะเอาหรือไม่ รวมทั้งคำถามที่คิดว่าส.ส.ร.ไม่แน่ใจ จะเบี่ยวเรา ก็เอามาออกเสียงประชามติเป็นคำถามพ่วงเลย ซึ่งทุกคนก็ต้องไปคิดกัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image