‘หมอมิ้ง’ แนะ ผู้ชุมนุม ใช้ใจสู้ เลี่ยงการถูกป้ายสี หนีความรุนแรง ยึด ‘ความชอบธรรม’ ระวังข่าวลือ

‘หมอมิ้ง’ แนะ ผู้ชุมนุม ใช้ใจสู้ เลี่ยงการถูกป้ายสี หลีกหนีความรุนแรง ยึด ‘ความชอบธรรม’ ระวังข่าวลือ

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 19 กันยายน ที่ห้องประชุม 14 ตุลา อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ สโมสรนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาสาธารณะในหัวข้อ “รัฐประหารและการต่อต้านขัดขืน”

นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรองนายกรัฐมนตรี และผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม CARE กล่าวถึงจุดสำคัญของการรัฐประหาร ปี 49 ว่า คือ ร่างรัฐธรรมนูญ 50 เป็นส่วนสำคัญ เป็นการเอาโครงสร้าง รัฐธรรมนูญ 40 มาดัดแปลง อำนาจ ส.ว.ที่ถอดถอนนายกได้  ออกแบบโครงสร้างที่ตรวจสอบซึ่งกันและกัน ต่อมาคือการก่อกวนของพรรคที่ได้ฉันทานุมัติของมวลชนดำเนินการมาตลอด เมื่อมีนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นำมาซึ่งการปราบปราม 2 ครั้ง ซึ่งเราต้องต่อต้านการทำร้ายประชาชน ไม่ใช่ต่อต้านการทำรัฐประหาร ในที่สุดนายกยิ่งลักษณ์มาอยู่ในรัฐบาลจากการเลือกตั้งอีกครั้ง มีการยุบสภา คืนอำนาจ บอยคอตเลือกตั้ง เปิดโอกาสให้มีการรัฐประหาร ปี 2549 ซึ่งหลังจากนั้น

1.ประชาชน แบ่งขั้วชัดเจนและยังดำรงอยู่ ฝั่งเหลือง-แดง อนุรักษนิยม-ประชาธิปไตย

2.การพัฒนาโครงสร้าง ส.ส. เปลี่ยนแปลงจากโครงสร้างรัฐธรรมนูญ 40 เป็น 50 เลือกตั้งครึ่ง แต่งตั้งครึ่ง การรัฐประหารปี 57 จึงเกิดผลพวงรัฐธรรมนูญ 60 สิ่งที่เกิดคือ ส.ว. มีอำนาจโหวตเลือกนายกฯ ได้ และเป็นกลไกปัญหามาจนทุกวันนี้

Advertisement

3.การใช้กระบวนการยุติธรรมมาจำกัดการเคลื่อนไหว ฝั่งประชาธิปไตยจะถูกดำเนินคดีถึงที่สุด และต้องติดคุก อาทิ หมอเหวง โตจิราการ คุณณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ คุณยงยุทธ์ วิชัยดิษฐ์  ขณะที่อีกฝ่ายเรื่องยังสืบไม่จบ ถูกเอามาใช้ฟ้องและจำกัดสิทธิ

4.กลไกความมั่นคงถูกนำมาจำกัดการเคลื่อนไหว สไนเปอร์ 6 ศพวัดปทุมวานารม เป็นสิ่งที่น่าอายที่สุด และจนถึงวันนี้ก็ไม่มีการสืบหาความจริง

5.การจำกัดเสรีภาพ สื่อโดนจำกัด บางสถานีถูกสั่งปิดหลายรอบ

Advertisement

6.การใช้อำนาจเกินกว่าความชอบธรรม สร้างความครุกรุ่นอยู่ข้างใน แต่ทำอะไรไม่ได้ เช่น เครื่องนาฬิกา แป้ง คนพูดไม่ออก ไม่มีสิทธิพูด เพราะทำอะไรก็ถูกฟอกให้ถูกเสมอ ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้คนไม่พอใจ

7.ปัญหาเศรษฐกิจจากการไม่ฟังชาวบ้าน ฟังแต่พวกพ้อง

8.ชนปลดแอก คือกลุ่มชนที่เกิดขึ้น ที่ผ่านมา ยิ่งกด ยิ่งปิด ยิ่งเพี้ยน

เหล่านี้ คือสิ่งที่เกิดขึ้น คือผลพวง จาก 14 ปีที่ผ่านมา

เมื่อถามว่า หากรัฐประหารเกิดขึ้นจะมีวิธีการต่อต้าน ขัดขืน อย่างไร

นพ.พรหมินทร์กล่าวว่า ที่จริงสิ่งสำคัญคือการปราบปรามประชาชน ซึ่งทำได้โดยไม่ต้องทำรัฐประหาร คำสำคัญ ได้แก่
1. รัฐประหาร คือการเปลี่ยนแปลงอำนาจรัฐ ด้วยการหักล้าง ด้วยความรุนแรงเฉียบพลันที่สำคัญ ผิดกฎหมาย

2.การปฏิวัติ โดยความหมาย เปลี่ยนแปลงฉับพลัน เชิงโครงสร้างสังคม โดยประชาชนมีส่วนร่วม

3.การปราบปราม ซึ่งปี 2553 ที่ผ่านมาเป็นอย่างนั้น ประกาศภาวะฉุกเฉิน ซี่งตอนนี้เราก็อยู่ในภาวะฉุกเฉินอย่างยาวนาน

4.การรวบอำนาจ ในภาวะที่มีการเคลื่อนไหว

5.การกระชับอำนาจ คือการประกาศภาวะฉุกเฉิน แต่คำว่ากบฎ คือ คนที่พยายามแย่งอำนาจรัฐแต่ทำไม่สำเร็จ ก่อนหน้านั้น ปี  2520 พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ ไม่สำเร็จ ถูกจับประหารชีวิต อีกครั้ง โดย กลุ่มยังเติร์ก ทำการรัฐประหารไม่สำเร็จ หนีไปต่างประเทศ 3-4 ปีให้หลังมานำการรัฐประอีก แปลกที่ไม่เคยถูกจับเข้าคุกเลย

นพ.พรหมินทร์กล่าวอีกว่า ถ้าหากคุณเป็นกลุ่มที่มีอำนาจทางฝ่ายทหารด้วยกัน จะมีข้อยกเว้น ไม่เหมือนฝ่ายประชาชน การขัดขืน การปราบปรามเป็นสิทธิอันชอบธรรมในการต่อสู้ คือ การทำอารยขัดขืน คือสิ่งสำคัญ เป็นสิทธิ ทุกคนต้องร่วมกัน ทุกระดับ คิด ร่วมเงิน ร่วมแรง และบริหารจัดการ ไม่ใช้ความรุนแรง
ใช้อารยะขัดขืน ซึ่งตอนนี้มีแกนนำเต็มไปหมด คือประชาธิปไตยที่แท้จริง ทุกคนมีส่วนร่วม
การคุมสื่อ ทุกวันนี้เอาไม่อยู่

“หลีกเลี่ยงการถูกป้ายสี และการเริ่มใช้ความรุนแรง คือจุดที่ยึดความชอบธรรมไว้ได้เสมอ” นพ.พรหมินทร์กล่าว และว่า

“จากประสบการณ์ปี 35 กับ 14 ตุลา ข่าวลือจะเยอะมาก เช่น ปี 35 มีการปราบปราม ปล่อยข่าวกันสับสนไปหมด แม้กระทั่งข่าวทหาร จนกระทั่งฝ่ายทหารพ่ายแพ้ไป ที่สำคัญ คือ จิตใจที่สู้ โดยอย่าใช้ความรุนแรง แต่ต่อต้านได้ ไม่คิดว่าวันนี้จะเกิดขึ้น ทำให้นึกถึงคำของโดมปฏิวัติ ‘สู้ พ่ายแพ้ สู้ใหม่”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image