‘ธปท.’ จับมือพันธมิตรกำหนดเกณฑ์เวลาให้สินเชื่อการค้า ช่วยลดปัญหาสภาพคล่องเอสเอ็มอี

‘ธปท.’ จับมือพันธมิตรกำหนดเกณฑ์เวลาให้สินเชื่อการค้า ช่วยลดปัญหาสภาพคล่องเอสเอ็มอี

นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า แนวทางการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit term) สำหรับการซื้อ-ขายระหว่างภาคธุรกิจในประเทศไทย โดยธปท. หอการค้าไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) ได้กำหนดเกณฑ์ดังกล่าว ซึ่งให้มีผลบังคับใช้และบทลงโทษทางกฎหมาย รวมถึงมีแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของผู้ประกอบการขนาดเล็กและกลาง (เอสเอ็มอี)

นายจิตเกษม กล่าวว่า ในปี 2563 ระยะเวลามาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า ที่เอสเอ็มอีได้รับจากคู่ค้า เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเฉลี่ยอยู่ที่ 60 วัน และในบางธุรกิจขยายไปสูงถึง 120 วัน รวมถึงเอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจหรือเป็นคู่ค้า ให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ยังมีความเสี่ยงสูง ที่จะเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน เนื่องจากมักจะถูกขยายระยะเวลามาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า ให้ยาวนานขึ้นผ่านการใช้อำนาจการต่อรองที่เหนือกว่า โดยจากข้อมูลงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในปี 2559 พบว่า ระยะเวลาการชำระหนี้ให้แก่คู่ค้าของบริษัทขนาดใหญ่อยู่ที่ประมาณ 55 วัน และสำหรับบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จะนานถึง 62 วัน ซึ่งสูงกว่าระยะเวลามาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้าของเอสเอ็มอี ซึ่งอยู่ที่ 30 – 45 วัน

“การถูกยืดระยะเวลามาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า โดยเฉพาะจากคู่ค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีอำนาจการต่อรองที่สูงกว่า ประกอบด้วย ให้ลูกหนี้การค้าจะต้องชำระหนี้ให้แก่คู่ค้าภายในระยะเวลา 30-45 วัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละประเภทธุรกิจและให้บริษัทตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดเผยข้อมูลระยะเวลามาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า โดยเฉลี่ยในการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการส่งเสริม รวมถึงสร้างแรงจูงใจสำหรับภาคธุรกิจให้มีแนวปฏิบัติที่ดีในการลดระยะเวลามาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้าลง” นายจิตเกษม กล่าว

นายจิตเกษม กล่าวว่า เพื่อให้ภาคธุรกิจได้มีระยะเวลาในการปรับตัว หน่วยงานผู้รับผิดชอบควรกำหนดช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงผ่านให้ภาคธุรกิจเตรียมความพร้อม เพื่อสามารถประยุกต์ใช้เกณฑ์มาตรฐานระยะเวลามาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า ขณะเดียวกันจะต้องพิจารณาสร้างกลไกการตรวจสอบ ติดตาม และเพิ่มช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนจากภาคธุรกิจด้วย

Advertisement

นายจิตเกษม กล่าวว่า ในวันที่ 16 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ได้มีการนำข้อเสนอดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โควิด-19 หรือ ศบศ. ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบแล้ว และจะนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป คาดว่าจะเริ่มใช้เกณฑ์ดังกล่าวได้ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image