ลุ้นซีพี อุ้มกิจการ’เทสโก้ โลตัส’ รักษาการจ้างงาน ในยุคมรสุมค้าปลีกทั่วโลก หากผ่านคณะกรรมการ กขค.

วิบากกรรมอุตสาหกรรมค้าปลีก ดิ้นหนีตาย ปรับองค์กร เลิกจ้าง ทั้งถูกดิสรัปต์จากการค้าขายออนไลน์ ยังถูกซ้ำเติมด้วยโควิด ล่าสุดถึงคิวฟ้าผ่า “TESCO” ปลดพนักงาน 9,000 คนในสหราชอาณาจักร หวังปรับโครงสร้างพยุงธุรกิจ และประกาศขายกิจการในหลายประเทศ ซึ่งแน่นอนว่า ในประเทศไทย และมาเลเซีย ที่กลุ่มซีพี ได้ยื่นเข้าซื้อกิจการ และอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.)โดยต้องลุ้นว่า การที่ซีพีเข้ามาอุ้มเทสโก้ โลตัส ฝ่าวิกฤตโควิด และเศรษฐกิจในครั้งนี้ จะรักษาอุตสาหกรรมนี้ให้อยู่รอด และ รักษาการจ้างงาน ที่สำคัญ เทสโก้โลตัสจะกลับมาเป็นของคนไทยอีกครั้ง หลังจากที่ขายไปให้อังกฤษ เพื่อรักษาเรือใหญ่ไม่ให้จมในช่วงต้มยำกุ้ง แต่วิกฤตโควิดและเศรษฐกิจในปีนี้ วงการค้าปลีกล้วนได้รับผลกระทบอย่างหนัก หากซีพีเข้าอุ้มเทสโก้ โลตัสได้สำเร็จ จะเท่ากับช่วยพยุงธุรกิจค้าปลีกในประเทศ และทำให้คู่ค้ายังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ จะเห็นได้ว่า ในช่วงที่ผ่านมาผลกระทบจากยุค Disruption ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแทบทุกอุตสาหกรรม ล่าสุดถึงคิว “TESCO” ไฮเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ในกลุ่มสหราชอาณาจักร ประกาศปลดพนักงานกว่า 4,500 คน
สาเหตุที่แบรนด์ต้องดำเนินการดังกล่าว ส่วนหนึ่งเป็นผลจากความต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจ ให้สามารถดำเนินการได้คล่องตัวยิ่งขึ้น และบริษัทยังมีแผนการลดเวลาเปิดให้บริการร้าน Metro ทั่วสหราชอาณาจักร รวมแล้ว 153 สาขาอีกด้วย ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อพนักงานจำนวนมาก

โดย Jason Tarry ผู้บริหารระดับสูงของ TESCO ระบุว่า ภายใต้ความท้าทายของธุรกิจค้าปลีก ความกดดันจากต้นทุนทำให้เราต้องทบทวนวิธีการดำเนินงาน รวมถึงการสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าและสอดคล้องกับแผนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป นอกจากนี้ยังถูกซ้ำเติมด้วยโควิด-19

ล่าสุด Marks & Spencer ค้าปลีกสัญชาติอังกฤษ หรือ M&S ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1884 จนป่านนี้ก็ล่วงเวลามาถึง 136 ปีแล้ว มีหน้าร้านมากถึง 1,463 แห่ง ใน 57 ประเทศทั่วโลก พนักงานราว 7.8 หมื่นคน ล่าสุด เตรียมปลดพนักงานราว 950 ตำแหน่ง ซึ่งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนในการจัดการร้านหลังวิกฤตโควิด-19 กระทบรุนแรง

ล่าสุดเทสโก้ ประกาศลดต้นทุนธุรกิจครั้งใหญ่ กระทบพนักงานเกือบหมื่นคนในอังกฤษ ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด ประกาศปิดเคาน์เตอร์จำหน่ายอาหาร 90 แห่งในอังกฤษ เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการลดต้นทุนธุรกิจท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดและไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งการปิดเคาน์เตอร์อาหารครั้งนี้ ส่งผลกระทบทำให้ต้องลดจำนวนพนักงาน 9,000 คน

Advertisement

เครือข่ายซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่สุดของสหราชอาณาจักร ระบุว่า ยังคงให้บริการเคาน์เตอร์จำหน่ายปลาสด เนื้อสดภายในร้านค้าปลีก 700 แห่งตามปกติแต่อาจมีบางแห่งที่ต้องปรับรูปแบบการให้บริการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า แต่ยืนยันว่าจะไม่มีบริการอาหารปรุงสดอีกต่อไป และคาดว่าจะมีการปลดพนักงานทั้งสิ้น 9,000 คน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image