ทั่วโลกจับตา ท่าที”อินเดีย”บนเวทีประชุมผู้นำสุดยอดอาเซียน15พ.ย.

รายงานข่าวจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานถึงความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก15 ประเทศ ได้แก่ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จะมีการประชุมผู้นำสุดยอดอาเซียน ระบบทางไกล และลงนามความร่วมมือตามข้อตกลงต่างๆ ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ซึ่งเมื่อแต่ละประเทศให้สัตยาบันก็น่าจะเริ่มเปิดเสรีได้ช่วงครึ่งหลังปี 2564 ทั้งนี้ แม้อาเซียนจะมีเอฟทีเอกับ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์อยู่แล้ว แต่การรวมเป็น RCEP โดยมีเป้าหมายการเปิดเสรีในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด ส่วนหนึ่งเพื่อสร้างความน่าสนใจให้ทัดเทียมกับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive agreement for Trans-Pacific Partnership) หรือ CPTPP แต่ในความเป็นจริงทั้งสองความตกลงไม่สามารถทดแทนกันได้ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตที่ RCEP เน้นหนักไปยังภูมิภาคเอเชีย

ขณะที่ CPTPP น่าสนใจตรงที่สามารถเชื่อมห่วงโซ่การผลิตกับในภูมิภาคอเมริกาได้มากกว่า ศูนย์วิจัยฯมองว่าในความเป็นจริงแล้วสินค้าไทยที่ได้ประโยชน์เพิ่มเติมจากความตกลงRCEP นี้มีไม่มาก เพราะส่วนใหญ่เปิดเสรีการค้าไปแล้ว แต่การเคลื่อนย้ายสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตที่อยู่ในเครือข่ายห่วงโซ่การผลิตของนักลงทุนน่าจะทำให้ไทยได้อานิสงส์เพิ่มเติม อาทิ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยานยนต์และส่วนประกอบ เซมิคอนดักเตอร์และ ICs อีกทั้ง RCEP ยังเอื้อให้ไทยสามารถเกาะติดไปกับห่วงโซ่การผลิตของเอเชียได้อย่างเหนียวแน่นยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า FTA เป็นอีกปัจจัยที่นักลงทุนต่างชาติ ก็ให้ความสำคัญในการวางแผนขยายธุรกิจด้วย ศูนย์วิจัยฯ มองว่าถึงเวลาแล้วที่ไทยต้องเลือกว่า 1. ปรับตัวให้สอดรับกับมาตรฐานของความตกลง FTA ที่มีมาตรฐานสูงโดยเข้าร่วมเจรจากับ CPTPP หรือเจรจากับสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ตลอดจนอังกฤษ หรือ2. ปรับตัวให้เป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนต่างชาติ แม้ไม่มีFTAกับชาติตะวันตก ซึ่งไม่ว่าจะทางไหนไทยก็ต้องปรับตัวเพราะมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และเสียประโยชน์ ซึ่งภาครัฐบาลไทยต้องเตรียมมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอยู่ดี

ทั้งนี้ ความตกลง RCEP นับเป็นกรอบการค้าเสรีที่มีทั้งขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น 31% ของจีดีพี โลก และขนาดตลาดผู้บริโภคใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยจำนวนประชากร 2,300 ล้านคน RCEP เป็นความตกลงที่เปิดกว้างที่สุดและมีมาตรฐานด้านต่างๆสูงที่สุดเท่าที่ไทยเคยมีมา ทั้งในแง่ของเป้าหมายการลดภาษีสินค้าสูงสุดถึงร้อยละ 99 ของจำนวนรายการสินค้าทั้งหมด โดยช่วง 9 เดือนไทยส่งออกไปตลาดนี้มีมูลค่า 9.18 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ คิดเป็นร้อยละ 53.1 ของการส่งออกไทยไปตลาดโลก โดยRCEP มีการเจรจาครอบคลุมในเกือบทุกเรื่อง ยกเว้นด้านแรงงาน สิ่งทอและประเด็นด้านรัฐวิสาหกิจ ที่ใกล้เคียงกับแผนงานของ CPTPP แต่ต่างกันที่ RCEPมีความผ่อนปรนและเอื้อประโยชน์ด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศสมาชิกมากกว่า และไม่ส่งผลกระทบเชิงลบทางด้านสังคมเหมือนกรอบ CPTPP

Advertisement

อุตสาหกรรมที่ไทยยังคงมีความได้เปรียบในด้านการผลิตและส่งออก อาทิ ยานยนต์และชิ้นส่วน เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งประเทศ Plus 5 มีแนวโน้มค้าขายกันเองมากขึ้นจากการลดกำแพงภาษีระหว่างกันครั้งนี้ คงไม่ส่งผลให้เกิดการแย่งชิงตลาดกับสินค้าอาเซียนและสินค้าไทยที่ทำตลาดอยู่ก่อนแล้วในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสินค้าคนละประเภทกัน

ส่วนการที่อินเดียยังไม่ได้เข้าร่วมความตกลง RCEP อย่างเป็นทางการนั้น ทำให้ข้อตกลงในสายตาของนักลงทุนต่างชาตินอกกลุ่ม RCEP ยังคงต้องรอท่าทีจากอินเดียว่า จะตัดสินใจกลับเข้ามาร่วมกับกรอบความตกลง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image