เช็กเลย!! ใครได้ 7,000 บาท เตรียมตัวให้พร้อมลงทะเบียนแอพพ์/เว็บ www.เราชนะ.com ภายในม.ค.นี้

เช็กเลย!! ใครได้ 7,000 บาท เตรียมตัวให้พร้อมลงทะเบียนแอพพ์/เว็บ www.เราชนะ.com ภายในม.ค.นี้

เราชนะ – นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า กระทรวงการคลังจะเร่งพิจารณามาตรการบรรเทาผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด ระลอกใหม่ ให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม โดยกำหนดวงเงินช่วยเหลือ เดือนละ 3,500 บาท นาน 2 เดือน รวมรับเงินคนละ 7,000 บาท โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ในวันที่ 19 มกราคมนี้

โดยประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จะต้องลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ที่กระทรวงการคลังเปิดไว้ ซึ่งจะกำหนดระยะเวลาลงทะเบียนเร็วที่สุดภายในสิ้นเดือนมกราคม และผู้ผ่านการตรวจสอบสิทธิจะสามารถกดเงินจากตู้เอทีเอ็มในเดือนแรกได้อย่างช้าสุดไม่เกินสัปดาห์แรกของเดือนกุมภาพันธ์ ครอบคลุม 2 เดือน

สำหรับกลุ่มที่มีสิทธิได้ 7,000 บาทดังกล่าว
กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 14 ล้านคน ซึ่งไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ผ่านเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น “เราชนะ” เพราะรัฐมีฐานข้อมูลอยู่แล้ว

กลุ่มผู้เข้าร่วมมาตรการคนละครึ่ง ที่มีการยืนยันใช้สิทธิแล้วกว่า 13.8 ล้านราย หรือไม่เกิน 15 ล้านราย ซึ่งไม่ต้องลงทะเบียนผ่านเว็บหรือแอพพ์เราชนะใหม่ เพราะมีฐานข้อมูลแล้ว แต่ต้องพิจารณาคุณสมบัติว่าจะผ่านเกณฑ์ได้รับเงินบรรเทาทุกข์ด้วยหรือไม่อีกครั้ง

Advertisement

กลุ่มต้องลงทะเบียนใหม่ เป็นกลุ่มที่ไม่เคยอยู่ในฐานข้อมูลเดิมอยู่เลย

โดยกลุ่มที่จะได้รับการพิจารณาได้รับเงินเยียวยารวม 7,000 บาทนั้น จะเป็นกลุ่มอาชีพอิสระ เกษตรกร ที่เคยลงทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร อาจจะต้องมาลงทะเบียนใหม่ และจะช่วยเหลือพร้อมกันในรอบเดียว ในหลักการก็จะช่วยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเหมือนมาตรการเราไม่ทิ้งกันก่อน เช่น กลุ่มแท็กซี่ มอเตอร์ไซค์รับจ้าง ผู้ค้าสลากกินแบ่งรัฐบาล และมัคคุเทศก์ เป็นต้น

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำหรับกลุ่มที่จะไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ 3,500 บาท นาน 2 เดือน เบื้องต้นจะเป็นกลุ่มที่ได้รับการดูแลอยู่แล้ว เช่น กลุ่มข้าราชการกว่า 3 ล้านคน พนักงาน และลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ กลุ่มที่อยู่ในฐานระบบกองทุนประกันสังคม ตามมาตรา 33 อีก 11 ล้านคน รวมทั้ง ผู้ที่มีรายได้สูง ซึ่งกระทรวงการคลังจะมีเกณฑ์มาวัดว่ารายได้เท่าใด จึงจะไม่ได้รับเงิน 3,500 บาท โดยพิจารณาบัญชีเงินฝาก รายได้เข้าออกเดือนต่อเดือน ฐานข้อมูลผู้เสียเงินภาษี เป็นต้น

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image