‘บิ๊กเกรียง’ลั่นสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ป้องกันโควิด-19 ทะลักเข้าไทย ฮึ่ม!จับกุมนายหน้า

‘บิ๊กเกรียง’ลั่นสกัดกั้นแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ป้องกันโควิด-19 ทะลักเข้าไทย ฮึ่ม!จับกุมนายหน้าไม่ให้ขนย้ายแรงงาน พร้อมใช้กฎหมายพิเศษเรียกมาคุย

เมื่อวันที่ 22 มกราคม ที่ห้องประชุมยะลารวมใจ ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า อ.เมือง จ.ยะลา พล.ท.เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 4(มทภ.4) ในฐานะผอ.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (ผอ.รมน.ภาค 4) พร้อมด้วย พล.ต.ท.รณศิลป์ ภู่สาระ ผบช.ตร.ภาค 9 และนายชัยสิทธิ์ พาณิชพงษ์ ผู้ว่าราชการจ.ยะลา ร่วมแถลงข่าวเรื่อง มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด 19 ในการสกัดกั้น กวดขันแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมถึงบุคคลนำพา

เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย ได้มีการปิดจุดผ่านแดนมาตั้งแต่ มี.ค.2563 โดยอนุญาตให้คนไทยเดินทางกลับโดยต้องลงทะเบียนผ่านกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมามีการเดินทางกลับของคนไทยมาแล้ว ทางด่านพรมแดนเบตง สุไหงโกลก สะเดา ปาดังเบซาร์ วังประจัน ประมาณ 26,970 คน ซึ่งแนวโน้มการแพร่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งมาเลเซีย และเมียนมาร์ ยังคงทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการล็อคดาวน์ และลดการจ้างงาน โดยเฉพาะในประเทศมาเลเซีย และล่าสุดทางการ

Advertisement

 

มาเลเซียได้มีการประกาศภาวะฉุกเฉินเพื่อควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม ไปจนถึงวันที่ 1 สิงหาคม 2564 หรือจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น พร้อมมีการบังคับจำกัดด้านการเดินทางในบางพื้นที่ที่มีการระบาดหนัก ประกอบกับในประเทศไทย เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ระลอกใหม่ขึ้น ซึ่งระบาดจากกลุ่มบุคคลต่างด้าวที่มีการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยใช้ช่องทางธรรมชาติ รัฐบาล กอ.รมน. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย จึงสั่งการให้เพิ่มความเข้มงวด กวดขันป้องกันไม่ให้มีการลักลอบหลบหนีเข้ามาโดยไม่ผ่านกระบวนการ รวมทั้งจับกุมขบวนการที่นำพาบุคคลต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาโดยผิดกฎหมาย โดยที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการกวดขันจับกุมอย่างต่อเนื่อง โดยในห้วงตั้งแต่ 1 ตุลาคม 63 จนถึงปัจจุบัน มีสถิติการจับกุมจำนวน 86 ครั้ง จับกุมบุคคลต่างด้าวได้ 624 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 409 คน สัญชาติกัมพูชา 64 คน สัญชาติลาว 76 คน สัญชาติเวียดนาม 45 คน สัญชาติบังคลาเทศ 1 คน สัญชาติจีน 2 คน และมาเลเซีย 21 คน สัญชาติอื่น ๆ 26 คน ซึ่งสามารถจับกุมได้ในพื้นที่ชายแดนระหว่างการข้ามแดน บริเวณด่านตรวจจุดสกัดในระหว่างการเคลื่อนย้าย และจากการพิสูจน์ทราบพื้นที่หลบซ่อนพักพิง ทั้งบริเวณแนวชายแดน และจุดพักคอยในพื้นที่ตอนใน พร้อมทั้งได้จับกุมผู้นำพาบุคคลต่างด้าวข้ามแดน และเคลื่อนย้ายตามเส้นทางในพื้นที่ชั้นใน รวมทั้งระหว่างให้ที่พักพิง รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน ซึ่งนำไปสู่การเข้าพิสูจน์ทราบ ขยายผลบุคคลที่เกี่ยวข้องกับขบวนการนำพา บุคคลต่างด้าว จำนวน 13 ครั้ง ในพื้นที่จ.นราธิวาส จ.ปัตตานี จ.สงขลา และจ.นครศรีธรรมราช

Advertisement

ทั้งนี้การลักลอบของกลุ่มบุคคลต่างด้าวที่สามารถจับกุมได้ ตรวจพบมี 2 ลักษณะ คือ 1.หลบหนีเข้ามาประเทศไทยโดยใช้ช่องทางธรรมชาติ จากประเทศเมียนมาร์ เดินทางโดยรถส่วนบุคคลหรือรถโดยสารลงมายังพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วเข้าพักพิงตามแนวชายแดนพื้นที่ จ.นราธิวาส เพื่อรอหลบหนีออกไปยังประเทศมาเลเซีย 2.หลบหนีเข้ามาประเทศไทยโดยช่องทางธรรมชาติ จากประเทศมาเลเซีย เดินทางโดยรถส่วนบุคคลหรือรถโดยสารไปเข้าพักพิงตามแนวชายแดน เพื่อรอหลบหนีออกประเทศเมียนมาร์ สำหรับรูปแบบการนำพากลุ่มบุคคลต่างด้าวข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย มีวัตถุประสงค์เพื่อนำพาเดินทางออกจากประเทศมาเลเซีย ไปยังประเทศปลายทาง โดยสามารถจำแนกขบวนการนำพา ออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มขบวนการนำพาบุคคลต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา เวียดนาม ลาว โดยมีการประสานงานระหว่างนายหน้าของฝั่งประเทศไทยและนายหน้าของฝั่งประเทศมาเลเซีย ทำการรวบรวมบุคคลจากประเทศมาเลเซียที่ต้องการข้ามแดนมาฝั่งประเทศไทย พร้อมนัดหมายการเดินทาง ก่อนลักลอบเข้ามาประเทศโดยใช้ช่องทางธรรมชาติ ข้ามแม่น้ำโก-ลก โดยใช้เรือยนต์รับจ้างที่มีการนัดหมายกันล่วงหน้า เมื่อข้ามฝั่งมายังประเทศไทยจะมีรถยนต์มารับเพื่อเดินทางต่อโดยใช้รถยนต์ส่วนบุคคลหรือรถตู้สาธารณะไม่ประจำทาง หรือลักลอบพักพิงอยู่ในพื้นที่ โดยจะใช้สถานที่บ้านเช่า รีสอร์ต หรือ โรงแรม เพื่อรอการส่งต่ออีกทอดหนึ่งไปยังพื้นที่ตอนกลางของประเทศไทย ไปยัง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว หรือชายแดนจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อลักลอบข้ามแดนกลับประเทศของตนเองต่อไป


2. กลุ่มขบวนการนำพาบุคคลต่างด้าวสัญชาติเมียนมาร์โดยจะมีจุดพักหลักในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง คือพื้นที่ อำเภอหาดใหญ่ และ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ก่อนจะมีกลุ่มนำพารับส่งอีกทอดหนึ่งไปยังพื้นที่ จังหวัดระนอง เพื่อเดินทางไปประเทศเมียนมาร์ต่อไป ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุม สกัดกั้นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง พร้อม
กวดขันจับกุมขบวนการนำพาบุคคลต่างด้าว กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า จึงได้เพิ่มมาตรการป้องกันควบคุมดูแล ดังนี้1.จัดตั้งที่บังคับการทางยุทธวิธี โดยหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส (หน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 30) ในพื้นที่ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส เพื่อเพิ่มความเข้มงวด และควบคุมการปฏิบัติตามแนวชายแดน สกัดกั้นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมีพื้นที่รับผิดชอบ อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงโก-ลก และ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส เพิ่มมาตรการในการลาดตระเวน อย่างเข้มข้นทุกตารางนิ้ว สกัดกั้นทางน้ำ และชุดปฏิบัติการจรยุทธ์ตามแนวชายแดน โดยได้บูรณาการกำลัง และเครื่องมือร่วมกับทุกภาคส่วนในการบังคับใช้กฎหมายตามแนวชายแดนอย่างเข้มงวด

 

2. การเสริมกำลังตามแนวชายแดน เฝ้าระวังป้องกันจุดล่อแหลมที่เป็นช่องทางข้ามแดนตามธรรมชาติทั้งทางบกและทางน้ำ โดยเขตแดนแนวลำน้ำ ใช้กำลังชุดปฏิบัติการทางน้ำ ประสานการทำงานร่วมกับทหารเรือ และตำรวจน้ำ จัดชุดลาดตระเวนตรวจทางเรือ สำหรับพื้นที่ป่าเขา จัดกำลังกองร้อยเฉพาะกิจ จากหน่วยปกติเข้ามาเสริมการปฏิบัติงานของกำลังป้องกันชายแดน เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่พบการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง รวมถึงการเสริมระบบไฟส่องสว่าง และเครื่องกีดขวางปิดช่องทางธรรมชาติที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนการซ่อมแซมรั้วชายแดนที่ถูกทำลาย นอกจากนี้ในช่องทางที่มีชุมชนหรือหมู่บ้านอาศัยอยู่ใกล้แนวชายแดน ได้จัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และการจัดตั้งแหล่งข่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดกั้นการ
ลักลอบการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
3. การดูแลพื้นที่ตอนใน ใช้การบูรณาการกกำลังร่วมกันกับภาคส่วนต่างๆ ทั้ง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และ อสม. ค้นหาเชิงรุกในชุมชนและหมู่บ้าน ตลอดจนสร้างความร่วมมือจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน เฝ้าระวัง เป็นหูเป็นตา ช่วยกันสกัดกั้นป้องกันตามแนวชายแดนเสริมอีกทางหนึ่ง ตลอดจนชี้แจงสร้างความเข้าใจให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด 19 เพื่อ ตัดต้นตอของขบวนการนำพา และเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดกั้นการลักลอบการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย

พล.ท.เกรียงไกร กล่าวว่า การควบคุมสกัดกั้น บุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง ได้มีการกวดขันจับกุมขบวนการนำพาบุคคลต่างด้าว ด้วยการเพิ่มความเข้มงวดและควบคุมการปฏิบัติตามแนวชายแดน รวมทั้งเพิ่มมาตรการสกัดกั้นให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยได้จัดตั้งที่บังคับการทางยุทธวิธี ดูแลพื้นที่ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เพื่อ พื้นที่อ.ตากใบ อ.สุไหงโก-ลก และอำเภอแว้ง เพิ่มเติมด้วยการลาดตระเวนอย่างเข้มข้นทุกตารางนิ้ว เสริมด้วยการสกัดกั้นทางน้ำ และเฝ้าตรวจแนวชายแดน ตลอด 24 ชั่วโมง โดยได้บูรณาการกำลังและเครื่องมือกับทุกภาคส่วน ในการบังคับใช้กฎหมายตามแนวชายแดนอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้เสริมกำลังตามแนวชายแดน เฝ้าระวังป้องกันจุดล่อแหลมที่เป็นช่องทางข้ามแดนตามธรรมชาติ ทั้งทางบก และทางลำน้ำ โดยเขตแดนแนวลำน้ำ ใช้กำลังชุดปฏิบัติการทางน้ำ ประสานงานร่วมกับทหารเรือ และตำรวจน้ำในการลาดตระเวนทางเรือ สำหรับในพื้นที่ป่าเขา จัดกำลังกองร้อยเฉพาะกิจ เสริมการปฏิบัติงานของกำลังป้องกันชายแดน เพิ่มเติมด้วยชุดปฏิบัติการจรยุทธ์ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ที่พบการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง รวมถึงเสริมระบบไฟส่องสว่าง และเครื่องกีดขวาง ปิดช่องทางธรรมชาติที่ผิดกฎหมาย ตลอดจนซ่อมแซมรั้วชายแดนที่ถูกทำลาย

พล.ท.เกรียงไกร กล่าวว่า นอกจากนี้ในช่องทางที่มีชุมชนหรือหมู่บ้านอาศัยอยู่ใกล้แนวชายแดน ได้จัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด รวมทั้งจัดตั้งแหล่งข่าว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดกั้น การลักลอบการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ส่วนการดูแลพื้นที่ตอนใน ใช้การบูรณาการกำลังร่วมกันกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้ง ทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และ อสม. ค้นหาเชิงรุกในชุมชนและหมู่บ้าน ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน เฝ้าระวัง เป็นหูเป็นตา ช่วยกันสกัดกั้นป้องกันตามแนวชายแดนเสริมอีกทางหนึ่ง ซึ่งต้องคอยชี้แจง สร้างความเข้าใจให้ประชาชน ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่อง การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อ ตัดต้นตอของขบวนการนำพา และเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดกั้นการลักลอบการหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทั้งนี้ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ได้ยกระดับมาตรการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน ควบคู่กับการสร้างความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สินให้กับพี่น้องประชาชน จึงขอความร่วมมือ ร่วมกันตรวจตรา สอดส่องบุคคล ที่ฝ่าฝืนมาตรการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หากพบเห็นโปรดแจ้งได้ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงหรือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ได้ทันที หรือโทรเข้ามายังหมายเลขสายด่วนแม่ทัพภาคที่ 4 ได้โดยตรง ที่หมายเลข 0611732999 อย่าเห็นแก่ประโยชน์เล็กน้อยที่จะได้รับ ขอให้ช่วยกันเป็นหูเป็นตา แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที เพื่อช่วยให้ประเทศของเราข้ามผ่านวิกฤต โควิด – 19 ระลอกใหม่นี้ไปด้วยกัน

” เมื่อมีการจับกุมแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาขั้นต้น ศบค.ภาค 3 รับผิดชอบดำเนินการตามขั้นตอนเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง กักตัว และดำเนินการตามกฎหมาย ยืนยันว่ามีสถานที่กักตัวเพียงพอ แต่เบื้องจ้นขณะนี้เราใช้นโยบายคือการป้องกัน จัดการตัดตอนขบวนการนำพาเพื่อไม่ให้นายหน้าฝั่งมาเลเซียและนายหน้าฝั่งไทยโยกย้ายแรงงานเข้ามา อย่างไรก็ตาม จากการปฏิบัติหน้าที่ที่ผ่านมามีการจับกุมหลายครั้งและขยายผล ส่วนจะเกี่ยวข้องผู้ใดเพิ่มเติมหรือยังไม่สามารถจับกุมได้เพราต้องรอหมายต่างๆ ผมให้ทางที่ทำการยุทธวิธีเชิญตัวมาโดยอำนาจ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เพื่อเรียกมาคุยมาซักถาม ถ้ายังไม่มีหลักฐานก็ให้เขาหยุดการกระทำ และเจ้าหน้าที่จะดำเนินการต่อตามขั้นตอน” พล.ท.เกรียงไกร กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image