ค้าปลีกยังแย่ โควิดฉุดรายได้ วอนต่อ’ช้อปดีมีคืน’ถึง5หมื่นบ. ดึงกำลังซื้อต้นปี

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก(โมเดิร์นเทรด) จากผู้ประกอบการ 112 ราย ช่วงวันที่ 23 ธันวาคม 2563 ถึง 18 มกราคม 2564 พบว่า ค่าดัชนีฯไตรมาส4/2563 เท่ากับ 47.3 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 สะท้อนว่าธุรกิจค้าปลีกยังแย่อยู่ และเป็นค่าที่ต่ำสุดในรอบ 2 ปี ยกเว้นไตรมาส 1/2563 ที่มีค่าดัชนีอยู่ 47.2 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 รอบแรกต้นปี 2563 และรอบสองกลางเดือนธันวาคมถึงปัจจุบัน

ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อค้าปลีก คือ การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้รัฐบาลออกมาตรการล็อกดาวน์และการเดินทางใช้จ่ายหรือท่องเที่ยวลดลง ประกอบกับกำลังซื้อยังไม่ฟื้นตัวจากผลกระทบโควิด และวิตกต่อการหางานทำในอนาคต ดังนั้น เมื่อวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดโควิดรอบใหม่ จึงกระทบต่อจำนวนลูกค้าและนักท่องเที่ยวลดลง กำลังซื้อและความถี่ซื้อสินค้าลดลง รายได้ลด กำไรลด สวนทางให้ต้นทุนดำเนินการ กระแสเงนิสด แผนการลงทุน และการจ้างงาน ซึ่งบางส่วนเริ่มพัฒนาระบบออนไลน์ขึ้นมาทดแทนก็ยิ่งเพิ่มการแข่งขันในระบบออนไลน์มากขึ้น

” ในการสำรวจผู้ประกอบการฝากความหวังไว้ที่การแพร่ระบาดโควิดคลี่คลายเร็ว และยาวัคซีนต้านไวรัสฉีดได้เร็วและมากที่สุดภายในไตรมาส 2 ปีนี้ ก็จะทำให้กิจกรรมต่างๆฟื้นตัว เปิดน่านฟ้า เริ่มเดินทาง จะทำให้ค่าความเชื่อมั่นโมเดิร์นเทรดเกินระดับ 50 อีกครั้ง บนพื้นฐานจีดีพีไทยปีนี้โต 2.5-3% ” นายธนวรรธน์ กล่าว

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ผู้ประกอบการค้าปลีกเสนอให้รัฐบาลเร่งแกไข้ คือ 1. เร่งแก้ไขปัญหา และควบคุมสถานการณ์โควิด19 ให้เร็วที่สุด 2.มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยลดค่าใช้จ่ายภาคปลีกและการบริการเร่งด่วน อาทิ ลดค่าน้ำ ค่าไฟ 50% 1 ปี นำค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 มาลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า คล้ายกับงดเว้นการเก็บภาษีป้าย ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินปี 2563 – 65 ขยายเวลานำผลขาดทุนสุทธิยกมาจากเดิมไม่เกิน 5 รอบ เป็น 8 รอบระยะเวลาบัญชี 3. การเร่งฟื้นฟูการท่องเทยี่วในประเทศ 4. สนับสนุนให้ธุรกิจค้าปลีกได้มีส่วนร่วมในโครงการของรัฐบาล

Advertisement

นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า พร้อมกันนี้ผู้ประกอบการร้องขอมาตรการที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือค้าปลีกโดยตรง คือ 1.กระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ช้อป ดี มีคืน เพิ่มวงเงินเป็น 50,000 บาท ในไตรมาส 1/2564 จากปีก่อนอยู่ที่ 30,000 บาท 2. การสนับสนุนบริษัทเอกชนในการจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สำหรับการเสริมมาตรการป้องกันโควิด เช่น สามารถเอาค่าใช้จ่ายหักลดหย่อนภาษีธุรกิจได้ 2 เท่า 3.การส่งเสริมแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำให้ธุรกิจค้าปลีกและบริการและผู้ประกอบการรายย่อยที่เป็นผู้เช่า

4.ลดภาษีนิติบุคคลจากร้อยละ 20% เป็น ร้อยละ 10% เป็นเวลา 3 ปี หรือการเลื่อนการจ่ายภาษี เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีนิติบุคคลประจำปีเพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องของธุรกิจค้าปลีก 5.เพื่อรักษาสถานะภาพการจ้างงานภาคค้าปลีกและบริการ ป้องกันคนตกงาน เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนค่าจ้าง 50% ให้กับโซนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เช่น สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี ภูเก็ต โดยมีเงื่อนไขว่าบริษัทฯ ต้องไม่จ้าง พนักงานออก หรือให้ภาคค้าปลีกและบริการนำค่าใช้จ่ายค่าจ้างแรงงานมาหักภาษีได้ 3 เท่า ในปี 2563-2565 และ 6.อนุมัติการจ้างงานรายชั่วโมงเพื่อสนับสนุนการจ้างงานเพิ่ม

นายสุรงค์ บูลกุล รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า เดิมนั้นเอกชนมองว่าค้าปลีกปีนี้จะดีขึ้น แต่เมื่อเกิดโควิดระดบาดรอบสองในไทยกลางเดือนธันวาคมปีก่อนจนถึงวันนี้ ก็ดับฝันและสถานการณ์ค้าปลีกก็ถดถอยลงอีกครั้ง ประเมินได้ว่าจับจ่ายใช้สอยในช่วงตรุษจีนปีนี้ ไม่คึกคักแน่นอน และบางส่วนหันไปสั่งจองของไหว้และขายผ่านออนไลน์มากกว่าการเดินห้างหรือซื้อตามตลาด ซึ่งค้าปลีกเองก็ปรับตัวมาตั้งแต่ปีก่อนเมือ่เกิดโควิดรอบแรก และเริ่มใช้การออนไลน์มากขึ้น ซึ่งระยะยาวอาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน

Advertisement

” อยากให้รัฐบาลเร่งพิจารณาเรื่องอนุมัติการจ้างรายชั่วโมง โดยแยกการจ้างแรงงานในภาคบริการ ออกจากภาคอุตสาหกรรม เพราะชั่วโมงการทำงานแตกต่างกัน บริการจะมีช่วงเข้าใช้บริการมากน้อยต่างจากการผลิต ซึ่งหากมีการหนุนจ้างรายชั่วโมงจะช่วยเพิ่มอัตราจ้างใหม่ไม่น้อยกว่า 5 พันอัตรา และสามารถจ้างงานชั่วคราวกับแรงงานนอกระบบอีก1.2 ล้านอัตรา”

นายสุรงค์ กล่าวต่อว่า อีกเรื่องที่รัฐควรเร่งคือการคัดกรองช่วยเหลือสภาพคล่องผู้ประกอบการให้เข้าถึงซอฟต์โลน และ ลดหย่อนให้กับค้าปลีกที่เปิดพื้นที่ให้รายย่อยได้ค้าขาย เพื่อที่จะหนุนโครงการคนละครึ่ง เป็นต้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image