วราวุธ ลงพื้นที่ ‘คลองด่าน’ ให้คพ.ทบทวนมาตรฐานระบายน้ำทิ้ง

วราวุธ ลงพื้นที่ “คลองด่าน” ให้คพ.ทบทวนมาตรฐานระบายน้ำทิ้ง

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พร้อมด้วยนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัด ทส. ลงพื้นที่ โครงการระบบบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ (คลองด่าน) ในปัจจุบัน พร้อมรับฟังสรุปสถานะการดำเนินงานของระบบบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษจังหวัดสมุทรปราการ  เพื่อรับฟังปัญหาและกำหนดแนวทางการดำเนินต่อไปในอนาคต และลงพื้นที่ตรวจระบบการจัดการน้ำเสียของบริษัทเขตประกอบการอุตสาหกรรมฟอกหนัง กม. 34 จำกัด พร้อมทั้งมอบนโยบายและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงาน

 

Advertisement

นายวราวุธ กล่าวว่า ขอให้ส่วนราชการ และผู้ประกอบการ ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เข้มงวดกับการบำบัดน้ำเสียของโรงงานที่อยู่ในความดูแล รวมถึงการบำบัดน้ำเสียของชุมชน ก่อนที่ปล่อยลงสู่ระบบนิเวศ และให้รักษามาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้พลังงานสะอาด การใช้พลังงานทดแทน ให้มีความต่อเนื่อง อีกทั้งให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสมุทรปราการ เป็นศูนย์กลางในการประสานงานในพื้นที่ และให้กรมควบคุมมลพิษ(คพ.) ทบทวนมาตรฐานการระบายน้ำทิ้ง และให้หน่วยงานในสังกัด ทส. ที่้กี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการดำเนินงานอย่างเต็มกำลัง ทั้งนี้ เพื่อให้อุตสาหกรรมของประเทศไทย ก้าวสู่บริบทมิติใหม่ New Normal ด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและรักษาฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการสู่ความยั่งยืน

 

 

โครงการระบบบำบัดน้ำเสียเขตควบคุมมลพิษ (คลองด่าน) มีเนื้อที่ 1,903-0-87 ไร่ มีระบบบำบัดน้ำเสียเป็นระบบตะกอนเร่งแบบเติมอากาศยาวนาน (Extended Aeration Activated Sludge ; EAAS) มีความสามารถในการบำบัดน้ำเสียได้ 525,000 ลบ.ม./วัน โดยแบ่งพื้นที่โครงการออกเป็น

(1) พื้นที่อาคารสำนักงาน และส่วนบริการต่าง ๆ ได้แก่ อาคารสำนักงาน อาคาร ซ่อมบำรุง โรงเก็บรถ ป้อมยาม อาคารบ้านพัก เป็นต้น ซึ่งพื้นที่ส่วนนี้อยู่บริเวณด้านทิศเหนือ ของโครงการตรงบริเวณทางเข้าโครงการ (2) พื้นที่ระบบบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ บ่อบำบัดน้ำเสีย บ่อเก็บกากตะกอน ถังตกตะกอน เป็นต้น รวมเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 488 ไร่ อยู่บริเวณตอนกลางของพื้นที่โครงการ โดยมีองค์ประกอบดังนี้ สถานีสูบน้ำเสีย (nfuent Pumping Station) บ่อบำบัดขั้นต้น (Pretreatment Ponds) จำนวน 3 บ่อ บ่อเติมอากาศ (Aeration Basins) จำนวน 3 บ่อ ถังตกตะกอน (Final Clarifiers) จำนวน 8 ถัง บ่อเก็บกากตะกอนจากบ่อบำบัดขั้นต้น (Pretreatment Sludge Basin) บ่อเก็บกากตะกอนชีวภาพ (Waste Activated Sludge Basin : WAS Basinis)

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image