อส.ปฏิรูประบบจ่ายเงินเดือนอัยการ รวมเบิกจ่ายส่วนกลาง ลดงบประมาณ ประหยัด เพิ่มประสิทธิภาพ

อส.จัดปฏิรูประบบจ่ายเงินเดือนข้าราชการ-ลูกจ้างอัยการ รวมเบิกจ่ายส่วนกลาง ลดงบประมาณองค์กร ประหยัดทรัพยากรบุคคล เพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลา บริหารงบประมาณ เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผล

เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 64 นายยรรยง เดชภิรัตนมงคล เลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด  (อส.)ได้เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดปฏิรูปการเบิกจ่ายเงินเดือนค่าจ้างประจำและเงินอื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการฝ่ายอัยการและลูกจ้างประจำในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุดทั่วประเทศ 10 ประเภทโดยการเบิกจ่ายในส่วนกลางทำให้การเบิกจ่ายเงินเดือนค่าจ้างลูกจ้างประจำและเงินอื่นในลักษณะเดียวกันเงินค่าตอบแทนอื่นและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง

ไปซึ่งสำนักงานอัยการสูงสุดมีหนังสือด่วนที่สุดวันที่ 25 ธ.ค.63 แจ้งแนวทางปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินเดือนค่าจ้างลูกจ้างประจำและเงินอื่นในลักษณะเดียวกันเงินค่าตอบแทนอื่นและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และหนังสือด่วนที่สุดที่วันที่ 26 มกราคม 2564 เรื่องการเบิกจ่ายเงินเดือนและเงินอื่นในลักษณะเดียวกันเพื่อแจ้งให้ข้าราชการและลูกจ้างประจำภายในสังกัดทราบและถือปฏิบัตินั้น

ทางสำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุด(อส.)ได้วิเคราะห์ผลการดำเนินการเบิกจ่ายเงินเดือนค่าจ้างลูกจ้างประจำและเงินอื่นในลักษณะเดียวกันโดยวิธีการเบิกจ่ายในส่วนกลางแล้วถือเป็นการปฏิรูปการเบิกจ่ายเงินเดือนที่จะส่ง

Advertisement

ผลช่วย ลด 3 เรื่อง สรุปเป็นสาระสำคัญได้ดังนี้  คือ สามารถลดจำนวนวันทำงานในแต่ละขั้นตอนในภาพรวมทั้งหมดจำนวน 44วันต่อปี โดยการเบิกจ่ายในส่วนกลางสามารถลดจำนวนครั้งในการทำงานจากการเบิกจ่ายจากสำนักงานในส่วนจังหวัดจำนวนที่เดิมมี3,415 ครั้ง(162หน่วยเบิกจ่าย) เหลือเพียง 32ครั้ง (1หน่วยเบิกจ่าย) ส่งผลทำให้สามารถลดขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินเดือน จาก9ขั้นตอนเหลือเพียง 8ขั้นตอน จากใช้ระยะเวลา 275 วันเหลือเพียง 231 วัน เเบะเมื่อนำระยะเวลาขั้นตอนมาเปรียบเทียบสามารถลดจำนวนวันทำงานรวมกันได้ 44วันต่อปี สามารถลดต้นทุนทรัพยากรได้ร้อยละ 90

นอกจากนี้ยังช่วย 3 เพิ่ม คือ 1.เพิ่มประสิทธิภาพด้านเวลาร้อยละ 16 ประสิทธิภาพด้านเวลาเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับลดขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินเดือนจาก 9ขั้นตอนเหลือ 8 ขั้นตอน

2.เพิ่มประสิทธิภาพด้านขั้นตอนร้อยละ99.06 เนื่องจากจำนวนครั้งในการทำงานจากการเบิกจ่ายเงินเดือน จากจำนวน3,415 ครั้งเหลือ32 ครั้ง

Advertisement

3.เพิ่มประสิทธิภาพหน่วยเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับลดภารกิจหน่วยเบิกจ่ายตามมาตรการจาก162 หน่วยเบิกจ่ายเหลือเพียง 1หน่วย

นายยรรยงค์ระบุต่อว่า จากการวิเคราะห์ดังกล่าวสามารถแยกการบริหารในแต่ละด้านได้ดังนี้

1.ด้านการบริหารบุคลากร สามารถลดจำนวนวันทำงานในภาพรวมขั้นตอนการนำเงินเดือนมาเบิกในหน่วยเบิกจ่ายส่วนกลางจำนวน 44วันต่อปี ,สามารถลดการทำงานในขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินเดือนฯ จำนวน 161หน่วยคิดเป็นวันทำการได้ 120วันต่อปีต่อ 1หน่วยเบิกจ่าย ,สามารถมอบหมายหน้าที่อื่นให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีกรณีที่ขาดอัตรากำลัง ไม่ต้องจัดสรรเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีไปยังหน่วยเบิกจ่ายที่เบิกจ่ายให้หลายศูนย์ต้นทุน เเละเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีสามารถเรียนรู้งานด้านอื่น ๆ และย้ายสายงานไปตำแหน่งอื่นได้

2.ด้านการบริหารงบประมาณ นั้นสามารถประหยัดงบประมาณค่าไปรษณีย์ในการจัดส่งหนังสือแจ้งการโอนเงินแจ้งการตัดโอนเงินเดือนค่าจัดทำเอกสารและค่าวัสดุอุปกรณ์ 16,000บาทต่อเดือน 193,200บาทต่อปี) ยังประหยัดงบประมาณในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีไปปฏิบัติงานที่สำนักงานที่มีการเบิกจ่ายหลายศูนย์ต้นทุน

3.ด้านการบริหารทรัพยากรสามารถ ลดทรัพยากร (ต้นทุน) ร้อยละ90 ลดจำนวนการโอนจัดสรรเงินงบประมาณ ,จำนวนครั้งในการทำงานลดลงจาก 3,415ครั้งเหลือ32 ครั้งประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ99.06

เเละสุดท้ายด้านการบริหารจัดการ สามารถควบคุมงบประมาณ เเละตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายบุคลากรได้ง่ายเนื่องจากเบิกจ่ายในส่วนกลางเพียงแห่งเดียวทำให้ สามารถควบคุมงบประมาณและตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณค่าใช้จ่าย ลดจำนวนครั้งการโอนจัดสรรค่าใช้จ่ายบุคลากรไปยังหน่วยเบิกจ่าย เพิ่มประสิทธิภาพได้ ลดขั้นตอนการตัดโอนเงินเดือนในกรณีข้าราชการได้รับคำสั่งโยกย้าย ,ลดข้อผิดพลาดในการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายบุคลากรได้ ,ลดปัญหาการเบิกค่าใช้จ่ายบุคลากรค้างเบิกข้ามปีงบประมาณ ,บริหารจัดการภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อย่างถูกต้องและออกหนังสือรับรองภาษีส่งให้แก่ผู้มีสิทธิได้ทันกำหนดเวลา ,หน่วยเบิกจ่ายมีปริมาณงานลดลงร้อยละ 60สามารถบริหารจัดการงานด้านการเบิกจ่ายเงินที่เหลืออยู่ได้ถูกต้องครบถ้วน ,สามารถเบิกจ่ายเงินอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รวดเร็วภายในเวลาที่กำหนด ,เจ้าหน้าที่การเงินปฏิบัติงานน้อยลงจะสามารถบันทึกรายการบัญชีทะเบียนคุมได้ครบถ้วนถูกต้องทำให้รายงานการเงินถูกต้องเป็นปัจจุบันส่งผลให้รายงานการเงินในภาพรวมของสำนักงานอัยการสูงสุดถูกต้องครบถ้วนสามารถส่งรายงานการเงินให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินกระทรวงการคลังได้ทันเวลาที่กำหนด ,ลดเวลาในการทำงานด้านการตัดโอนเงินเดือนการโอนจัดสรรเงินงบประมาณการบันทึกรายการบัญชีสามารถนำเวลาที่เหลือไปพัฒนางานด้านอื่น ๆ ได้ เเละ เพิ่มระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสียร้อยละ95(ผู้บริหารเจ้าหน้าที่การเงินข้าราชการและผู้รับบริการ)

ทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการสำนักงานอัยการสูงสุดจะดำเนินการเบิกจ่ายเงินเดือนฯ ตามสิทธิที่ข้าราชการพึ่งจะได้รับให้ครบถ้วนถูกต้องเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image