จุรินทร์ดันส่งออก 7.1 ล้านล้านเข้าประเทศ ฝ่า 3 วิกฤต เร่งประกันรายได้ให้เกษตรกร

มัลลิกา เผย จุรินทร์ นำผลักดันส่งออกสร้างรายได้มูลค่า 7.1 ล้านล้านบาทเข้าประเทศ ลุยฝ่า 3 วิกฤตจนทิศทางดีขึ้น พร้อมดัน “ประกันรายได้” ให้เกษตรกรรับส่วนต่างทุกบาทตรงจากบัญชี ไปหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากกู้ชีพฟื้นจากโควิด

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม นางมัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ปฏิบัติภารกิจภารกิจมาร่วม 1ปีครึ่ง ในข้อเท็จจริงนั้นนายจุรินทร์ นำผลักดันการส่งออกหาเงินเข้าประเทศภายใต้ภาวะสงครามการค้า ค่าเงินบาท และโรคระบาดโควิดได้อย่างมุมานะพยายามอย่างยิ่ง และประเทศไทยสามารถทำได้ดีกว่าหลายประเทศเป็นที่สังเกตได้ โดยในปี 2563 ทั้งปีตัวเลขการส่งออกมีมูลค่า 7.1 ล้านล้านบาท แม้ว่าจะเจอทั้งสถานการณ์ค่าเงินบาท สงครามการค้าและภาวะโรคระบาดโควิดทั่วโลก การส่งออกยางพาราปี 2563 มีปัญหา -15.2% แต่เดือนธันวาคม 2563 เดือนเดียว+30.4% เห็นถึงความพยายามในการทำงานอย่างยิ่ง ส่วนการส่งออกผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูปก็ +8.3% ส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว +8.0% ในปี 2563 เช่นกัน โดยภาพรวมการทำงานแบบเข็นครกขึ้นภูเขาเช่นนี้แต่ทั้งปีก็ยัง -5.9% และทิศทางดีขึ้นจัดการปัญหาได้เร็วกว่าหลายประเทศ

” สำหรับปี 2564 เพียงแค่เริ่มเดือนแรกของปี ตัวเลขการส่งออกก็ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจนโดยเฉพาะในเดือนมกราคม 2564 นั้นยางพาราส่งออก 2.38 ล้านตันมูลค่า 1.18 หมื่นล้านบาท น้ำมันปาล์มส่งออก 6,952 ตันมูลค่า 258 ล้านบาท เป็น +342.2% ส่วนยางพาราเป็น +1.1% ด้านผลิตภัณฑ์ยาง +21.4% ยังไม่รวมอื่นๆเป็นต้น ” นางมัลลิกา กล่าว

ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตามตอนสรุปผลงาน 1 ปีรัฐมนตรีของทุกกระทรวงเมื่อปลายปีที่ผ่านมา สำหรับนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงผลงานเฉพาะกระทรวงพาณิชย์กระทรวงเดียวนำทีมภาคเอกชนเซ็นข้อตกลงซื้อขายสินค้า หรือเอ็มโอยู ในฐานะเซลล์แมนประเทศ ผลักดันการส่งออกผ่านเงื่อนไขนี้รวมทั้งกิจกรรมมูลค่า 94,822 ล้านบาท แม้ติดภาวะโควิดทั้งปีแต่ก็สามารถผลักดันการส่งออกตามข้อตกลงนี้ได้กว่าครึ่งและทยอยติดตามผลเรื่อยๆโดยนายจุรินทร์นำทำ Business Matching 231 คู่สร้างพันธมิตรทางการค้ารักษาตลาดเดิมขยายตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศได้แก่ จีน อินเดีย ตุรกี เยอรมนีและสหรัฐอเมริกา รวมมูลค่าดังกล่าวนั้น และตลอดทั้งปี 2563 และต้นปีนี้ก็ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เป็น Online Business Matching ทุกระยะสร้างรายได้เข้าประเทศ

นายจุรินทร์ นำส่งเสริมอุตสาหกรรมดิจิตอลคอนเทนท์สร้างมูลค่าเพียงปีเดียวกว่า 2,000 ล้านบาท ส่งเสริมการค้าออนไลน์ผ่านเว็บไซต์และแพลตฟอร์มของต่างประเทศและสร้างมูลค่าการค้าจากการจัดแสดงสินค้าและคณะผู้แทนการค้าทั้งในและต่างประเทศรวมคำสั่งซื้อกว่า 54,192 ล้านบาท ทั้งผลักดันเศรษฐกิจยุคใหม่โดยผ่านการอบรมพัฒนาผู้ประกอบการยุคใหม่ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์กว่า 13,000 ราย ยังไม่นับรวมกันพัฒนา CEO GenZ รองรับตลาดการค้าแบบใหม่และประจวบเหมาะทันสถานการณ์โควิดพอดี

Advertisement

นอกจากนั้นยังเป็นประธาน RCEP นำการประชุมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคเปิดตลาดเจรจาการค้ากลุ่ม 16 ประเทศซึ่งมีประชากรครึ่งโลกสร้างโอกาสให้กับประเทศไทยเป็นประวัติการเพราะการเจรจาทั้งหมดจะช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้าส่งออกจากไทยทั้งน้ำมันสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก คอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง เคมีภัณฑ์ รถยนต์กับอุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น โดยการเปิดตลาดเจรจาหลังจากพยายามมากกว่า 7 ปีของประเทศไทยนี้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศเป็นอย่างยิ่งเพราะมูลค่าการค้าใน 16 ประเทศนี้รวมกัน 333 ล้านล้านบาทคิดเป็น 29.5% ของมูลค่าการค้าโลก

นอกจากนี้นายจุรินทร์ยังทำโครงการพาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน ซึ่งติดสำรวจความนิยมของประชาชนหลายครั้งตลอดทั้งปีนำลดราคาทุกระยะกว่า 10 ครั้งโดยไม่ใช้งบประมาณแผ่นดินแต่ใช้ความร่วมมือผู้ประกอบการสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่รายย่อยทั่วประเทศลดราคาสูงสุดถึง 80% ช่วยประชาชนในสถานการณ์โควิด

นายจุรินทร์ ยังสร้างมูลค่าเศษกระดาษจนทำให้มีอาชีพซาเล้งขายเศษกระดาษโดยการขึ้นทะเบียนกว่า 1.5 ล้านครัวเรือน มีการติดป้ายราคา ยกระดับการประกอบอาชีพและแก้ปัญหาอุตสาหกรรมกระดาษครบวงจรสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่ายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยซึ่งปัจจุบันดันราคาเศษกระดาษไปถึงกิโลกรัมละไม่ต่ำกว่า 2-3 บาท และในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมาราคาเศษกระดาษที่เข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ยกระดับขึ้นบางจังหวัด 4 บาท บางจังหวัดราคา 5 บาทต่อกิโลกรัม เป็นต้น

นายจุรินทร์ ยังนำกระทรวงพาณิชย์ผลักดันการเปิดด่านการค้าชายแดนซึ่งมีมูลค่าการค้าชายแดนรวมกว่า 1.02 ล้านล้านบาท ทั้งหมดนี้เป็นการเปิดโอกาสให้การส่งออกประเทศไทยไปยังประเทศจีนและอื่นๆได้สะดวกยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็น ไทย-เมียนม่า แม่สอด2 จังหวัดตาก ไทยมาเลเซีย ด่านปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา ไทย-ลาว-เวียดนาม-จีน ด่านผิงเสียง และไทย-ลาว อุบลราชธานี ด่านนาตาล และปากแซง ซึ่งใช้การเจรจาระหว่างประเทศทลายอุปสรรคกรรส่งออกในสถานการณ์วิกฤติ

“นายจุรินทร์ เป็นที่ชื่นชมของภาคเอกชนโดยเฉพาะการตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพาณิชย์ หรือ กรอ.พาณิชย์ ประกอบด้วยสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกโดยดึงเอกชนให้เป็นทัพหน้าส่วนภาครัฐเสริมทัพ บุกตลาดทำงานร่วมกันฟันฝ่าอุปสรรคที่ได้รับผลกระทบอย่างเต็มที่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ผลักดันนโยบาย “เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด” โดยใช้ยุทธศาสตร์”ตลาดนำการผลิต” ร่วมมืออย่างบูรณาการเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยเป้าหมายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ เพิ่มจีดีพีให้ประเทศ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรและผู้ประกอบการทุกระดับ ” ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าว

และการนำโครงการประกันรายได้เกษตรกร มาร่วมรัฐบาลสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกรปลูกพืชหลัก 5 ชนิดของประเทศ ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งหมดนี้ช่วยเกษตรกรในปีแรก 7.29 ครัวเรือน และในปีที่สองนี้จะดูแลเกษตรกรกว่า 7.9 ล้านครัวเรือน อย่างไรก็ตาม งบประมาณที่จ่ายค่าชดเชยส่วนต่างให้กับเกษตรกรโดยตรงเหล่านี้ก็กลับไปหมุนเวียนกระตุ้นเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 7 รอบ ช่วยรองรับและสร้างเสถียรภาพความมั่นคงทางเศรษฐกิจฐานรากของประเทศได้ทันท่วงทีในภาวะที่เราเจอวิกฤตโรคระบาดด้วย แน่นอนว่าโครงการนี้นายจุรินทร์ได้รับความนิยมอย่างมากจากการสำรวจทั้งเกษตรกรและประชาชนไม่ว่าจะเป็นโพลจากสำนักวิชาการใดๆ อันนี้ยังไม่นับที่นายจุรินทร์ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานบอร์ดกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ผลักดันการรับซื้อหนี้คืนโฉนดให้เกษตรกร คืนหลักประกันบรรเทาทุกข์ให้เกษตรกร และทำทันทีในการนำแก้กฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ให้เกษตรกรคล่องตัวในการแก้ปัญหาหนี้สินได้จริงและในปี 2564 นี้ก็มีเป้าหมายเดินหน้าช่วยเกษตรกรโดยการแจกโฉนดคืนให้กับลูกหนี้กองทุนที่ได้รับโอกาสจากนโยบายต่อไป “นางมัลลิกา กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image