‘พช.แม่ฮ่องสอน’ ติดตามการดำเนินงาน ‘โคก หนอง นา พช.’ อ.สบเมย พัฒนาคุณภาพชีวิตปชช.

เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม นายผะอบ บินสะอาด นายอำเภอสบเมย พร้อมด้วยนายอัคริเดช ทองหมั้น พัฒนาการอำเภอสบเมย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) เจ้าหน้าที่อาสาพัฒนา (อสพ.) และนักพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (นพร.) ลงพื้นที่ติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ของแปลง นางอุษาพร ทองพันธ์ พื้นที่จำนวน 3 ไร่ ที่หมู่ที่ 1 บ้านแม่สวด ตำบล แม่สวด อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

นายผะอบ เปิดเผยว่า จากการติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช. ได้มีการดำเนินการปรับพื้นที่ (ขุดบ่อกักเก็บน้ำ) ตามกิจกรรมที่ 2 สร้างพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Household Lab Model for quality of life : HLM) ระดับครัวเรือน ของแปลงนางอุษาพร ทองพันธ์ ซึ่งมีขนาด HLM พื้นที่ 3 ไร่ ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ และตรวจรับงานจ้างปรับพื้นที่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ จะได้ดำเนินการรวมกลุ่ม พัฒนาพื้นที่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนแรงงาน การเอามื้อสามัคคี โดยได้รับการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์จากโครงการฯ เพื่อใช้ดำเนินกิจกรรมต่อไป

นายอัคริเดช กล่าวเพิ่มเติม จากการที่กรมการพัฒนาชุมชนได้มีการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช. ในการน้อมนำแนวทางของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีพระราชปณิธานและพระราชหฤทัยอันแน่วแน่ในการทรงงานเพื่อจะสืบสาน รักษา และต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และแนวพระราชดำริต่างๆ ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของพสกนิกรของพระองค์สืบไป จึงถือเป็นเรื่องสำคัญในการสนองงาน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่พี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงได้ขับเคลื่อนโครงการฯ ให้ประสบความสำเร็จ จากการได้รับจัดสรรงบประมาณเงินกู้จากรัฐบาล โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัด ทั้งสิ้น 103 แห่ง เเบ่งเป็นพื้นที่ระดับตำบล (CLM) : 4 แห่ง เเละพื้นที่ระดับครัวเรือน (HLM) : 99 แห่ง เเละโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 100 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 86 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 14 แห่ง นอกจากนี้ ในส่วนของอำเภอสบเมย มีพื้นที่เป้าหมายดำเนินโครงการฯ ประกอบด้วย โครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 จำนวน 7 แปลง เป็นพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 6 แปลง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 1 แปลง และโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช. จำนวน 5 แปลง เป็นพื้นที่ HLM ขนาดพื้นที่ 1 ไร่ จำนวน 3 แปลง และขนาด 3 ไร่ จำนวน 2 แปลง รวมทั้ง 2 โครงการ เป็นจำนวน 12 แปลง ประกอบกับมีนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) จำนวน 6 คน ซึ่งอำเภอสบเมย ได้มีการขับเคลื่อนโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ สามารถเรียนรู้และน้อมนำองค์ความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฎีใหม่ นำไปใช้ได้จริงให้เกิดรูปธรรมทั้งในพื้นที่ต้นแบบและในชีวิตต่อไป โดยนางอุษาพร ทองพันธ์ กล่าวขอบคุณ กรมการพัฒนาชุมชนที่มีการส่งเสริมการขับเคลื่อนโครงการฯ ส่งผลให้มีการลดรายจ่าย ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว มีอาหารปลอดภัยรับประทานในครัวเรือน เน้นให้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความรักความสามัคคี ผ่านกระบวนการเอามื้อสามัคคี มีการจัดรูปแบบพื้นที่ให้มีลักษณะตามภูมิสังคม และมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพื้นฐานความคิด การฝึกวินัย การลงมือปฏิบัติ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง ทำให้ตนเองมีวินัยและสามารถพึ่งตนเองได้

โอกาสนี้ นายผะอบ นายอำเภอสบเมย ได้มอบแนวทางและเน้นย้ำกับกับกลุ่มเป้าหมายและเจ้าหน้าที่ ที่เข้าร่วมติดตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ โคก หนอง นา พช. นั้น ต้องเร่งดำเนินการตามระเบียบของทางราชการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ทันระยะเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ทำให้เกิดปัญหาความมั่นคงด้านอาหารรวมทั้งปัญหาคนว่างงาน โครงการดังกล่าวฯ จะช่วยสร้างและกระจายรายได้ให้แก่ชุมชนแล้ว ยังสามารถช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ให้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความอยู่รอดและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชน จากการน้อมนำแนวทางของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการพัฒนาฟื้นฟูดิน น้ำ ป่า วิถีวัฒนธรรมของตนเองฟื้นฟูทุนเดิมที่มีอยู่ ให้นำกลับมาใช้ใหม่ ผ่านกลไกการสร้างความสามัคคีโดยการใช้จิตอาสาพัฒนาชุมชน นอกจากนี้ยังเน้นย้ำในการสร้างคน การพัฒนาคน และสร้างพื้นที่การเรียนรู้ระดับตำบล ระดับพื้นที่ต้นแบบฯ เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาคนตลอดชีวิตทุกช่วงวัยก่อให้เกิดผลดีต่อวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชน เป็นการยกระดับเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image