สะพานแห่งกาลเวลา : สถานีวิจัย‘บน’ดวงจันทร์

 

วันเดียวกับที่ยานขนส่งอวกาศ เสินโจว-12 นำนักบินอวกาศจีน 3 คนขึ้นไปใช้ชีวิตระยะยาวบน โมดูลเทียนเหอ ที่เป็นโมดูลหลักของสถานีอวกาศเทียนกงของจีน เมื่อ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา

ที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในรัสเซีย องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (ซีเอ็นเอสเอ) ก็เปิดการแถลงร่วมกับรอสคอสมอส ที่เป็นหน่วยงานด้านอวกาศของรัสเซีย ว่าด้วย โรดแมปŽ ของการร่วมมือกันสร้างและพัฒนา สถานีวิจัยนานาชาติบนดวงจันทร์Ž (International Lunar Research Station-ILRS) ออกมา

เป็นแผนงานการบุกเบิกอวกาศร่วมกันของรัสเซียและจีน ที่สะท้อนให้เห็นถึง ปฏิบัติการเชิงรุกŽ ในการสำรวจอวกาศในอนาคตของทั้งสองประเทศได้อย่างชัดเจน

Advertisement

การแถลงร่วมกันดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของงานประชุมทางวิชาการ โกลบอล สเปซ เอ็กซ์พลอเรชัน คอนเฟอเรนซ์Ž ที่ทางการรัสเซียจัดขึ้น และเป็นการแจกแจงความคืบหน้า หลังจากที่รัสเซียและจีนตกลงร่วมมือกันสำรวจอวกาศเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

แล้วก็ใช้เป็นโอกาสในการ เชิญชวนŽ นานาประเทศให้เข้าร่วมในโครงการที่ว่านี้พร้อมกันไปด้วย

รายละเอียดของโครงการไอแอลอาร์เอสที่ว่านี้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

Advertisement

ระยะแรก ระหว่างปี 2021-2025 เป็นการเตรียมการ โดยอาศัยภารกิจ หุ่นยนต์เพื่อการสำรวจŽ อย่างน้อย 6 ครั้งด้วยกันไปลงยังดวงจันทร์ แบ่งกันรับผิดชอบแบบครึ่งต่อครึ่งเท่ากันระหว่างรัสเซียกับจีน เป้าหมายก็เพื่อ มองหาแหล่งที่ตั้งŽ และ ดำเนินการสำรวจทางวิทยาศาสตร์Ž ที่ต้องการบนพื้นที่ดังกล่าว

ระยะที่สอง ระหว่างปี 2026-2035 เป็นช่วงของการ ก่อสร้างŽ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยานขนส่งวัสดุอุปกรณ์จากโลกไปยังดวงจันทร์อีกหลายเที่ยวบิน เพราะนอกจากจะต้องสร้าง สถานีฐานŽ บนพื้นผิวดวงจันทร์แล้ว ยังจำเป็นต้องสร้างสถานีอวกาศถาวรหรือกึ่งถาวร ที่โคจรอยู่โดยรอบดวงจันทร์อีกด้วย

หลังจากภารกิจขนส่งวัสดุดังกล่าวแล้วเสร็จ ขั้นที่สองของระยะที่สองจะเป็นการก่อสร้าง สถานีพลังงานŽ ทั้งบนพื้นผิวและในวงโคจรของดวงจันทร์, สิ่งปลูกสร้างเพื่อการสื่อสาร, สถานีเพื่อการวิจัยและสำรวจที่สถานีฐานบนดวงจันทร์, สถานีเพื่อการนำเอาทรัพยากรบนดวงจันทร์มาใช้ประโยชน์และเทคโนโลยีเพื่อการสำรวจทางดาราศาสตร์ เป็นต้น

ระยะที่สาม เริ่มตั้งแต่ ปี 2036 เป็นต้นไป จะเป็นช่วงเวลาที่นำ นักบินอวกาศŽ ไปลงบนดวงจันทร์ และ ภารกิจประจำเริ่มต้นขึ้นŽ

ภารกิจที่เป็นกิจวัตรที่ว่านั้น ประกอบไปด้วย การวิจัยและสำรวจดวงจันทร์, การตรวจสอบเทคโนโลยีต่างๆ ว่าสามารถนำมาใช้งานจริงบนดวงจันทร์ได้หรือไม่ เหล่านี้ล้วนเป็นภารกิจที่ต้องมี มนุษย์Ž จากโลกไปลงบนดวงจันทร์อยู่หลายเที่ยวด้วยกัน เพื่อทำหน้าที่ก่อสร้าง สถานีวิจัยนานาชาติŽ ขึ้นบนพื้นผิว
ทำนุบำรุง และก่อสร้างเพิ่มเติม เพื่อขยายสถานีวิจัยดังกล่าวออกไป หากจำเป็นต้องทำ

ภายใต้ภารกิจจำเพาะในการก่อสร้างไอแอลอาร์เอสที่ว่า จีนและรัสเซียต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องของเทคโนโลยีเพื่อการสำรวจอวกาศและเทคโนโลยีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีในการสำรวจดวงจันทร์และ อวกาศห้วงลึกŽ, เทคโนโลยีในการสื่อสารผ่านดาวเทียม, เทคโนโลยีในการผลิตชิ้นส่วนประกอบอวกาศยาน และเทคโนโลยีในการสร้างและปฏิบัติการ ดาวเทียมวิทยาศาสตร์Ž หรือ สเปคเตอร์-เอ็มŽ
ที่รัสเซียเป็นผู้เสนอไว้ รวมถึงเทคโนโลยีในการนำร่องและกำหนดตำแหน่งด้วยดาวเทียม เพื่อเพิ่มพูนขีดความสามารถของดาวเทียมของทั้งสองประเทศ

เพื่อ โรดแมปŽ ที่ว่านี้ สถานีอวกาศ เทียนกงŽของจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ทั้งในแง่ของการสร้างประสบการณ์และเป็น ห้องทดลองในห้วงอวกาศŽ สำหรับทดลองหรือพิสูจน์เทคโนโลยีต่างๆ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้บนดวงจันทร์ต่อไป

ไอแอลอาร์เอสŽ ของจีนและรัสเซียยังคงต้องใช้เวลาอีกนานไม่น้อยกว่าจะปรากฏเป็นจริง

กระนั้นคนในองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ของสหรัฐอเมริกาก็ยืนยันว่า นี่เป็นปฏิบัติการ เชิงรุกŽ ครั้งใหญ่

และเป็นการท้าทายต่อ อาร์เทมิสโปรแกรมŽ บนดวงจันทร์ของนาซาโดยตรงทีเดียว

ไพรัตน์ พงศ์พานิชย์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image