‘คนเมืองอุบลฯ’ คิกออฟ เอามื้อสามัคคี ปลูกกระชาย ฟ้าทะลายโจร ป้องโควิด-19 ผ่าน’โคก หนอง นา พช.’

‘คนเมืองอุบลฯ’ คิกออฟ เอามื้อสามัคคี ปลูกกระชาย ฟ้าทะลายโจร ป้องโควิด-19 ผ่าน’โคก หนอง นา พช.’

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย นายนคร ศิริปริญญานันท์ นายอำเภอเมืองอุบลราชธานี นายบุญสม สีลาไหม พัฒนาการอำเภอเมืองอุบลราชธานี เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอเมืองอุบลราชธานี นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ในพื้นที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี ร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี และ Kick off ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร การปลูกพืชสมุนไพร เช่น กระชายฟ้าทะลายโจร เพื่อป้องกันและบรรเทาโรคโควิด-19 พร้อมส่งมอบแปลงพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตําบล (Community Lab Model for quality of Life : CLM) แปลง นายวราวุฒิ วงค์มั่น บ้านพรานบุญ หมู่ที่ 13 ตำบลหนองขอน อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี สมัครเข้าร่วมโครงการฯ 15 ไร่ ใช้แบบมาตรฐานของกรมการพัฒนาชุมชน สัดส่วนแบบ 1:3 ประเภทดินร่วนปนทราย โดยได้รับการสนับสนุนการปรับพื้นที่จากหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 53 (นพค.53 ศรีสะเกษ) สำนักงานพัฒนาภาค 5 หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ในการสร้างฐานเรียนรู้ที่จะดำเนินการในพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต (Community Lab Model for quality of life : CLM) จำนวน 9 ฐาน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ ฐานการเรียนรู้คนหัวเห็ด ฐานการเรียนรู้คนเอาถ่าน ฐานการเรียนรู้คนรักษ์แม่ธรณี ฐานการเรียนรู้คนติดดิน ฐานการเรียนรู้คนรักษ์น้ำ ฐานการเรียนรู้คนรักษ์แม่โพสพ ฐานการเรียนรู้คนมีไฟ ฐานการเรียนรู้หัวคันนาทองคำ และมีกิจกรรมเด่นในแปลงเป็นศูนย์เรียนรู้โดยสาธิตการพึ่งพาตนเองโดยใช้หลักกสิกรรมธรรมชาติ

สำหรับจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการอนุมัติงบเงินกู้จากทางรัฐบาล ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” จำนวน 576,592,500 บาท โดยมีพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดฯ ทั้งสิ้น 3,960 แห่ง ถือว่ามากที่สุดในประเทศไทย เเบ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับตำบล (Community Lab. Model for quality of life : CLM)(CLM) : 68 แห่ง เเละแปลงครัวเรือนตัวอย่างพื้นที่ครัวเรือนต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับครัวเรือน (Househole Lab Model for quality of life : HLM) : 3,892 แห่ง เเละโครงการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กลุ่มเป้าหมาย พื้นที่เรียนรู้ชุมชน จำนวน 791 แห่ง แบ่งเป็น พื้นที่ 1 ไร่ 620 แห่ง และพื้นที่ 3 ไร่ จำนวน 171 แห่ง ในส่วนของอำเภอเมืองอุบลราชธานี มีพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” งบเงินกู้ COVID ในพื้นที่ทั้งสิ้น 47 แปลง แยกเป็น HLM 46 แปลง (พื้นที่ 1 ไร่ 13 แปลง, พื้นที่ 3 ไร่ 33 แปลง ) เเละ CLM 1 แปลง (พื้นที่ 15 ไร่ 1 แปลง) และมีการจ้างงานนักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่จำนวน 32 คน

โอกาสนี้ นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี ได้พบปะกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมว่า “ขอขอบคุณทุกท่านที่ได้มาร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี และ Kick off การน้อมนำแนวพระราชดำริของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหาร สู่ปฏิบัติการ 90 วัน ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร รอบ 2 ให้ต่อเนื่องในวันนี้ โดยปลูกผักสวนครัว เช่น กล้วย 5 หน่อ มะละกอ 5 ต้น พืชสวนครัว อื่นๆ โดยเฉพาะ ขิง ตะไคร้ กะเพรา โหระพา บวบ รวมถึงพืชสมุนไพร เช่น กระชาย ฟ้าทะลายโจร ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว กะเพรา โหระพา และพริก โดยเฉพาะการปลูกกระชาย ขิง ฟ้าทะลายโจร นั้น ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันโควิด-19 และบรรเทาอาการเบื้องต้นของไข้หวัด หรือป้องกันการติดเชื้อได้ โดยพบว่าสารสกัดของกระชายขาว สามารถแสดงฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อนอกจากนี้ยังช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 เช่นเดียวกับ ฟ้าทะลายโจร ซึ่งกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ให้การรับรองแล้วว่ามีสารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ที่สามารถรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ โดยให้รับประทานฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณสารแอนโดรกราโฟไลด์ วันละ 180 มิลลิกรัม เป็นเวลา 5 วัน จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย จะเห็นได้ว่าสมุนไพรไทยมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์อย่างมากมายจนทั่วโลกให้การยอมรับ จึงเป็นจุดแข็งของประเทศไทยที่สามารถนำมาช่วยเหลือให้พี่น้องประชาชนรอดพ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้เป็นอย่างดี สุดท้ายนี้ ผมขอฝากให้ทุกท่านได้ร่วมกันสร้างความมั่นคงด้านอาหารด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวและพืชสมุนไพร ให้เกิดความต่อเนื่อง ให้เป็นทั้งอาหารและยารักษาโรคต่างๆ หลายโรค รวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน และความรักห่วงใยพี่น้องประชาชน จากท่านสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ผมเชื่อมั่นว่า หากทุกครัวเรือนในประเทศไทยมีการปลูกพืชสมุนไพ จะเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่พี่น้องประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้ในท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 นี้ได้อย่างปลอดภัย และต่อเนื่องจนเป็นนิสัยหรือวัฒนธรรมสร้างความมั่นคงด้านอาหารด้วย”

ด้าน นายนคร ศิริปริญญานันท์ นายอำเภอเมืองอุบลราชธานี ได้พบปะกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และเจ้าของแปลงว่า “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” แปลง CLM นี้ เป็นนโยบายของรัฐบาล โดยความร่วมมือในการดำเนินงานระหว่างกรมการพัฒนาชุมชน โดยสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ตลอดจนหน่วยงานภาคีในระดับพื้นที่ ขอชื่นชมการปรับพื้นที่ๆ เป็นไปตามแบบแปลนและระยะเวลาที่กำหนด และขอแสดงความยินดีกับท่านเจ้าของแปลง ซึ่งท่านได้ผ่านการอบรมและได้รับความรู้ภาคทฤษฎีมาแล้ว เมื่อขุดปรับพื้นที่เสร็จแล้ว จึงต้องน้อมนำไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่และดำเนินการสร้างฐานเรียนรู้ทั้ง 9 ฐาน ให้เป็นฐานเรียนรู้ที่เกิดประโยชน์กับประชาชน ในการเรียนรู้ทักษะและฝึกปฏิบัติตามที่ตนเองสนใจ นำไปสู่การดำรงชีวิตและการพึ่งตนเอง ขอให้ท่านทำอย่างต่อเนื่องจนเป็นวิถีชีวิต และเป็นต้นแบบในการขยายผล โดยหน่วยงานก็ติดตามและสนับสนุนการดำเนินงานเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องด้วย ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านมีความสุขความเจริญยิ่งขึ้นไป” นายนคร กล่าวด้วยความมุ่งมั่นหลังจากร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี ปลูกต้นไม้ และปล่อยปลาในบ่อ “โคก หนอง นา พช.”

ขณะที่ นายวราวุฒิ วงค์มั่น เจ้าของแปลง CLM เปิดเผยว่า “การจัดกิจกรรมเอามื้อสามัคคีในครั้งนี้ ได้ดำเนินการตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน และหลักกสิกรรมธรรมชาติ ประกอบด้วย การปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น กล้วย 5 หน่อ มะละกอ 5 ต้น พืชสวนครัว อื่นๆ โดยเฉพาะ ขิง ตะไคร้ กะเพรา โหระพา บวบ รวมถึงพืชสมุนไพร เช่น กระชาย ฟ้าทะลายโจร ขิง ข่า ตะไคร้ มะกรูด มะนาว กะเพรา โหระพา และพริก โดยเฉพาะการปลูกกระชาย ขิง ฟ้าทะลายโจร นั้น ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันโควิด-19 และบรรเทาอาการเบื้องต้นของไข้หวัด หรือป้องกันการติดเชื้อได้ รวมถึงการห่มดินด้วยฟาง เพื่อบำรุงดิน และปกป้องหน้าดิน การปลูกต้นไม้บริเวณริมบ่อและคลองไส้ไก่ ตลอดจนการปรับพื้นที่และภูมิทัศน์ให้สวยงาม โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างเคร่งครัด ผมมีความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรมโครงการฯ อย่างมาก ขอขอบคุณรัฐบาล กรมการพัฒนาชุมชน และหน่วยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย ที่นำโครงการดีๆ เช่นนี้มาช่วยเหลือประชาชน รวมถึงทำให้นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) ลูกหลานในชุมชนได้มีงานทำ และประสานงานและดูแลกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image