ยกฟ้องผบ.ตร.-ก.ตร. กรณี พล.ต.อ.วิระชัยฟ้อง ไม่นำหลักเกณฑ์มาเลื่อนให้เป็นระดับ ผบช.เมื่อปี51

แฟ้มภาพ

ศาลปกครองสูงสุดยกฟ้อง วิระชัยฟ้อง ผบ.ตร.-ก.ตร.ไม่นำหลักเกณฑ์มาเลื่อนให้เป็นระดับ ผบชเมื่อปี51 ชี้ข้อกฎหมายที่เเก้ไม่มีผลย้อนหลังชอบเเล้ว ไม่ต้องเยียวยา

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ศาลปกครอง ถนนเเจ้งวัฒนะ ศาลปกครองสูงสุดอ่านคำพิพากษา คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คดีหมายเลขเเดงที่ อบ. 203/2564ที่พล.ต.อ. วิระชัย ทรงเมตตา ยื่นฟ้องผบ.ตร.เเละคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ, ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-2 1-2เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคําสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีที่
ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลางคดีฟ้องและเพิ่มเติมฟ้องว่าเดิมสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในระดับผู้บังคับการถึงผู้บัญชาการไว้ตามหนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติด่วนลง 26 ก.ค.47 และแนวทางปฏิบัติการใช้อำนาจคัดเลือกหรือแต่งตั้งของผู้มีอำนาจตามหนังสือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สรุปได้ว่าผู้ที่จะเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการจะต้องดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2ปี (นับเฉพาะระยะเวลาการดำรงตำแหน่งระดับรองผู้บัญชาการเท่านั้น) และ ได้ยึดถือแนวทางปฏิบัติดังกล่าวเรื่อยมาจนกระทั่งผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 และมีคุณสมบัติครบถ้วนเพื่อเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นเป็นผู้บัญชาการ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ออกกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรถึงจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยข้อ 11 วรรคหนึ่งของกฎ ก.ตร. ดังกล่าวกำหนดให้ผู้ที่จะเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการจะต้องดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการมาแล้วไม่น้อยกว่า 2ปีและข้อ 11วรรคสองยังกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมว่าเฉพาะรองผู้บัญชาการที่เคยได้รับการเลื่อนตำแหน่งในตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่ม-ลดได้ในตัวเองมาก่อนจะต้องมีอายุราชการรวมไม่น้อยกว่า 28 ปีด้วยผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอนแก่นเพื่อขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนข้อ 11 วรรคสองของกฎ ก.ตร. ดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมตั้งแต่ระดับรองสารวัตรมาใช้เป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทั่วไปในการคัดเลือกหรือแต่งตั้งข้าราชการตำรวจเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นหรือแก้ไขเป็นหลักเกณฑ์การเลื่อนตำแหน่งดังกล่าวให้ใช้บังคับเฉพาะแก่ข้าราชการตำรวจที่ขอเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่ม-ลดได้ในตัวเองภายหลังจากวันที่กฎ ก.ตร. นี้มีผลบังคับใช้แล้วเท่านั้นต่อมาศาลปกครองขอนแก่นมีคำพิพากษาเพิกถอนข้อ 11วรรคสองของกฎ ก.ตร. ดังกล่าวและให้ยกเลิกข้อความตามตารางข้อ 11 วรรคหนึ่งของกฎ ก.ตร. ฉบับเดียวกันเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมตั้งแต่ระดับรองสารวัตรจนถึงตำแหน่งรองผู้บัญชาการไม่น้อยกว่า 28 ปีสำหรับตำแหน่งรองผู้บัญชาการเลื่อนเป็นผู้บัญชาการทั้งนี้ให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่24 มิ.ย.50 ซึ่งเป็นวันที่กฎ ก.ตร. ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

ผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาดังกล่าวจึงได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดซึ่งศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาว่าการออกกฎ ก.ตร. ข้อ 11 วรรคหนึ่งและวรรคสองดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมและขัดต่อหลักความเสมอภาคเป็นการออกกฎที่เกินความจำเป็น ยังเป็นการออกกฎที่มีผลกระทบต่อสิทธิในการเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นของผู้ฟ้องคดีจนเกินสมควรจึงเป็นการออกกฎโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองขอนแก่นเป็น ให้เพิกถอนกฎ ก.ตร. ดังกล่าวโดยให้การเพิกถอนมีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคำพิพากษา

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าหากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2ไม่นำหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการแต่งตั้งจะทำให้ผู้ฟ้องคดีมีโอกาสเจริญก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการตำรวยผู้ฟ้องคดีต้องได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการเหมือนกับบุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการเมื่อปี พ.ศ.2551 และปัจจุบันมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

Advertisement

ผู้ฟ้องคดีจึงสมควรที่จะได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย จึงมีหนังสือถึงประธาน ก.ตร. และผู้ถูกฟ้องที่ 2 เพื่อขอความเป็นธรรม

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรมเนื่องจากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาเพิกถอนกฎ ก.ตร. ดังกล่าวแล้วผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2จึงต้องรับผิดชอบกรณีดังกล่าวโดยตรง

กล่าวคือถ้าผู้ฟ้องคดีได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการในวาระการแต่งตั้งปี พ.ศ. 2551 ผู้ฟ้องคดีก็จะเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบที่จะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในวาระการแต่งตั้งปี พ.ศ.255 และจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในวาระการแต่งตั้งปี พ.ศ. 2557จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น

Advertisement

โดยขอให้ศาลพิพากษา1.ให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการโดยได้รับสำดับอาวุโสเทียบเท่าผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการในวาระการแต่งตั้งประจำปี (ผู้ที่ยังรับราชการอยู่) 2.คืนสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายที่ผู้ฟ้องคดีพึงมีพึงได้ พ.ศ. ๒๕๕๑

คดีนี้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าในวาระการแต่งตั้งประจำปี พ.ศ.2551ถึงแม้ผู้ฟ้องคดีจะมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งระดับรองผู้บัญชาการครบ 2 ปี แต่เนื่องจากผู้ฟ้องคดีเคยได้รับการแต่งตั้งเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นในตำแหน่งควบปรับระดับเพิ่ม-ลดได้ในตัวเองมาก่อนผู้ฟ้องคดีจึงต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมตั้งแต่ระดับรองสารวัตรถึงรองผู้บัญชาการไม่น้อยกว่า 28ปีตามข้อ 11วรรคสองของกฎ ก.ตร. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการแต่งตั้งและโยกย้ายข้าราชการตำรวจระดับสารวัตรถึงจเรตำรวจแห่งชาติและรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2549 เมื่อผู้ฟ้องคดีมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งดังกล่าวน้อยกว่า 28 ปีผู้ฟ้องคดีจึงขาดคุณสมบัติในการที่จะได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการในวาระการแต่งตั้งประจำปี พ.ศ. 2551 การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่พิจารณาแต่งตั้ง ให้ผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการในวาระการแต่งตั้งประจำปี พ.ศ. 2551จึงชอบแล้ว ส่วนกรณีศาลปกครองมีคำพิพากษาให้เพิกถอนข้อ 11วรรคสองของกฎ ก.ตร. ฉบับดังกล่าวถือเป็นกรณีผู้ฟ้องคดีมีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญหรือไม่นั้นเห็นว่าศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองขอนแก่นเป็นให้เพิกถอนข้อ 11 วรรคสองของกฎ ก.ตร. ฉบับดังกล่าวโดยให้การเพิกถอนมีผลตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาซึ่งต่อมามีการประกาศผลแห่งคำพิพากษาในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2556เท่ากับถือว่าศาลปกครองสูงสุดไม่ได้มีคำพิพากษาเพิกถอนข้อ 11วรรคสองของกฎ ก.ตร. ฉบับดังกล่าวโดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่หลักเกณฑ์ในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับ แต่อย่างใดดังนั้นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีอ้างคำพิพากษาศาลปกครองจึงมิใช่พยานหลักฐานใหม่ที่ทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ แต่อย่างใด

เมื่อศาลได้วินิจฉัยไว้ตอนต้นแล้วว่าในวาระการแต่งตั้งประจำปี พ.ศ. 2551 ผู้ฟ้องคดีไม่มีคุณสมบัติการที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองทบทวนหรือพิจารณาใหม่ จึงชอบแล้ว สำหรับกรณีผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองคืนสิทธิประโยชน์ เห็นว่าเมื่อศาลได้วินิจฉัยไว้ในตอนต้นแล้วว่าชอบด้วยกฎหมายแล้วศาลจึงไม่อาจสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองคืนสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามคำขอได้และพิพากษายกฟ้อง

ผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุด

ศาลปกครองสูงสุด พิเคราะห์แล้วเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงตามกรณีนี้เป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกคำสั่งใหม่เพื่อแต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้บัญชาการให้มีผลย้อนหลังไปนับตั้งแต่ปี 2551ภายหลังจากพ้นกำหนดระยะเวลาการอุทธรณ์หรือร้องทุกข์ไปแล้วโดยผู้ฟ้องคดีอ้างว่ากฎ ก.ตร. ที่เป็นเหตุทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการในปี 2551ดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนไปแล้วตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดคดีหมายเลขแดงที่อ. 477/2556 คำขอของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวจึงไม่ใช่คำร้องทุกข์ แต่เป็นคำขอให้มีการพิจารณาออกคำสั่งทางปกครองใหม่ตามมาตรา 54 แห่งพรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และโดยที่มาตรา54วรรคหนึ่ง (4) แห่งพรบ.ดังกล่าวได้บัญญัติให้เจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนหรือแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครองที่พ้นกำหนดอุทธรณ์ได้ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใด และต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี

ซึ่งจากข้อเท็จจริงในคดีนี้แม้ว่าข้อ 11วรรคสองของกฎ ก.ตร.ดังกล่าว ซึ่งเป็นข้อกฎหมายที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการในการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตำรวจประจำปี 2551 ได้ถูกเพิกถอนตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดในคดีหมายเลขแดงที่อ.477/2556 ในภายหลังก็ตาม แต่คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าวได้กำหนดคำบังคับให้การเพิกถอนมีผลไปในอนาคตตั้งแต่วันที่มีการประกาศผลแห่งคำพิพากษาในราชกิจจาฯเป็นต้นไป

ดังนั้นในช่วงเวลาระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการตำรวจประจำปี 2552ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนที่จะมีการประกาศเพิกถอนกฎ ก.ตร. ดังกล่าว ย่อมต้องถือได้ว่ากฎ ก.ตร. ดังกล่าวยังมีผลใช้บังคับอยู่โดยชอบด้วยกฎหมาย

มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2ในปี ที่ออกตามกฎ ก.ตร. ดังกล่าวในช่วงเวลานั้นจึงเป็นคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วและเมื่อข้อกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงไปไม่ได้มีผลย้อนหลังจึงไม่ใช่กรณีที่ข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟ้องคดี

มติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ปฏิเสธไม่แต่งตั้งให้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้บัญชาการโดยให้มีผลย้อนหลังตามคำขอของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นมติหรือคำสั่งทางปกครองที่ชอบด้วยกฎหมายผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1จึงไม่มีหน้าที่จะต้องออกคำสั่งใหม่และคืนสิทธิประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ผู้ฟ้องคดีตามคำขอท้ายฟ้องข้อ 2อีกการที่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องนั้นศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วยพิพากษายืน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image