ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนยกระดับฟาร์มเอาท์เล็ท 70 แห่งทั่ว ปท. เป็น ‘วัน สต๊อป เซอร์วิส’

ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนยกระดับฟาร์มเอาท์เล็ท 70 แห่งทั่ว ปท. เป็น ‘วัน สต๊อป เซอร์วิส’

 

 

ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน (Farm Outlet) 70 แห่ง ทั่วประเทศ ผนึกกำลังขยายช่องทางการตลาดเพื่อความสะดวกรวดเร็ว แก่ผู้จัดจำหน่ายและผู้บริโภค จัดตั้งคลัสเตอร์ฟาร์มเอาท์เล็ท (Cluster Farm Outlet) ระดับภาค เพื่อเป็น One Stop Service สินค้าเกษตรชุมชน ครอบคลุม 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สนับสนุนการเชื่อมโยงเพื่อยกระดับศูนย์ฯ Farm Outlet ให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าเกษตรที่มีประสิทธิภาพ มีศักยภาพสามารถแข่งขันในตลาดได้ ผ่าน “โครงการส่งเสริมและพัฒนาศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน Farm Outlet เพื่อยกระดับให้เป็นศูนย์คลัสเตอร์” ซึ่งมีเป้าหมาย ในการส่งเสริมการจัดตั้ง “ศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนระดับภาค (Cluster) จำนวน 4 แห่ง ” เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการศูนย์ฯ ในเครือข่าย โดยรวมกลุ่มผู้ประกอบการศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน Farm Outlet ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันให้มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันอย่างเป็นระบบครบวงจร ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) ให้มีความเหมาะสมกับบริบทในพื้นที่และตรงตามความต้องการของชุมชนในพื้นที่

Advertisement

โดยศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนระดับภาค (Cluster) จำนวน 4 แห่ง ประกอบด้วย 1.โอทอป น่าน (ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าโอทอป ประชารัฐ จังหวัดน่าน) คลัสเตอร์ภาคเหนือ 2.ร้านหนูจวบ OTOP & Farm Outlet จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คลัสเตอร์ภาคกลาง 3.ร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอาท์เล็ท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร คลัสเตอร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 4.ร้านทางไทย Farm Outlet (บ้านทางไทย โฮมสเตย์) จังหวัดสงขลา คลัสเตอร์ภาคใต้

ทั้งนี้ได้มีการจัดประชุมระหว่างคลัสเตอร์ และเครือข่ายฟาร์มเอาท์เล็ทของแต่ละภาคเพื่อหารือระดมความคิดเห็น โดยได้ผลตอบรับเป็นที่น่าพอใจ นายประทุม จิณเสน ผู้บริหารศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้าฟาร์มเอาท์เล็ท จังหวัดน่าน คลัสเตอร์ภาคเหนือ กล่าวว่า เป็นที่น่ายินดีกับการขับเคลื่อนของฟาร์มเอาท์เล็ท ในครั้งนี้ ทำให้เรามองเห็นทางออกหลายๆ อย่างโดยเฉพาะภาคเหนือเราเกษตรกรมักจะเจอปัญหาสินค้า ล้นตลาด เช่น ลำใยที่ขายไม่ได้ราคาจุดคุ้มทุน โครงการนี้จึงทำให้เรามีความหวังในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้กับพี่น้องเกษตรกร

“ทั้งนี้ผมขอเชิญชวนผู้ประกอบการ ทั้งเกษตรกร มาร่วมมือกันเพื่อเชื่อมโยงให้ถึงเป้าหมาย อย่างเช่นที่เราเคยทำโครงการ ‘ลำใยน่านแลกเปลี่ยนทุเรียนปัตตานี’ ได้ผลลัพธ์อย่างน่าพอใจ ที่น่านเรานอกจากสินค้าผักผลไม้สดแล้ว เรายังมีสินค้าเด่นอีกหลายอย่าง เช่น มะไฟจีนอบแห้ง เมล็ดกาแฟ สาหร่ายน้ำจืด เกลือภูเขายานวดฯ ท่านที่สนใจติดต่อมาได้ที่ 82/1 เชิงสะพานพัฒนาภาคเหนือ ถนนมหาวงศ์ เทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน ติดต่อคุณรัตน์ชยา ชินายศ โทร 090-132-0250 ยินดีต้อนรับทุกท่านครับ” นายประทุมกล่าว

Advertisement

นายตติย อัครวานิชตระกูล จากร้านหนูจวบ OTOP & Farm Outlet อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นศูนย์คลัสเตอร์ของภาคกลาง จะขอใช้ประสบการณ์ กลยุทธ์การบริหาร ทั้งการประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาด้านการผลิต การตลาด เพื่อยกระดับให้ฟาร์มเอาท์เล็ท เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งเติบโตได้อย่างมั่นคง

“ท่านใดที่มีโอกาสมาหัวหินขอเชิญแวะที่ร้านหนูจวบของเรานะครับ มีสินค้าเลื่องชื่อที่พลาดไม่ได้เช่นขนมปังชีสเชคไส้สับปะรด รวมถึงมะม่วงกวน มะพร้าวเคลือบช็อกโกแลต น้ำว่านหางจระเข้ หมูเส้นปรุงรสฯ และสินค้าเด่นดีที่คัดเลือกจากทั่วประเทศ พิกัดเราอยู่ที่ 71/17 ถนนเพชรเกษม ตำบลหัวหิน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร 086-336-6363” นายตติยกล่าวเชิญชวน

นายนนทกร ชรารินทร์ ผู้บริหารร้านออร์แกนิค ฟาร์มเอาท์เล็ท อุทยานบัว จังหวัดสกลนคร คลัสเตอร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ความเห็นว่า จากการประชุมร่วมกันระหวางคลัสเตอร์ฯ ทำให้ผมมองเห็นภาพ ถึงการเชื่อมโยงทั้ง 4 ภาค เราจะมีเส้นทางขนส่งสินค้าจากภาคเหนือสู่อีสาน สู่ภาคกลาง ลงภาคใต้ แล้วขากลับก็ขนส่งสินค้าจากภาคใต้กระจายเข้าสู่เส้นทางเดิม ซึ่งครอบคลุมทุกภาค

“ที่จริงแล้วการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนสินค้าหากทำได้ตามเป้าเป็นสิ่งดีมากๆ ถ้าคิดเฉพาะแค่ภาคอีสานผมว่าน่าจะดีมากแล้วนะ ถ้าเชื่อมโยงกันทุกภูมิภาคก็จะมีความมั่นคงยิ่งขึ้น ในส่วนของทางร้านเรามีสินค้าเด่นขึ้นชื่อ เช่น ข้าวฮาง ข้าวกล้อง ข้าวขาว อินทรีย์, จมูกข้าวฮางงอก พร้อมชงดื่ม, ผงกล้วยพร้อมชงดื่ม, ยาหม่องสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เถาเอ็นอ่อน, น้ำหมากเม่า เนื้อแผ่นโคขุนโพนยางคำ ผ้าครามฯ ทางเราพร้อมยินดีเจรจาธุรกิจเพื่อชุมชนครับ ติดต่อได้ที่ โทร 081-737-7449 ได้เลยครับ” นายนนทกรให้ความเห็น

นายวิชาญ ช่วยชูใจ ผู้บริหารร้านทางไทย Farm Outlet (บ้านทางไทยโฮมสเตย์) คลัสเตอร์ภาคใต้กล่าว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจนตกต่ำทั้งโลก จากปัญหาโควิด 19 ผู้ประกอบการต่างยากลำบากบ้างก็ปิดกิจการลง บ้างก็สู้ต่อด้วยความอดทน การเชื่อมโยงรวมตัวกันของผู้ประกอบการฟาร์มเอาท์เล็ทครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่ดีในการดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดและเลี้ยงองค์กรได้ โดยเรามีช่องทางออนไลน์ผ่านเว็ปไขต์ของคลัสเตอร์เองเพื่อที่จะติดต่อเจราจาเชื่อมโยงสินค้าระหว่างเครือข่ายกันทั้ง 4 ภาค
“เมื่อกรมการค้าภายใน เห็นความสำคัญให้การสนับสนุนแล้ว ทางเราก็พร้อมที่จะร่วมมือร่วมใจ รวมพลังกันผลักดันให้เห็นผลสำเร็จ ในส่วนของร้านทางไทย Farm Outlet เรามีสินค้าเด่นที่ภูมิใจนำเสนอคือ ปลากะพงเค็มสามน้ำ, น้ำพริกปลากะพง, กุ้งหวาน, น้ำผึ้งชันโรง, เซรั่มน้ำผึ้งชันโรง, ข้าวยำปักษ์ใต้ เครื่องแกงปักษ์ใต้ กะปิฯ ทางเราจะคัดเลือกสินค้าที่เด่นจริงๆ มานำเสนอ ติดต่อได้ที่ 5/1 หมู่4 บ้านบางหยี ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา โทร 080-136-6568 ครับ” นายวิชาญกล่าวสรุป

กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ให้การสนับสนุนศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนระดับภาค (Cluster) หวังเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้า รวมถึงเกษตรกรรายย่อย ได้มีช่องทางจำหน่ายสินค้า เกิดการกระจายรายได้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการดำเนินงาน รวมถึงยกระดับมาตรฐานศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชน Farm Outlet ให้มั่นคงและยั่งยืน

 

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image