‘ฟาร์มเฮ้าส์’ รับมอบ 2 หุ่นยนต์นักฆ่า-เชื้อโรค มจพ. ต่อยอดความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรม

ฟาร์มเฮ้าส์žรับมอบ 2 หุ่นยนต์นักฆ่า-เชื้อโรค มจพ. ต่อยอดความร่วมมือจากสถาบันการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรม

ไม่ใช่ครั้งแรกของการจับมือร่วมกันจากสถาบันการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรม

เมื่อมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) โดย ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มจพ. และ ศ.ดร.ธีรวุฒิ บุณยโสภณ นายกสภามหาวิทยาลัย พร้อมคณาจารย์ ส่งมอบนวัตกรรม หุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอย (ULV) ฆ่าเชื้อโรคและไวรัสŽ และ หุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVCŽ ให้กับ อภิชาติ ธรรมมโนมัย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) และ อภิเศรษฐ ธรรมมโนมัย กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท เพรซิเดนท์เบเกอรี่ จำกัด (มหาชน) ภายใต้แบรนด์ ฟาร์มเฮ้าส์Ž เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เมื่อวันที่ 12ตุลาคมที่ผ่านมา ที่ห้องประชุม 215 อาคารอเนกประสงค์ และลานพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 4 มจพ.

Advertisement

ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มจพ. กล่าวว่า ช่วงโควิดเรามีโอกาสนำองค์ความรู้ภายในมหาวิทยาลัยมาสร้างสิ่งประดิษฐ์มากมาย เช่น เครื่องผลิตโอโซน ฯลฯ ตามนโยบายมหาวิทยาลัยที่มุ่งช่วยเหลือสังคม รวมทั้งการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในภาคอุตสาหกรรม จึงนำนักศึกษาเข้ามาช่วยสร้าง หุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอย (ULV) ฆ่าเชื้อโรคและไวรัสŽ กับ หุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVCŽ ซึ่งการส่งมอบหุ่นยนต์ทั้งสองนี้ให้กับบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ เป็นการต่อยอดความร่วมมือของสองหน่วยงานจากสถาบันการศึกษาสู่ภาคอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ การตกลงทำความร่วมมือระหว่างบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ กับ มจพ. อธิการบดี มจพ.บอกว่า เกิดขึ้นมายาวนานแล้ว เป็นนโยบายของมหาวิทยาลัยที่จะนำความรู้จากการเรียนการสอนและงานวิจัยไปบูรณาการร่วมกับภาคอุตสาหกรรม โดยบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ ถือเป็นพาร์ตเนอร์สำคัญ มจพ.ส่งมอบหุ่นยนต์ทั้งหุ่นยนต์พ่นฆ่าเชื้อและหุ่นยนต์ฉายแสงยูวีซี เพื่อให้ทางบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้การสนับสนุนทั้งงานวิจัยและเป็นสถานที่ให้นักศึกษาฝึกงาน ได้ใช้ประโยชน์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในเชิงป้องกัน เพื่อให้ในไลน์ผลิตของบริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ เกิดความปลอดภัย

Advertisement

เราเป็นมหาวิทยาลัยที่สั่งสมองค์ความรู้ ต่อยอดงานวิจัย หุ่นยนต์นี้พื้นฐานมาจากการที่เราได้แชมป์โลกหุ่นยนต์กู้ภัยมาแล้วถึง 8 สมัย เรานำองค์ความรู้เหล่านี้มาต่อยอดประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ให้หุ่นยนต์เข้าไปขับเคลื่อนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้คนต้องเข้าไปสัมผัสโดยตรงในพื้นที่ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อŽ ศ.ดร.สุชาติบอก และว่า

เรามองว่าในยุทธศาสตร์ของชาติภาคอุตสาหกรรมเองก็ต้องแข่งกับภาคอุตสาหกรรมในต่างประเทศ การนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ๆ เข้ามาใช้ในภาคอุตสาหกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็น เรามีองค์ความรู้ เรามีบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์ ทางด้านวัสดุ ทางด้านเครื่องกลไฟฟ้า ฯลฯ ไม่ด้อยไปกว่าในต่างประเทศ เพียงแต่จะบูรณาการองค์ความรู้อย่างไรให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมŽ

การส่งนักศึกษาไปฝึกงาน เป็นยุทธศาสตร์หลักของมหาวิทยาลัย การเรียนการสอนต้องใช้ประโยชน์ได้จริง บัณฑิตที่จบจาก มจพ.ต้องปฏิบัติได้จริง เป็นการให้นักศึกษาได้เห็นปัญหาจริงๆ อาจารย์เองก็ได้นำสิ่งเหล่านี้มาปรับเข้ากับการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ถือว่าวิน-วินด้วยกันทั้งคู่ และเป็นการลดช่องว่างระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรมให้มากที่สุด จับมือพัฒนาไปด้วยกันทั้งในด้านของการผลิตบัณฑิต การทำงานวิจัยที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงŽ อธิการบดี มจพ.บอก

ทางด้าน อภิชาติ ธรรมมโนมัย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ กล่าวขอบคุณกับการส่งมอบหุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอยฆ่าเชื้อโรคและหุ่นยนต์ฉายแสงยูวีซี พร้อมกับแสดงความชื่นชมว่า

ในฐานะผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ด้านอาหารเราจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจว่าสินค้าของเรามีกระบวนการผลิตที่ปลอดเชื้อ ซึ่งเดิมเรามีกระบวนการด้านสุขอนามัยอยู่แล้ว แต่หุ่นยนต์ทั้งสองเข้ามาช่วยดูแลทำความสะอาดล่วงหน้าในส่วนที่คนมองไม่เห็น ทางมหาวิทยาลัยไม่เพียงใช้วิชาการต่อยอดเป็นนวัตกรรมมาช่วยสังคมแก้ปัญหาและยังเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจของเราได้ ซึ่งไม่สามารถประเมินมูลค่าได้Ž

ขณะที่ อภิเศรษฐ ธรรมมโนมัย กรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ กล่าวว่า บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ มีการลงบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับ มจพ.ต่อเนื่องมา 2 ครั้งแล้ว ครั้งละ 3 ปี ได้รับการสนับสนุนจาก มจพ.ส่งอาจารย์มาช่วยดูแลเรื่องเทคโนโลยี เรื่องเครื่องกล เรื่องไฟฟ้า ฯลฯ ทางเราก็เคยขอความช่วยเหลือให้ส่งนักศึกษามาช่วยติดตั้งเครื่องจักรใหม่ นอกจากนักศึกษาจะได้เรียนรู้ เราก็ได้คนที่มีความรู้ด้านเทคนิค ทั้งยังเคยร่วมมือกันผลิตตู้เวนดิ้งแมชชีน และได้ใช้จริงเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ถือว่าตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม และนักศึกษาได้ปฏิบัติจริงด้วย

การที่รับนักศึกษาที่มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและสามารถปฏิบัติได้จริง ช่วยพัฒนาไลน์ผลิตของเราได้ต่อยอดมากขึ้น เดิมทีไลน์ผลิตของเราส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรจากต่างประเทศ เมื่อเราให้นักศึกษาเข้ามาเรียนรู้ ได้ทำโปรเจ็กต์กับนักศึกษา นอกจากเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษาได้ฝึกงานในสถานที่จริง ยังหนุนเสริมให้เกิดนวัตกรรมฝีมือคนไทย นักศึกษาได้เห็นการทำงานของเครื่องจักรต่างประเทศ เห็นข้อดีข้อเสียที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดให้ดีขึ้น โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำชี้แนะให้ใช้งานได้จริงŽ อภิเศรษฐบอก

ส่วนหุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอยฆ่าเชื้อโรคและหุ่นยนต์ฉายแสงยูวีซีกรรมการรองผู้อำนวยการ บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ เล่าว่า ได้รับความกรุณาจากท่านอธิการบดี มจพ. โดยทางมหาวิทยาลัยติดต่อมาว่ามีโครงการพัฒนาหุ่นยนต์ฆ่าเชื้อ และได้มอบให้กับหลายหน่วยงาน เราเป็นหนึ่งในสถานประกอบการที่ได้รับ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อในไลน์ผลิต โรงอาหาร ออฟฟิศสำนักงาน หรือศูนย์กระจายสินค้าก็สามารถนำไปใช้ได้ หุ่นยนต์ทั้งสองนับเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นไม่เพียงต่อด้านสุขอนามัย ยังรวมถึงด้านภาพลักษณ์ขององค์กรด้วย

สำหรับประสิทธิภาพของ หุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอย (ULV) ฆ่าเชื้อโรคและไวรัสŽ มีคุณสมบัติในการสร้างไอพ่นละอองฝอยละเอียดเฉลี่ย 50 ไมครอน สามารถพยุงตัวในอากาศได้นาน ละอองฝอยน้ำยาเคลื่อนที่ไปไกล 5-7 เมตร ฉีดพ่นได้ต่อเนื่อง 3 ชั่วโมง ครอบคลุมพื้นที่ 37,680 ตารางเมตรต่อ 50 นาที

ในขณะที่ หุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVCŽ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ รวมทั้งเชื้อโควิด-19 ด้วยรังสียูวีซีควบคุมด้วยระบบสัญญาณคลื่นวิทยุใช้การบังคับด้วยรีโมตคอนโทรลที่ออกแบบระบบวงจรขึ้นเองเป็นการฆ่าเชื้อที่อาศัยเทคนิค UVGI ฉายฆ่าเชื้อโรคที่ฟุ้ง/ลอยมากับอากาศและฉายฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ระยะของการฉายยิ่งใกล้ยิ่งมีความรับรังสีสูง ใช้เวลาน้อย ให้ปริมาณ
รังสีสูง เพียงพอกับการทำลายเชื้อ COVID-19 ได้ ด้วยกลไกการใช้รังสียูวีฆ่าเชื้อโรคนั้นจะเกิดการยับยั้งการขยายพันธุ์ของเชื้อจุลินทรีย์ หรือทำให้ไวรัสไม่สามารถจำลองตนเองได้

หุ่นยนต์ไอพ่นละอองฝอย (ULV) ฆ่าเชื้อโรคและไวรัส และหุ่นยนต์ประดู่แดงฉายแสง UVC ได้ถูกนำมาทดสอบและนำไปใช้งานจริงในภาคสนามโดยฉีดพ่นเพื่อป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อโควิด-19 ให้กับสถานที่ต่างๆ อาทิ ศูนย์พักคอยสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 วัด สถานที่ประชุม สถานที่ทำงาน สำนักงาน สนามกีฬา และโรงพยาบาลต่างๆ

ถือเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม ตอบโจทย์ความต้องการใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง สร้างสรรค์เพื่อสังคม ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สุชาฎา ประพันธ์วงศ์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image