‘จ.อุบลฯ’ นำร่อง ผนึกพลัง บวร ขับเคลื่อนเขตเศรษฐกิจพอเพียง ยึดโมเดลศก. BCG พัฒนาปท.

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย มอบหมายให้ ผศ.พิเชฐ โสวิทยสกุล และ รศ.วรวรรณ โรจนไพบูลย์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย ร่วมประชุมชี้แจงการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วย โมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 จังหวัดอุบลราชธานี ผ่านระบบ Zoom Cloud Meeting

ในการนี้ ได้รับความเมตตาจาก พระพิพัฒน์วชิโรภาส ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงมหาดไทย และผู้อำนวยการศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ รวมไปถึง นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นายสำเนียง สิมมาวัน ท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี นายสันติพงษ์ สมศรี นายอำเภอเขื่องใน นางสาววิจิตร หลงชิน ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางวริชา เสาทอง พัฒนาการอำเภอเขื่องใน หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตลอดเครือข่าย SAVEUBON และผู้นำชุมชนในพื้นที่ หรือภาคีเครือข่าย “บวร” (บ้าน วัด ราชการ) เข้าร่วมการประชุมฯ เพื่อรับฟังแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ณ ห้องประชุมศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ให้การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) : โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นวาระแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป และให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) พิจารณากำหนดและดำเนินแผนงาน/โครงการต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570

ประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยอาศัยฐานความเข้มแข็งของประเทศอันประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม ส่งเสริมและพัฒนาประเทศไทยเป็นเจ้าของสินค้าและบริการมูลค่าสูง ที่ยกระดับมูลค่าในห่วงโซ่การผลิตสินค้าและบริการ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ช่วยทลายข้อจำกัด ให้เกิดการก้าวกระโดดของการพัฒนาต่อยอด สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระจายรายได้ โอกาส และความมั่นคงแบบทั่วถึง (Inclusive growth) รวมถึงการรักษาฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพให้สมดุล ด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” ซึ่งเป็นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ไปพร้อม ๆ กันเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างสมดุล เป็นธรรมและยั่งยืน

การประชุมฯในครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอข้อมูลในการดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย โดยจัดเขตเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบของ โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “โมเดลเศรษฐกิจ BCG” ซึ่งเป็นการสนับสนุนงบประมาณในรูปแบบของการที่รัฐจัดสรรพื้นที่ให้แก่ผู้ด้อยโอกาสและขาดแคลนที่ทำกิน ได้รับการพัฒนาเป็นเขตเศรษฐกิจพอเพียงที่จะสร้างงาน พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ร่วมกันแก้ปัญหาพื้นที่และขจัดปัญหาความยากจนได้อย่างแท้จริง ไปยังทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยอยู่ระหว่างการร่างคู่มือการดำเนินงาน พร้อมเสนอรับการสนับสนุนงบประมาณจากทางรัฐบาล ซึ่งจังหวัดอุบลราชธานี นั้น เป็นจังหวัดแรกหรือนำร่องของประเทศ ที่ได้ทำการจัดประชุม เพื่อเตรียมพร้อมและรับทราบแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการฯ นอกเหนือจากจังหวัดนครนายก ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายต้นแบบในการขับเคลื่อนโครงการฯ

สำหรับที่ประชุมฯจังหวัดอุบลราชธานี พระพิพัฒน์วชิโรภาส ได้นำเสนอพื้นที่ ซึ่งมีความพร้อมในการดำเนินงานและสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสำคญนี้ ได้แก่ พื้นที่รอบบริเวณศูนย์พุทธธรรมสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ป่าดงใหญ่วังอ้อ ตำบลหัวดอน และบ้านเอ้ ตำบลก่อเอ้ อำเภอเขื่องใน, วัดป่าศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ ตำบลห้วยยาง อำเภอโขงเจียม, ดอนป่าติ้ว บ้านโนนมะเขือ ตำบลกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น และพื้นที่อำเภอต่างๆ ที่น่าสนใจ ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เข้าร่วมประชุมฯ

ขณะที่นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า จำแนกแนวทางความร่วมมือและการจัดสรรพื้นที่ เป็น 3 แนวทางคือ 1)การรับสมัครบุคคลทั่วไปเพื่อเป็นการขยายผลและต่อยอดกับโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ในเขตเศรษฐกิจพอเพียง 2)การกำหนดพื้นที่ในลักษณะเขตพื้นที่เพื่อให้ผู้ด้อยโอกาสสามารถมาใช้ชีวิตตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ และ 3)การบูรณาการขับเคลื่อนงานร่วมกับส่วนราชการต่างๆ ทุกหน่วยงานในภาพรวมของจังหวัด โดยไม่แบ่งว่าเป็นงานของกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น นอกจากนั้น ยังความร่วมมือคณะอนุกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้สนับสนุนงานนโยบายสำคัญให้ประสบผลสำเร็จสมกับที่ได้รับการชื่นชมและยกย่องให้เป็นต้นแบบในขับเคลื่อนงานต่างๆ ไปยังทั่วประเทศ

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image