‘ตรีนุช’ สุ่มตรวจ ร.ร.ชลบุรี พบโจทย์ใหญ่ เล็งยกระดับคุณภาพการศึกษา

ตรีนุชสุ่มตรวจ ร..ชลบุรี พบโจทย์ใหญ่ เล็งยกระดับคุณภาพการศึกษา

เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน น..ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ ตนลงพื้นที่ จ.ชลบุรี โดยสุ่มตรวจเยี่ยมโรงเรียนแบบไม่แจ้งล่วงหน้า ซึ่งตนได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมโรงเรียน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านหนองเขิน และโรงเรียนเทพศิรินทร์ ชลบุรี (อุทกวิทยาคม) เพราะตนอยากเห็นว่าหลังจากเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่ละโรงเรียนได้บริหารจัดการเรียนการสอนภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 อย่างไร ซึ่งโรงเรียนบ้านหนองเขิน เป็นโรงเรียนคุณภาพชุมชน อยู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ชลบุรี เขต 1  มีนักเรียน 403 คน พบว่าโรงเรียนดำเนินการตามมาตรการที่ศธ. และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดอย่างเคร่งครัด เช่น การสลับวันมาเรียน มีการเว้นระยะห่าง เป็นต้น อีกทั้ง ครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว จึงดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไซต์ เพื่อให้เด็กไม่เสียโอกาสการเรียนรู้ ซึ่งโรงเรียนสามารถทำความเข้าใจ และทำให้ผู้ปกครองเกิดความมั่นใจส่งลูกมาเรียน เพราะโรงเรียนดำเนินการตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด

..ตรีนุช กล่าวต่อว่า ส่วนโรงเรียนเทพศิรินทร์ ชลบุรี เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) เขต 18 (ชลบุรีระยอง) เปิดสอนระดับชั้นม.1-.6 มีข้าราชการครู 7 คน ธุรการ 1 คน และมีครูอัตราจ้าง 2 คน มีนักเรียน 90 คน แต่ยังเปิดสอนออนไลน์อยู่ ตนได้ทำความเข้าใจกับผู้บริหารและครูว่า หากโรงเรียนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเข้มงวด สามารถจัดการเรียนการสอนแบบเว้นระยะห่างได้ ครู นักเรียนได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ก็สามารถเปิดสอนออนไซต์ได้  นอกจากนี้ตนยังพบโจทย์ใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไขเพื่อพัฒนาการศึกษา เนื่องจากโรงเรียนดังกล่าวเป็นโรงเรียน Stan Alone และจากที่ทราบข้อมูลพบว่ามีโรงเรียนคุณภาพที่อยู่ใกล้เคียงกันมีความพร้อมสามารถส่งเด็กไปเรียนได้ อีกทั้งครู ผู้ปกครองและชุมชนก็เห็นด้วยพร้อมที่จะย้ายนักเรียนไปเรียนโรงเรียนอื่น เพื่อให้เด็กมีโอกาสที่ดีมากกว่าเดิม ซึ่งตนจะรับโจทย์นี้ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่าจะสามารถควบรวม แก้ไขและช่วยเหลือโรงเรียนลักษณะนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาได้อย่างไร ซึ่งการควบรวมโรงเรียนจะต้องดูบริบท ความต้องการของประชาชน ชุมชนในพื้นที่ด้วย

ด้านนายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า โจทย์สำคัญที่สพฐ. ต้องไปผลักดันคือ จะทำอย่างไรให้โรงเรียนมีขนาดที่พอเหมาะ มีความพอดีที่จะสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาได้ ซึ่งตนมองว่าโรงเรียนควรมีนักเรียน 120 คนขึ้นไป และไม่ควรมีนักเรียนเกิน 3,000 คน เพื่อทำให้การศึกษามีคุณภาพ หากสามารถทำให้โรงเรียนมีนักเรียนอยู่ระหว่าง 120-3,000 คนได้  จะทำให้การศึกษามีคุณภาพ มีประสิทธิภาพครบทุกมิติ สพฐ.จะเริ่มพัฒนาโรงเรียนคุณภาพของตำบล และโรงเรียนคุณภาพชุมชนขึ้นมา ซึ่งตนมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ทุกเขต ไปกำหนดโซนนิ่งหรือกลุ่มเครือข่ายการพัฒนาคุณภาพโดยมีเป้าหมายใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

เมื่อเขตพื้นที่ฯ ไปกำหนดโรงเรียนหนึ่งเป็นศูนย์กลาง และยกระดับเป็นโรงเรียนคุณภาพตำบล หรือโรงเรียนคุณภาพชุมชน จะให้โรงเรียนโดยรอบนำนักเรียนมาเรียนร่วมกัน ใช้ทรัพยากรร่วมกัน จัดสรรครูให้มีครูครบชั้น  ซึ่งจะทำให้ สพฐ.ประหยัดงบประมาณ บุคลากร การบริหารจัดการ เพราะเมื่อ สพท.กำหนดโซนนิ่ง จัดกลุ่มโรงเรียนได้แล้ว สพฐ.จะสนับสนุนงบประมาณไปพัฒนาโรงเรียนที่เป็นศูนย์กลางต่อไป เพราะในอนาคตผมมองว่ารูปแบบการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงไป การศึกษาไม่ควรจะแบ่งโรงเรียนใคร โรงเรียนมัน แต่ควรจะจัดโซนเพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน หากสามารถทำตามที่กำหนดไว้ได้ ดังนั้นแม้ว่าจะไม่มีการควบรวมโรงเรียน ก็สามารถมาใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ เพราะเราตอบโจทย์อันเดียวกันคือต้องการให้มีคุณภาพนายอัมพร กล่าว 

Advertisement

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image