พระแก้วมรกต พบที่เชียงราย ฝีมือช่างล้านนา ไม่มาจากอินเดีย

พระแก้วมรกต พบที่เชียงราย

ฝีมือช่างล้านนา ไม่มาจากอินเดีย

รายงานโดย ผู้สื่อข่าวพิเศษ


Advertisement

(ซ้าย) พระแก้วมรกต ลายเส้นวาดจากภาพถ่ายเก่า ในหนังสือ The Land of the White Elephant ของ Frank Vincent ผู้เดินทางเข้ามาเมืองไทยเมื่อ ค.. 1871 (.. 2414) พิมพ์ครั้งแรกที่ลอนดอนเมื่อ ค.. 1873 (.. 2416) (ขวา) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (ครองราชย์ระหว่าง พ.. 2394-2411)

พระแก้วมรกตพบที่เมืองเชียงราย เป็นฝีมือช่างลาวล้านนา ไม่ใช่ฝีมือช่างอินเดีย

เราจะขอกล่าวเรื่องราวพระแก้วมรกตนั้น ตั้งต้นแต่ครั้งที่ได้ความเป็นแน่ซึ่งผู้ฟังคัดค้านมิได้ ให้ท่านฟัง…” [พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4]

Advertisement

ฝีมือช่างที่ทำพระพุทธรูปพระองค์นี้นั้นเล่า เมื่อพิจารณาเทียบเคียงดู ก็เห็นเป็นฝีมือช่างที่เอกทีเดียวในครั้งหนึ่งคราวหนึ่ง จะเป็นฝีมือช่างข้างอินเดีย คือเมืองเบงคอละราฐสุรัฐ แลเมืองแขกพราหมณ์ข้างมัชฌิมประเทศ ที่ไทยเรียกเมืองเทศนั้นก็มิใช่เลย

อนึ่งจะเป็นฝีมือสิงหฬ มอญ พม่า เขมร และไทยเหนือ และจีนก็มิใช่ดูฝีมือไม่ใกล้เคียงคล้ายคลึงกันกับพระพุทธรูปซึ่งเป็นฝีมือช่างในเมืองทั้งปวงที่ออกชื่อมาเลย ถ้าจะว่าเป็นฝีมือเทวดาดังตำนานว่าก็เห็นว่าฝีมือเทวดา คงจะผิดกว่าฝีมือช่างมนุษย์ทั้งปวงไปทีเดียว

เมื่อเปรียบเทียบไปโดยละเอียด ดูเหมือนว่าจะเป็นฝีมือช่างลาวเหนือโบราณ ข้างเมืองเชียงแสน เห็นคล้ายคลึงมากกว่าฝีมือช่างเมืองอื่น แลถึงจะเป็นช่างที่เมืองลาวก็จะเป็นช่างดีช่างเอกทีเดียว มิใช่เลวทรามด้วยเป็นของงามดีเกลี้ยงเกลามากอยู่ไม่หยาบคาย

[ตำนานพระแก้วมรกต สำหรับอาลักษณ์อ่านในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม]

พระแก้วมรกต ถูกอัญเชิญขึ้นประดิษฐานบนหลังช้าง เคลื่อนขบวนออกจากเมืองเชียงราย (จิตรกรรมเรื่องรัตนพิมพวงศ์ เขียนขึ้นใน สมัย ร.4 ประดับเหนือกรอบหน้าต่างวัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ)

้านเมืองที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต

พระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่เมืองต่างๆ นับแต่แรกพบในพระเจดีย์ที่เมืองเชียงรายดังต่อไปนี้

1. เมืองเชียงราย

ตั้งแต่ พ..- ถึง พ.. 1979

2. เมืองลำปาง (32 ปี)

ตั้งแต่ พ.. 1979 ถึง พ.. 2011

3. เมืองเชียงใหม่ (85 ปี)

ตั้งแต่ พ.. 2011 ถึง พ.. 2096

4. เมืองหลวงพระบาง (12 ปี)

ตั้งแต่ พ.. 2095 ถึง พ.. 2107

5. เมืองเวียงจันท์ (215 ปี)

ตั้งแต่ พ.. 2017 ถึง พ.. 2322

6. กรุงธนบุรี (5 ปี)

ตั้งแต่ พ.. 2322 ถึง พ.. 2327

7. กรุงรัตนโกสินทร์

ตั้งแต่ พ.. 2327 ถึงปัจจุบัน

แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

ระยะแรก ประดิษฐานที่เดิมอยู่ฝั่งกรุงธนบุรี (.. 2325-2327)

ระยะต่อมา ย้ายไปประดิษฐานอยู่ฝั่งกรุงเทพฯ (.. 2327-ปัจจุบัน)

1. อยู่วัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์)

2. อยู่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพฯ

ฝีมือช่างล้านนา เชียงรายพะเยา

พระแก้วมรกตเป็นฝีมือช่างเชียงรายพะเยา สมัยล้านนา พ.. 1900 จากงานวิจัยของ ศักดิ์ชัย สายสิงห์ (คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) พบหลักฐานเป็นพระพุทธรูปหินทราย (แบบพระแก้วมรกต) จำนวนมาก ดังนี้ 1. . เวียงชัย จ. เชียงราย (เขตติดต่อ อ. เมืองเชียงราย) 2. . เมืองฯ จ. พะเยา (แพร่หลายไปทั่วลุ่มน้ำอิง)

(ซ้าย) เศียรพระพุทธรูปหินทราย วัดศรีโคมคำ อ. เมืองฯ จ. พะเยา

(กลาง) ลายเส้นเศียรพระพุทธรูปหินทราย วัดศรีโคมคำ อ. เมืองฯ จ. พะเยา

(ขวา) ลายเส้นเศียรพระพุทธรูปไม่ทำเม็ดพระศก เปรียบเทียบกับพระแก้วมรกต

พระแก้วมรกต คุ้มครองกรุงเทพฯ

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์ นักปราชญ์ของกรมศิลปากร อธิบายด้วยหลักฐานโบราณคดีว่าพระแก้วมรกตเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองปกป้องรักษากรุงเทพฯ ให้พ้นจากผีร้ายภัยคุกคามจากภายนอก มิให้กล้ำกรายเข้าเมือง

หันทางทิศตะวันออก ตรงกับประตูผี (ประตูหามศพออกไปวัดสระเกศ)

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถ่ายจากเครื่องบินโดย Peter Williams Hunt เมื่อ พ.. 2489 (ภาพจากหนังสือกรุงเทพฯ 2489-2539 ของกรมศิลปากร พ.. 2539)

แผนผังแสดงแนวทางจากหน้าโบสถ์วัดพระแก้ว ผ่านวัดสุทัศน์และประตูผี ไปยังวัดสระเกศ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image