กสศ.เปิดเครื่องมือสร้างความเสมอภาค หยุดการสูญเสียเด็กทั้งรุ่น แนะทุกฝ่ายร่วมฟื้นฟูการเรียนรู้

กสศ.เปิดเครื่องมือสร้างความเสมอภาค หยุดการสูญเสียเด็กทั้งรุ่น แนะทุกฝ่ายร่วมฟื้นฟูการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดแถลงข่าว พลังฐานข้อมูล เครื่องมือสร้างความเสมอภาคสู่สังคม ปิดทุก GAP “Learning Loss สู่ Learning recovery” หยุดการสูญเสียเด็กทั้งรุ่น (Lost Generation) : ดึงพลังทุกฝ่ายร่วมฟื้นฟูการเรียนรู้  ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้จัดการกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวว่า กสศ. ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการประเมินและออกแบบนโยบาย (RIPED) มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พัฒนาระบบฐานข้อมูลและงานวิจัยเพื่อชี้ให้เห็นถึงในสถานการณ์สำคัญของกลุ่มเด็กปฐมวัย ทั้งระบบฐานข้อมูลเด็กปฐมวัยแบบกลุ่มตัวอย่างซ้ำ  ซึ่งเริ่มต้นเก็บมาตั้งแต่ปี 2558 และระบบฐานข้อมูลสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษาของเด็กปฐมวัย โดยพบว่าโรคโควิด-19  ส่งผลกระทบเป็นรายบุคคลทำให้เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย (Learning Loss) และทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาขยายกว้างออกไปอีก ซึ่งเรารอไม่ได้อีกแล้ว ไม่เช่นนั้นประเทศจะต้องสูญเสียเด็กไปทั้งรุ่น หรือ Lost Generation  

กสศ.  มีเจตนารมณ์ที่ต้องการให้เครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือของประเทศ ซึ่งเก็บข้อมูลลงลึกรายบุคคลและนำเสนอออกมาเป็นรายจังหวัด ในการเฝ้าระวังสถานการณ์ของประชากรกลุ่มสำคัญคือ เด็กปฐมวัย โดยเครื่องมือนี้ได้ถูกใช้ตามวัตถุประสงค์แล้ว อันเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เมื่อได้จัดทำข้อมูลอย่างเป็นระบบบนฐานงานวิชาการทำให้เราพบว่า โควิเ-19 ไม่เพียงส่งผลกระทบเป็นรายบุคคลที่เกิดภาวะการเรียนรู้ถดถอย แต่ยังทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาขยายกว้างออกไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรานำข้อมูล School Readiness มาวิเคราะห์ร่วมกับฐานข้อมูลนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษ และผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านของผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และการประเมินคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์มาจาก สพฐ. นั้นทำให้รู้ว่า เรารอไม่ได้อีกแล้ว ไม่เช่นนั้นประเทศจะต้องสูญเสียเด็กไปทั้งรุ่น หรือ Lost Generation ดังนั้น กสศ. พร้อมใช้พลังข้อมูล พลังเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมร่วมแก้วิกฤตสถานการณ์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามา เพื่อที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษา ให้เด็กและเยาวชนก้าวสู่ชีวิตที่มีคุณภาพอย่างยั่งยืนดร.ไกรยส กล่าว

 รศ.ดร.วีระชาติ กิเลนทอง ผอ. RIPED กล่าวว่า RIPED ได้ดำเนินงานร่วมกับ กสศ. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและสำรวจสถานะความพร้อมในการเข้าสู่ระบบการศึกษา (Thailand School Readiness Survey: TSRS) เก็บข้อมูลก่อนเกิดโควิดปี 2563 เทียบกับปี 2565 ที่โควิดระบาดหนัก มีข้อค้นพบที่น่าสนใจคือ การปิดสถานศึกษาในช่วงการะบาดของโควิด-19 ส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะการเรียนรู้ถดถอยกับเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจน ทำให้เด็กมีโอกาสอย่างมีนัยสำคัญ เและส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษาของเด็กปฐมวัยเพิ่มขึ้นอย่างมากอีกด้วย ขณะที่พ่อแม่ผู้ปกครองอ่านหนังสือให้เด็กน้อยลง อาจเป็นเพราะเด็กมีหนังสือในบ้านน้อย ซึ่งหนังสือส่วนใหญ่จะมาจากการที่ได้ไปโรงเรียน หรือพ่อแม่ต้องทำงานจึงไม่มีเวลาอ่านให้ลูกฟัง ส่วนการติดตามเด็กคนเดิมอย่างต่อเนื่องพบว่า ช่วงโควิด เด็กทำการบ้านน้อยลงเรื่อยๆ การเรียนรู้ด้วยตนเองลดลง แต่เด็กกลับใช้เวลากับการเล่นอินเตอร์เน็ต เกม มากขึ้น ด้านทักษะ

ข้อเสนอของผมในการแก้ไขปัญหาระยะเร่งด่วนคือ การที่ภาครัฐควรกำหนดนโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้เด็กได้เรียนนานขึ้นเพื่อชดเชยเวลาที่หายไป เช่น การเปิดสอนช่วงภาคฤดูร้อน โดยสอนทักษะที่เด็กขาดหายไป เช่น การอ่าน ภาษา คณิตศาสตร์ และไม่บังคับให้มาเรียน โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าพ่อแม่ที่ทำงานหาเช้ากินค่ำ ยินดีที่จะส่งลูกมาเรียน ดีกว่าให้ลูกต้องไปอยู่ในตลาดหรืออยู่บ้าน เพราะครอบครัวที่มีฐานะดี ก็ส่งลูกเรียนซัมเมอร์หรือเรียนพิเศษเช่นกันรศ.ดร.วีระชาติ กล่าว

Advertisement

 ดร.สวัสดิ์ ภู่ทอง รองเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) กล่าวว่า การกำหนดนโยบายในภาพรวมของประเทศ ต้องอาศัยข้อมูลที่ชัดเจน ซึ่งในส่วนของงานวิจัยดังกล่าวตนเห็นว่าเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก ที่ควรนำเสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องดูในรายละเอียดคือ ข้อมูลระดับจังหวัด เนื่องจากบางจังหวัดจะมีข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคลและรอบด้านทั้งด้านสุขภาพ การศึกษา ขณะที่บางจังหวัดก็ไม่มีข้อมูล หรือมีแบบแบ่งส่วน เนื่องจากเรามีหลายหน่วยงานที่ดูแลเด็ก เช่น สธ.ดูแลด้านสุขภาพ ศธ.ดูแลด้านการศึกษาและใน ศธ.ก็มีการแบ่งระดับการศึกษา ตั้งแต่ ก่อนปฐมวัย อนุบาล การศึกษาภาคบังคับ การอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา ซึ่งและส่วนก็มีกฎหมายการศึกษาของตนเอง ดังนั้นการฟื้นฟูการเรียนรู้ของเด็กให้ได้ผลนั้นทจะค้องมีการบูรณาการการทำงานของทุกหน่วยงาน และกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นซึ่งจะดูแลเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม

ด้าน ผศ.ดร.ศิริวรรณ  ฉัตรมณีรุ่งเจริญ คณบดีครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ภูเก็ต กล่าวว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่การจัดการเรียนสอนต้องมีการยกระดับแบบแบบฉับพลัน รวมทั้งกระบวนการผลิตครูฝึกหัดและพัฒนาครูประจำการในช่วงของการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศการเรียนรู้ที่ห้องเรียนมิใช่ที่โรงเรียนแต่เป็นที่บ้าน และครูมิใช่ผู้สอนท่านเดียวแต่มีทีมสอนคือผู้ปกครอง ความท้าทายคือ จะปรับเปลี่ยนระบบการผลิตครูที่เน้นการใช้ห้องเรียนเป็นที่บ่มเพาะนักศึกษาร่วมกับการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่โรงเรียนนั้นไม่เพียงพอต่อการสถานการณ์โลกที่ได้รับผลกระทบจนเปลี่ยนแปลงไปแล้ว ขณะนี้บริบทของโรงเรียนที่แตกต่างกันทั้งในเรื่องความพร้อมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง ดังนั้นการพัฒนาครูประจำการให้มีความพร้อมในองค์ความรู้ ทักษะและคุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 เสมือนการติดอาวุธให้กับครูฝึกหัดที่อยู่ในระบบการผลิต และครูประจำการที่อยู่ในสถานศึกษาให้เป็นครูที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง มีการเรียนรู้ตลอดเวลา ฉลาดรู้เรื่องเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมในชุมชนได้โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image