รมว.เกษตรฯ ติดตามโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา

กรมชลประทาน มั่นใจโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลาระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาได้สูงสุด ประมาณ 1,665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มั่นใจป้องกันบรรเทาอุทกภัยได้

วันนี้(31ต.ค.65) ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดสงขลา ณ สถานีสูบน้ำบางหยี โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อ.บางกล่ำ จ.สงขลา โดยมี นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน นายการุณ แปลงรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่16 นายรุทธิ์ อินนุพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่16 นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างขนาดกลางที่16 และผู้เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่

VIDEO CONTENT AVERTISEMENT

สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เป็นโครงการที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งอำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสงขลา ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 2531 มูลค่าความเสียหายประมาณ 4,000 ล้านบาท ปี 2543 มูลค่าความเสียหายประมาณ 14,000 ล้านบาท และในปี 2553 มูลค่าความเสียหายประมาณ 10,490 ล้านบาท เมื่อรวมมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเขตพื้นที่เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในจังหวัดสงขลา คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมหลายหมื่นล้านบาท

กรมชลประทาน จึงได้พิจารณาดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ โดยการปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ประกอบด้วย การขยายก้นคลองจากเดิม 24 ม. เป็น 70 ม. ลึก 7 ม. ความยาว 20.937 กม. ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 แบบบานโค้งขนาด 12.50 x 7.50 เมตร จำนวน 3 ช่อง ก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 แบบบานตรงขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 8 ช่อง และก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยีพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 15 ลบ.ม./วินาที จำนวน 6 เครื่อง รวมอัตราการสูบน้ำสูงสุด 90 ลบ.ม./วินาที ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากเดิมที่สามารถระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาในอัตรา 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุดรวมกันประมาณ 1,665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งยังเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้งประมาณ 5.00 ล้าน ลบ.ม. ด้วย

ADVERTISMENT

ทั้งนี้ ความก้าวหน้าของงานก่อสร้างปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 พร้อมอาคารประกอบ โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 99.32 ของแผนฯ ปัจจุบันคลองระบายน้ำ ร.1 มีศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมั่นใจได้ว่าในช่วงฤดูฝนของปี 2565 โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา จะสามารถใช้ป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างเต็มประสิทธิภาพ
บรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา

กรมชลประทาน มั่นใจโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา สามารถระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาได้สูงสุด ประมาณ 1,665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มั่นใจใช้ป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงได้

ADVERTISMENT

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการบริหารจัดการน้ำในจังหวัดสงขลา ณ สถานีสูบน้ำบางหยี โครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อ.บางกล่ำ จ.สงขลา โดยมี นายชูชาติ รักจิตร รองอธิบดีกรมชลประทาน นายการุณ แปลงรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่16 นายรุทธิ์ อินนุพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่16 นายสิริพล รักษนาเวศ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างขนาดกลางที่16 และผู้เกี่ยวข้องร่วมลงพื้นที่

สำหรับโครงการบรรเทาอุทกภัยหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เป็นโครงการที่มีความสำคัญในการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งอำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงในจังหวัดสงขลา ต้องประสบกับปัญหาอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง สร้างความเสียหายให้กับชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ปี 2531 มูลค่าความเสียหายประมาณ 4,000 ล้านบาท ปี 2543 มูลค่าความเสียหายประมาณ 14,000 ล้านบาท และในปี 2553 มูลค่าความเสียหายประมาณ 10,490 ล้านบาท เมื่อรวมมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเขตพื้นที่เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในจังหวัดสงขลา คิดเป็นมูลค่าความเสียหายรวมหลายหมื่นล้านบาท

กรมชลประทาน จึงได้พิจารณาดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) ขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ โดยการปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 ประกอบด้วย การขยายก้นคลองจากเดิม 24 ม. เป็น 70 ม. ลึก 7 ม. ความยาว 20.937 กม. ก่อสร้างประตูระบายน้ำหน้าควน 2 แบบบานโค้งขนาด 12.50 x 7.50 เมตร จำนวน 3 ช่อง ก่อสร้างประตูระบายน้ำบางหยี 2 แบบบานตรงขนาด 6 x 6 เมตร จำนวน 8 ช่อง และก่อสร้างสถานีสูบน้ำบางหยีพร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 15 ลบ.ม./วินาที จำนวน 6 เครื่อง รวมอัตราการสูบน้ำสูงสุด 90 ลบ.ม./วินาที ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำจากเดิมที่สามารถระบายน้ำได้ 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพิ่มเป็น 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และเมื่อระบายน้ำร่วมกับคลองอู่ตะเภาในอัตรา 465 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะสามารถเพิ่มศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุดรวมกันประมาณ 1,665 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมทั้งยังเป็นแหล่งน้ำสำรองในช่วงฤดูแล้งประมาณ 5.00 ล้าน ลบ.ม. ด้วย

ทั้งนี้ ความก้าวหน้าของงานก่อสร้างปรับปรุงคลองระบายน้ำ ร.1 พร้อมอาคารประกอบ โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) มีความคืบหน้าไปแล้วกว่าร้อยละ 99.32 ของแผนฯ ปัจจุบันคลองระบายน้ำ ร.1 มีศักยภาพในการระบายน้ำได้สูงสุด 1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีตามเป้าหมายที่วางไว้ จึงมั่นใจได้ว่าในช่วงฤดูฝนของปี 2565 โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา จะสามารถใช้ป้องกันและบรรเทาปัญหาอุทกภัยให้กับราษฎรในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่และพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างเต็มประสิทธิภาพ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image