ราชบัณฑิตยสภา ออกโรงอธิบาย ‘กัมมันตภาพรังสี-กัมมันตรังสี’ ความหมายต่างกัน

ราชบัณฑิตยสภา ออกโรงอธิบาย ‘กัมมันตภาพรังสี-กัมมันตรังสี’ ความหมายต่างกัน

การนำเสนอข่าวและความเคลื่อนไหว วัสดุกัมมันตรังสี “ซีเซียม-137” หายไปจากโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งใน จ.ปราจีนบุรี นำมาสู่การค้นหาอย่างเข้มข้น กระทั่งช่วงสายวันที่ 20 มีนาคม 2566 “ปราจีนบุรี” พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แถลงการพบสารซีเซียม-137 ปนเปื้อนในฝุ่นแดง หรือผงเหล็ก ซึ่งอยู่ในพื้นที่ปิด ยืนยันว่าไม่รั่วไหลแน่นอน

ตัดภาพมาที่หลายภาคส่วนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่าง กัมมันตรังสี และ กัมมันตภาพรังสี ซึ่งล่าสุด สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้อธิบายความหมายทั้ง 2 คำ ซึ่งมีความ “แตกต่างกัน” โดยอ้างอิงจากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

Advertisement

โดย “กัมมันตภาพรังสี” เป็นศัพท์บัญญัติของคำ “Radioactivity” หมายถึง การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอมที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมีพลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน

ส่วน “กัมมันตรังสี” เป็นศัพท์บัญญัติของคำ “Radioactive” หมายถึง ที่สามารถเกิดกัมมันตภาพรังสีได้ (ใช้แก่ธาตุ หรือสาร) ต้องใช้ประกอบกับคำอื่น เช่น วัสดุกัมมันตรังสี อนุกรมกัมมันตรังสี กากกัมมันตรังสี

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image