คำสั่งฝ่ายบริหารของประธานาธิบดี (United States federal executive orders) / โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

คนจาก 7 ประเทศ (สีแดง) ที่ถูกสั่งห้ามเข้าสหรัฐ
ผู้พิพากษาเจมส์ โรบาร์ท  ผู้ยกเลิกคำสั่ง
ผู้พิพากษาเจมส์ โรบาร์ทผู้ยกเลิกคำสั่ง
แซลลี เยตส์ รักษาการ รมต.ยุติธรรมผู้ต้านทรัมป์
แซลลี เยตส์ รักษาการ รมต.ยุติธรรมผู้ต้านทรัมป์

กฎหมายของสหรัฐอเมริกาก็เหมือนกับกฎหมายทั่วโลกที่มีลำดับศักดิ์ของกฎหมาย (hierarchy of laws) ที่ถือว่ากฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีหน้าที่ตรากฎหมายโดยตรงย่อมมีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหาร แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐรวม (composite state) ไม่ใช่รัฐเดี่ยวเหมือนประเทศฝรั่งเศส ประเทศจีน หรือไทยในยามปกติ จึงมีลำดับศักดิ์ของกฎหมายที่ซับซ้อนกว่าบรรดารัฐเดี่ยวต่างๆ เล็กน้อย

โดยสหรัฐอเมริกามีลำดับศักดิ์ตามกฎหมายดังนี้คือ 1) รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา 2) กฎหมายของรัฐสภาสหรัฐ สนธิสัญญา และคำพิพากษาของศาลสหรัฐ 3) กฎหมายของฝ่ายบริหารของสหรัฐ รวมทั้งคำสั่งบริหารของประธานาธิบดีด้วย 4) กฎหมายคอมมอน ลอว์ ที่ผู้พิพากษาสหรัฐเคยตัดสินชี้ขาดแล้ว (caselaw) 5) รัฐธรรมนูญของมลรัฐทั้ง 50 มลรัฐ 6) กฎหมายของมลรัฐและคำพิพากษาของศาลมลรัฐ 7) กฎหมายของฝ่ายบริหารของแต่ละมลรัฐ 8) กฎหมายคอมมอน ลอว์ ที่ผู้พิพากษาของแต่ละมลรัฐเคยตัดสินชี้ชาดแล้ว (caselaw) 9) กฎหมายต่างของรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละมลรัฐตราขึ้นมาใช้ในเขตอำนาจของตนเอง ครับ!

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ออกคำสั่งเมื่อวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2017 สั่งห้ามคนจาก 7 ประเทศมุสลิม อิรัก, ซีเรีย, ลิเบีย, อิหร่าน, โซมาเลีย, ซูดาน และเยเมน เข้าสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 90 วัน โดยอ้างว่าเพื่อ ป้องกันผู้ก่อการร้ายต่างชาติไม่ให้เข้าสหรัฐอเมริกาŽ คนที่ถือสัญชาติตาม 7 ประเทศข้างต้น คือกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งนี้ นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มคนที่ถือ 2 สัญชาติ แต่มีหนึ่งสัญชาติเป็น 1 ใน 7 ประเทศนี้ ก็ได้รับผลกระทบ จากคำสั่งนี้ด้วย

การออกคำสั่งครั้งนี้จึงเท่ากับเป็นการห้ามประชาชนกว่า 218 ล้านคนเข้าสหรัฐ แต่เจ้าหน้าที่การทูตและเจ้าหน้าที่จากองค์กรระหว่างประเทศจะได้รับการยกเว้น

Advertisement

คําสั่งนี้ได้สร้างความอลหม่านและการประท้วงทั่วประเทศ เนื่องจากสร้างความสับสนให้กับหน่วยงานที่ปฏิบัติการว่าจะดำเนินการกับประชาชนที่มาจากประเทศนี้อย่างไร เช่น ผู้ที่ถือ กรีนการ์ด หรือคนที่เพิ่งได้รับวีซ่า และเพิ่งเดินทางมาถึงสหรัฐ ในช่วงระหว่างที่คำสั่งนี้ออกมา ปรากฏว่านางแซลลี เยตส์ นักกฎหมายวัย 56 ปี ดำรงตำแหน่ง รักษาการรัฐมนตรียุติธรรมŽ

นับตั้งแต่ โดนัลด์ ทรัมป์ รับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา มองว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงแสดงจุดยืนอันชัดเจนด้วยการส่งหนังสือไปยังอัยการภายใต้กระทรวงยุติธรรมไม่ให้แก้ต่างทางกฎหมายให้กับ คำสั่งอันเกี่ยวกับผู้อพยพและ ผู้ลี้ภัยŽ ของประธานาธิบดีทรัมป์
เหตุเพราะแซลลี เยตส์ ไม่คิดว่าคำสั่งดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายทำให้แซลลี เยตส์ ถูกปลดออกจากตำแหน่งใน 1 ชั่วโมงต่อมา พร้อมแถลงการณ์ของโฆษกทำเนียบขาวที่ระบุว่า แซลลี เยตส์ ทรยศต่อกระทรวงยุติธรรมด้วยการไม่บังคับใช้กฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องพลเมืองสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ตามในหลายมลรัฐของสหรัฐอเมริกาก็ได้มีผู้ฟ้องร้องไปยังศาลสหรัฐประจำมลรัฐ (ศาลชั้นต้นของสหรัฐ เรียกว่า The United States district courts) ของตนว่าคำสั่งบริหารของประธานาธิบดีทรัมป์นั้นขัดกับรัฐธรรมนูญสหรัฐ ไม่สามารถใช้บังคับได้ โดยผู้พิพากษา เจมส์ โรบาร์ท แห่งนครซีแอตเติล เมื่อได้พิจารณาคำร้องของอัยการสูงสุดของมลรัฐวอชิงตัน

Advertisement

ระบุว่าคำสั่งประธานาธิบดีสหรัฐดังกล่าวขัดต่อกฎหมายและไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเป็นการกีดกันพลเมืองด้วยเหตุแห่งการนับถือศาสนาสั่งระงับคำสั่งห้ามพลเมืองจาก 7 ประเทศเดินทางเข้าสหรัฐของประธานาธิบดีทรัมป์ เป็นการชั่วคราวแล้ว โดยมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

ขณะที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐเตรียมเดินเรื่องเพื่อเพิกถอนคำพิพากษาดังกล่าว ขณะนี้ศาลสหรัฐไม่ต่ำกว่า 4 มลรัฐกำลังพิจารณาการฟ้องร้องคำสั่งดังกล่าวของประธานาธิบดีทรัมป์ โดยอัยการสูงสุดในหลายรัฐต่างระบุว่าคำสั่งไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลได้มีคำสั่งระงับการส่งตัวกลับประเทศของผู้ถือวีซ่าหลายราย แต่คำพิพากษาของผู้พิพากษาโรบาร์ทนับเป็นครั้งแรกที่ให้มีผลบังคับใช้ทั่วประเทศ

ด้านประธานาธิบดีทรัมป์เคยกล่าวถึงคำสั่งฉบับนี้ว่าเป็นไปเพื่อป้องกันประเทศ โดยการอนุมัติวีซ่าจะมีขึ้นหลังจากรัฐบาลของตนวางนโยบายที่มีความปลอดภัยเสร็จสิ้นแล้ว และยืนยันว่าคำสั่งไม่ได้เป็นการกีดกันคนมุสลิม ทั้งนี้ คำสั่งของประธานาธิบดีทรัมป์ได้สั่งห้ามพลเมืองจาก 7 ประเทศเดินทางเข้าสหรัฐรวมถึงระงับโครงการผู้ลี้ภัยเป็นเวลา 120 วัน และสั่งห้ามรับผู้ลี้ภัยจากซีเรียไปจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ซึ่งการประกาศคำสั่งดังกล่าวทำให้เกิดการประท้วงที่สนามบินหลายแห่งทั่วสหรัฐ และส่งผลให้มีการระงับอนุมัติวีซ่าไปแล้วกว่า 6 หมื่นราย ดังนั้นรัฐบาลสหรัฐโดยกระทรวงยุติธรรมต้องอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์สหรัฐโดยเร็วที่สุด ครับ!

เรื่องนี้ต้องถึงศาลฎีกาสหรัฐอย่างแน่นอน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image