ภายหลัง นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกเข้าสหรัฐ แม้อัตราภาษีจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อทุกประเทศถูกเก็บภาษีนำเข้าที่เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อม และทุกประเทศต่างมีแผนงานที่จะผลักดันสินค้าที่อาจส่งออกไปสหรัฐลดลงไปประเทศอื่นๆ ทดแทนการส่งออกที่ลดลง พร้อมกับความกังวลมาพร้อมกับสินค้าด้อยคุณภาพ หรือ การแฝงการใช้สิทธิพิเศษกับประเทศที่สามที่ถูกเก็บภาษีนำเข้าต่ำกว่า
สำหรับประเทศไทย กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ถือเป็นหน่วยงานที่มีภารกิจในการส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการค้าของประเทศทั้งระบบ ได้ออกแถลงยืนยันระบุเพื่อให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมี พ.ร.บ.การส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็นเครื่องมือหลักทางกฎหมายในการกำหนดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (Non-Tariff Measures : NTMs) ซึ่งเป็นเสมือนเกราะป้องกันประเทศจากสินค้าที่ผิดกฎหมาย ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ชีวิต และสิ่งแวดล้อม
โดยกฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกระทรวงกำหนดมาตรการกำกับดูแลการนำเข้าทั้งเพื่อการอนุวัติการตามพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศที่ไทยต้องปฏิบัติตาม และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องควบคุมการนำเข้าเพื่อปกป้องผลประโยชน์สำคัญของประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งภารกิจดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่ WTO อนุญาตให้รัฐภาคีสามารถกระทำได้ภายใต้ข้อยกเว้นทั่วไปของ GATT โดยในทุกกรณีจะมีการพิจารณาความจำเป็นและเหมาะสมของมาตรการที่จะกำหนด โดยหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้านและคำนึงถึงกฎกติกาสากลอย่างรอบคอบ เพื่อให้มั่นใจได้ว่ามาตรการที่ พณ.กำหนดขึ้นจะสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ขัดต่อหลักการค้าเสรี และไม่สร้างอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศมากเกินความจำเป็น เพื่อรักษาสมดุลระหว่างการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศและการบริหารการค้าระหว่างประเทศตามหลักการค้าเสรี
จากข้อมูลกรมการค้าต่างประเทศระบุปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์มีการบังคับใช้มาตรการควบคุมการนำเข้าที่สำคัญ เช่น 1.การห้ามนำเข้าสินค้าตามข้อมติ UN ด้านการคว่ำบาตร และสินค้าที่ส่งผล
กระทบต่อการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมของประเทศ เช่น ขยะเทศบาล ขยะอิเล็กทรอนิกส์ บุหรี่ไฟฟ้า รถยนต์ที่ใช้แล้ว ภาชนะบรรจุอาหารที่มีสารตะกั่ว หรือแคดเมียม เกินปริมาณที่กำหนด 2.การกำหนดให้สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตราย หรือส่งผลกระทบต่อสังคมต้องได้รับการพิจารณาอนุญาตก่อนการนำเข้า 3.การกำหนดให้การนำเข้าสินค้าบางชนิดต้องมีหนังสือรับรองสุขอนามัย/สุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) เพื่อยืนยันความปลอดภัยของสินค้า
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเสริมว่า มาตรการต่างๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดขึ้นเป็นมาตรการที่มีผลบังคับใช้เป็นการทั่วไปโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ นอกจากมาตรการห้ามนำเข้าสินค้าคว่ำบาตรที่จำเป็นต้องเจาะจงประเทศต้องห้ามตามที่มติ UN กำหนดแล้ว ในส่วนของมาตรการกำกับดูแลการนำเข้าในกรณีอื่นทั้งหมด จะมีผลบังคับใช้กับการนำเข้าสินค้าทุกกรณีอย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงประเทศผู้ผลิต หรือประเทศต้นทางการขนส่งสินค้าแต่อย่างใด
สำหรับ 49 บัญชีรายการสินค้าเฝ้าระวังการแอบอ้างถิ่นกำเนิดสินค้า ประกอบด้วย
1.น้ำผึ้ง พิกัดศุลกากร 0409.00, 1702.90, 2106.90
2.ท่อ ท่อส่ง และสายยาง ที่ทำจากยางวัลคาไนซ์ (ยางที่ผ่านกระบวนการวัลคาไนซ์) ยกเว้นยางแข็ง พร้อมหรือไม่พร้อมกับข้อต่อ (เช่น ข้อต่อ ข้อศอก หน้าแปลน) พิกัดศุลกากร 4009.31, 4009.32
3.ยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถบรรทุกขนาดเล็ก พิกัดศุลกากร 4011.10, 4011.20
4.ยางลมใหม่สำหรับรถยนต์ประเภทอื่น พิกัดศุลกากร 4011.90
5.พื้นไม้ลามิเนตหลายชั้น พิกัดศุลกากร 4412.31, 4412.32, 4412.39, 4412.94, 4412.99, 4418.71, 4418.72, 4418.74, 4418.75, 4418.79, 9801.00
6.ไม้อัดเนื้อแข็ง พิกัดศุลกากร 4412.10, 4412.33, 4412.34, 4412.41, 4412.42, 4412.51, 4412.52, 4412.91, 4412.92
7.ไม้ฉลุขึ้นรูปและผลิตภัณฑ์งานไม้ พิกัดศุลกากร 4409.10, 4409.22, 4409.29, 4421.99, 4412.41, 4412.42, 4412.49, 4412.91, 4412.92, 4418.91, 4418.99, 4421.91
8.ผ้าใบสำหรับงานศิลปะ พิกัดศุลกากร 5901.90, 5903.90, 5907.00
9.ผลิตภัณฑ์พื้นผิวควอตซ์ พิกัดศุลกากร 6810.99, 6810.11, 6810.19, 6810.91, 2506.10, 2506.20, 7016.90
10.ใยแก้วไม่ถักทอแบบแผ่น ที่นอน แผ่นบอร์ด และบทความที่คล้ายกันที่ทำจากใยแก้วไม่ถักทอ อื่นๆ พิกัดศุลกากร 7019.39.50
11.ลวดเหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าผสม พิกัดศุลกากร 7213.91, 7213.99, 7227.20, 7227.90
12.ท่อและโปรไฟล์กลวงที่ไม่มีตะเข็บ ทำจากเหล็ก (ยกเว้นเหล็กหล่อ) หรือเหล็กกล้า พิกัดศุลกากร 7304
13.ท่อกลไกดึงเย็นบางประเภท ทำจากเหล็กกล้าคาร์บอนและเหล็กกล้าผสม พิกัดศุลกากร 7304.31, 7304.51, 7306.30, 7306.50
14.ท่อเหล็กกล้าคาร์บอนเชื่อมวงกลมคุณภาพสูง สำหรับใช้ส่งน้ำมันหรือก๊าซ พิกัดศุลกากร 7306.19, 7306.30, 7306.50
15.ข้อต่อเหล็กกล้าหล่อ พิกัดศุลกากร 7307.92, 7307.99
16.ถัง ถังบรรจุ กลอง กระป๋อง กล่อง และภาชนะที่คล้ายกันทำจากสเตนเลสสตีล (เช่น ถังเบียร์) พิกัดศุลกากร 7310.10
17.ตะปูเหล็กบางประเภท พิกัดศุลกากร 7317.00, 7907.00
18.สกรู นอต โบลต์ ตะปูเกลียว หมุดย้ำ สลัก หมุดยึด แหวนรอง (รวมถึงแหวนสปริง) และบทความที่คล้ายกันทำจากเหล็กหรือเหล็กกล้า : มีเกลียวหรือเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 6 มม. พิกัดศุลกากร 7318.14.10
19. สกรู นอต โบลต์ ตะปูเกลียว หมุดย้ำ สลัก หมุดยึด แหวนรอง (รวมถึงแหวนสปริง) และบทความที่คล้ายกันทำจากเหล็กหรือเหล็กกล้า : อื่นๆ พิกัดศุลกากร 7318.19
20.ชุดสปริงภายในที่ไม่มีการปิดคลุม พิกัดศุลกากร 7320.20, 7320.90, 7326.20, 9404.10
21.อ่างล้างจานสเตนเลสดึงลึก พิกัดศุลกากร 7324.10
22.ไม้แขวนเสื้อแบบลวดเหล็ก พิกัดศุลกากร 7326.20, 7323.99
23.โปรไฟล์อะลูมิเนียมรีดขึ้นรูป พิกัดศุลกากร 6603.90, 7609.00, 7610.10, 7615.10, 7615.19, 7615.20, 7616.10, 7616.99, 8302.10, 8302.20, 8302.30, 8302.41, 8302.42, 8302.49, 8302.50, 8503.00, 8305.10, 8302.60, 8306.30, 8415.90, 8418.99, 8419.90, 8422.90, 8424.90, 8473.30, 8479.89, 8479.90, 8481.90, 8486.90, 8487.90, 8508.70, 8513.90, 8515.90, 8516.90, 8529.90, 8538.10, 8541.90, 8543.90, 8708.10, 8708.80, 8708.99, 9031.90, 9401.99, 9403.10, 9403.20, 9405.99, 9506.11, 9506.51, 9506.59, 9506.70, 9506.91, 9506.99, 9507.30, 9507.90, 9603.90
24.แผ่นฟอยล์อะลูมิเนียมบางประเภท พิกัดศุลกากร 7606.11, 7606.12, 7606.91, 7606.92, 7607.11, 7607.19
25.สายไฟและสายเคเบิลอะลูมิเนียม พิกัดศุลกากร 8544.49, 8544.42
26.ใบเลื่อยสำหรับเลื่อยทุกชนิด (รวมถึงใบเลื่อยแบบผ่าตามยาว ใบเลื่อยแบบมีร่อง หรือใบเลื่อยแบบไม่มีฟัน) และชิ้นส่วนโลหะพื้นฐานของใบเลื่อยเหล่านั้น พิกัดศุลกากร 8202.10, 8202.20, 8202.31, 8202.39, 8202.40, 8202.91
27.ใบเลื่อยเพชร พิกัดศุลกากร 8206.00, 6804.21
28.ลวดเย็บเหล็กแบบแถบ พิกัดศุลกากร 8305.20
29.เครื่องยนต์เพลาตั้งบางรุ่นที่มีความจุระหว่าง 99cc ถึง 225cc และชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ดังกล่าว พิกัดศุลกากร 8407.90, 8409.91, 8433.11, 8424.30
30.ชิ้นส่วนของปั๊มน้ำและปั๊มอื่นๆ (ไม่รวมอยู่ในหมวดอื่น) พิกัดศุลกากร 8413.91.90
31.ตู้เย็น-ตู้แช่เย็นแบบรวมกัน พร้อมประตูแยกภายนอก ใช้ไฟฟ้าหรือแบบอื่น พิกัดศุลกากร 8418.10
32.เครื่องจักรกลศูนย์การผลิต เครื่องจักรกลก่อสร้างแบบสถานีเดี่ยว และเครื่องถ่ายโอนหลายสถานี สำหรับงานโลหะ: ศูนย์การผลิต พิกัดศุลกากร 8457.10
33.ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ พิกัดศุลกากร 8471.70.20
34.แผงวงจรพิมพ์ของเครื่องจักร/ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของเครื่องจักรในพิกัด 8471 พิกัดศุลกากร 8473.30
35.เซลล์แสงอาทิตย์ซิลิกอนคริสตัลไลน์ ไม่ว่าจะประกอบเป็นโมดูลแล้วหรือไม่ และผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ซิลิกอนคริสตัลไลน์ พิกัดศุลกากร 8501.31, 8501.61, 8501.71, 8501.72, 8501.80, 8507.20, 8541.40, 8541.42, 8541.43, 8541.49
36.มอเตอร์กระแสสลับ (AC) ประเภทอื่นๆ แบบเฟสเดียว พิกัดศุลกากร 8501.40
37.กล้องวิดีโอดิจิทัลสำหรับถ่ายภาพนิ่ง พิกัดศุลกากร 8525.80
38.รีเลย์สำหรับสวิตช์ป้องกัน หรือเชื่อมต่อในวงจรไฟฟ้า สำหรับแรงดันไม่เกิน 60 โวลต์ พิกัดศุลกากร 8536.41
39.ลวดพันขดลวดที่มีฉนวน (รวมถึงแบบเคลือบ หรืออะโนไดซ์) ที่ไม่ใช่ทองแดง พิกัดศุลกากร 8544.19
40.ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของตัวถังรถยนต์ในพิกัด 8701 ถึง 8705 เช่น ชุดประตู พิกัดศุลกากร 8708.29
41.ระบบเบรกและเซอร์โวเบรก รวมถึงชิ้นส่วนของระบบเหล่านั้น พิกัดศุลกากร 8708.30
42.กระปุกเกียร์ รวมถึงชิ้นส่วนของกระปุกเกียร์ พิกัดศุลกากร 8708.40
43.เพลาขับที่มีดิฟเฟอเรนเชียล ไม่ว่าจะมีชิ้นส่วนส่งกำลังอื่นรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม และเพลาที่ไม่ใช่เพลาขับ รวมถึงชิ้นส่วนของเพลาดังกล่าว พิกัดศุลกากร 8708.50
44.ล้อรถและชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เสริมที่เกี่ยวข้อง พิกัดศุลกากร 8708.70
45.ล้อเหล็กบางประเภท พิกัดศุลกากร 8708.99
46.แชสซีบางรุ่นและชุดย่อยของแชสซี พิกัดศุลกากร 8716.39, 8716.90
47.ที่นอน พิกัดศุลกากร 9401.40, 9401.41, 9401.49, 9401.90, 9401.91, 9401.99, 9404.21, 9404.29
48.ตู้ไม้และตู้ล้างหน้าไม้ รวมถึงชิ้นส่วนของตู้เหล่านั้น พิกัดศุลกากร 9403.40, 9403.60, 9403.90, 9403.91, 9403.99
49.หมอน เบาะรองนั่ง และของใช้ตกแต่งลักษณะคล้ายกัน พิกัดศุลกากร 9404.90
ทั้งนี้ ที่มาของรายการสินค้าเฝ้าระวัง 49 รายการสำหรับการส่งออกไปสหรัฐ พิจารณาจากข้อมูลประกอบกัน 3 ส่วน ได้แก่ รายการสินค้าที่สหรัฐใช้มาตรการ AD และมาตรการ 301 กับจีน จากการประสานงานกับหน่วยงานศุลกากรสหรัฐ (CBP) และผลการตรวจสอบกระบวนการผลิตสินค้าไทยของหน่วยงานศุลกากรสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม รายการสินค้าเฝ้าระวังฯ 49 รายการ มีแนวโน้มลดลงเนื่องจากผู้ส่งออกที่ประสงค์จะใช้หนังสือรับรองฯ Form C/O ทั่วไปต้องผ่านการตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าจากกรมก่อน จึงสามารถขอรับหนังสือรับรองฯ Form C/O ทั่วไปได้ โดยมาตรการดังกล่าวเป็นขั้นตอนในการคัดกรองสินค้าและตรวจสอบความถูกต้องของถิ่นกำเนิดสินค้าสำหรับการส่งออกไปสหรัฐ