กรมชลฯเตือนไทยเจอพายุอีก 2 ลูก เดือนก.ค.และต.ค. ก่อนเอลนีโญมาอีกครั้งปลายปี

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดว่าสถานการณ์น้ำปีนี้จะดีกว่า 2 – 3ปีที่ผ่านมา แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติสอดคล้องกับค่าเฉลี่ย 30 ปี จากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าในปีนี้จะมีพายุเข้าสู่ประเทศ 2 ลูก คือ ปลายเดือนมิถุนายน – กรกฎาคม ทำให้ฝนตกในภาคเหนือ และเดือนกันยายน – ตุลาคม ทำให้ฝนตกหนาแน่นในภาคใต้

ส่วนในระหว่างนี้สถานการณ์ภูมิอากาศยังเป็นค่ากลาง แต่มีแนวโน้มเป็นเอลนีโญปลายปีนี้ และคาดว่าช่วงวันที่ 24-29 พฤษภาคมนี้ ทางภาคเหนือตอนล่าง กลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะมีฝนจะกระจายทุกพื้นที่ และคาดว่าจะมีมรสุมพาดผ่าน ทำให้ฝนตกมากขึ้นได้ ดังนั้น กรมชลฯจึงเตรียมพร้อมรับมือ เพื่อดึงเอาน้ำที่คาดว่าเกิดขึ้นนี้ลงสู่เขื่อน สามารถุรับน้ำได้อีกกว่า 50 % ของความจุ

ทั้งนี้ เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม จะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง โดยคาดว่าปริมานน้ำฝนตกทั้งปี จะการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งปี 2560/61 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560- 30 เมษายน 2561 ของ 4 เขื่อนหลักคือ ภูมิพล สิริกิติต์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณรวม 12,400 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือกรณีที่ไม่มีพายุเข้าเลย จะมีน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนรวม 10,000 ล้านลบ.ม. มากกว่าปีที่ผ่านมาที่เก็บได้ 9,700 ล้าน ลบ.ม. พร้อมกันนี้ กรมชลฯจึงวางแผนบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2560 ร่วมกับแผนการบริหารจัดการน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี ที่สอดคล้องกับนโยบายการผลิตข้าวครบวงจร 15.95 ล้านไร่ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า หากทุกฝ่ายให้ความร่วมมือกับแผนที่กรมชลประทานกำหนดไว้ ปีนี้จะไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมทำให้พืชผลเสียหายขึ้นอีก สิ่งที่อยากจะขอร้องให้กับประชาชนชาวบางระกำ และพื้นที่ลุ่ม ใต้จัหงวัดนครสวรรค์ ลงมาคือ คือหลังจากเกี่ยวข้าวไปแล้วไม่ควรปลูกซ้ำอีก เพราะพื้นที่เหล่านั้นจะใช้รับน้ำ และหน่วงชะลอเอาไว้ใช้ช่วงฝนทิ้งช่วงอีกทั้งยังสามารถช่วยตัดยอดน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาได้มากถึงวันละ 8 ล้านลบ.ม. ต่อวัน

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image