คอลัมน์ โลกสองวัย : อยู่ดี กินดี มีสุข

คํานำจากสูจิบัตรงานการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 12 เรื่อง อยู่ดี กินดี มีสุข มิติทางสังคมและวัฒนธรรมของสุขภาพ วันที่ 21-23 มิถุนายนนี้ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ บอกไว้ว่า

ในการศึกษาทางมานุษยวิทยา ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพมิใช่เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บและร่างกายของมนุษย์เท่านั้น หากแต่เกี่ยวโยงถึงความเชื่อและความหมายของการมีชีวิตซึ่งสัมพันธ์กับบริบททางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรเล็งเห็นว่าสังคมไทยในปัจจุบันอยู่ในช่วงเวลาการเปลี่ยนผ่านของวัฒนธรรมสุขภาพที่คนกลุ่มต่างๆ เข้ามามีบทบาทจัดการสุขภาพและโรคภัยไข้เจ็บด้วยความรู้ ความเชื่อ และความ

เข้าใจที่แตกต่างกัน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เราจะต้องทบทวนตรวจสอบความรู้เหล่านั้น เพื่อทำความเข้าใจว่าความรู้สุขภาพถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร และมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของคนไทยอย่างไร

Advertisement

งานนี้น่าสนใจทั้ง 3 วัน

เริ่มจาก วันพุธที่ 21 มิถุนายน เปิดรายการด้วยปาฐกถาเรื่อง “มานุษยวิทยาการแพทย์ในคริสตศตวรรษที่ 21” องค์ปาฐกคือ ดร.นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)

จากนั้น เป็นการเสวนา “ท้องเพื่อชาติ : ร่างกายใต้บงการรัฐ” เริ่มเวลา 10.30 น. ผู้ร่วมอภิปราย คือ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ทัศนัย ขันตยาภรณ์ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ จิตติมา ภาณุเดชะ ผู้อำนวยการมูลนิธิสร้างความเข้าใจสุขภาพหญิง

Advertisement

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกวรรณ ธราวรรณ ดำเนินรายการ

ภาคบ่าย ปาฐกถาเรื่อง วัฒนธรรมวัยรุ่นกับสุขภาพ ศาสตราจารย์ ดร.พิมพวัลย์ บุญมงคล หัวหน้าศูนย์ศึกษาและนโยบายสาธารณสุข สวัสดิการและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นองค์ปาฐก

จบแล้วมี 2 เรื่อง วัยว้าวุ่น เรื่องสุขภาพของคน Gen Me เรื่อง คนรุ่น “ฉัน” ใน I Love You I hate You : การบริโภคที่ไร้สุข เรื่องสุขภาวะทางเพศ

ทอมเร่ร่อน และเรื่อง ประสบการณ์ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวของเด็กหญิง : แนวคิดอำนาจชายเป็นใหญ่ กับเรื่อง หลักประกันสุขภาพ (ไม่) ถ้วนหน้า เรื่องการจัดโครงสร้างระบบบริการสวัสดิการสาธารณสุขที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมการรักษาพยาบาลในสังคมไทย เรื่อง สิทธิมนุษยชนของผู้ได้รับผลกระทบจากการทำศัลยกรรมความงาม และเรื่อง ยาดีกินแล้วหาย ความตายเป็นเรื่องอนาคต : ยาชุดกับความรุนแรงเชิงโครงสร้าง

วันเดียวกันยังมีเรื่องของการเล่นกีฬาสากล : พลวัตการสร้างเสริมสุขภาพในสังคมร่วมสมัย เรื่อง ผสานหรือผลักไส? การแพทย์แผนไทยกับการแพทย์สมัยใหม่ มี 2 ตอน

อีกเรื่อง อำนาจ วาทกรรมของความรู้เรื่องสุขภาพ สุขภาพสมัยราชอาณาจักร : การจัดการและพลวัต กับเรื่อง สุขภาพคน สุขภาพชาติ

สุดท้ายของวันนี้ คือเรื่อง เสวนา คนท้องถิ่นกับความรู้และปฏิบัติการสุขภาพ

อีก 2 วัน พฤหัสบดีที่ 22 กับ ศุกร์ 23 มีอีกหลายเรื่องที่น่าสนใจ อาทิ บทบาทผู้สูงวัยกับพื้นที่ทางสังคม ออนไลน์สร้างสุข : พื้นที่ใหม่ของการสื่อสารสุขภาวะ เสวนาเรื่องกฎหมายกับการคุ้มครองภูมิปัญญาสุขภาพ กระบวนทัศน์พระพุทธศาสนาเพื่อสร้างสุขภาวะในการเตรียมตัวตาย

“ท่านถาม นพพรตอบ” และ “คลินิก นพ.นพพร” ที่เลื่องชื่อในการตอบปัญหาทางเพศมาหลายสิบปี

อีกเรื่องน่าสนใจ ความป่วยไข้ใต้เงาพิพิธภัณฑ์และผลงานศิลปะ การใช้คาถาอาคมประกอบการรักษาโรคด้วยสมุนไพรในกัมพูชา

สนใจลงทะเบียน รับเฉพาะ “ออนไลน์” สอบถามได้ที่ e-mail;[email protected]

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image