สุรเกียรติ์ พบ”แคร์รี่ แลม” เล็งจัดโต๊ะกลมผู้นำธุรกิจ “อาเซียน-ฮ่องกง-จีน”

ผู้สื่อข่าวจากฮ่องกงรายงานว่า เมื่อวันที่ 7 ก.ค. ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเซีย (APRC) พร้อมด้วย ดร.สรจักร เกษมสุวรรณ สมาชิกคณะมนตรีฯ ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นางแคร์รี่ แลม ผู้บริหารสูงสุดของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง ณ ทำเนียบผู้บริหารสูงสุดเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เพื่อแสดงความยินดีที่นางแลม เพิ่งเข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนี้เมื่อวันที่ 1 ก.คซ ที่ผ่านมา และเป็นผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงที่เป็นสตรีคนแรก โดยศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ได้รับเกียรติเป็นคนไทยคนแรกที่ได้มีโอกาสเข้าพบหารือและแสดงความยินดีอย่างเป็นทางการกับผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกงผู้นี้หลังจากการเข้ารับตำแหน่ง

ในการเข้าพบครั้งนี้ ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเซีย (APRC) ได้แสดงความยินดีต่อการเข้ารับตำแหน่งของนางแคร์รี่ แลม ที่มีขึ้นในช่วงการฉลอง 20 ปีของการที่ฮ่องกงกลับมาเป็นของจีน และได้กล่าวสรุปถึงความเป็นมา องค์ประกอบ และกิจกรรมของคณะมนตรีฯที่ประกอบด้วยอดีตผู้นำประเทศ ผู้นำรัฐบาล อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ และรัฐมนตรีอื่นๆ ตลอดจนนักวิชาการ จากทั้งในภูมิภาคเอเซียและนอกภูมิภาค ที่ต่างใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์อันหลากหลายร่วมกันสร้างเสริมและธำรงสันติภาพในเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นทะเลจีนใต้ ที่คณะมนตรีฯได้ดำเนินการในรูปแบบการทูตอย่างเงียบๆ (quiet diplomacy) มาเป็นเวลา 4 ปีเศษแล้ว

นางแคร์รี่ แลม ได้แสดงความชื่นชมต่อความคิดริเริ่มและการดำเนินการของ APRC อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อภูมิภาคเอเซีย และการรวมตัวของผู้มีประสบการณ์จำนวนมากขนาดนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ นางแคร์รี่ แลมเห็นด้วยกับข้อเสนอของประธาน APRC ว่า ถึงเวลาที่ภาคเอกชนของจีนและอาเซียน ควรเข้ามามีบทบาทในการสร้างเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในเขตทะเลจีนใต้ โดย ดร. สุรเกียรติ์ได้เสนอให้มีการจัดการประชุมโต๊ะกลมของตัวแทนผู้นำทางธุรกิจของฮ่องกง และ อาเซียน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการในทะเลจีนใต้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความขัดแย้งและความตึงเครียดในด้านการทหารเกิดขึ้น และความเป็นไปได้ที่จะให้มีความร่วมมือระหว่างจีนกับประเทศต่างๆของอาเซียนที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนในทะเลจีนใต้ ในด้านต่างๆ ดังเช่นที่ทาง APRC ได้เคยเสนอมาโดยตลอด ในรูปแบบที่เรียกว่า Functional Cooperation หรือ ความร่วมมือในหลากหลายรูปแบบทางเศรษฐกิจ ภายในกรอบการเจรจาและความร่วมมือ อาเซียน-จีน และหากมีข้อสรุปจากภาคเอกชน ก็จะได้นำเสนอต่อที่ประชุมอาเซียน-จีนได้ต่อไป

ผู้บริหารสูงสุดของฮ่องกง ได้ให้ความเห็น และข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งและสนับสนุนในความเป็นไปได้ที่จะจัดการประชุมหารือระดมความเห็นของภาคธุรกิจ เอกชน เพื่อหาทางร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆทางเศรษฐกิจ ในทะเลจีนใต้ ระหว่างจีนกับประเทศในอาเซียน โดยจัดขึ้นในเขตปกครองพิเศษฮ่องกงในเร็วๆนี้

Advertisement

นอกจากนี้นางแคร์รี่ แลม ยังแสดงความคาดหวังที่จะเพิ่มพูนความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างฮ่องกงกับไทย ในระหว่างการเดินทางมาเยือนประเทศไทยของนางแลมในต้นเดือนสิงหาคมนี้ โดยศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ได้เน้นว่าเท่าที่ทราบรัฐบาลไทยให้ความสำคัญในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก(EEC) ให้เป็นศูนย์กลางอันหนึ่งในการลงทุนของ”หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” และประเทศไทยมีที่ตั้งที่เอื้อต่อการเป็นสะพานเขื่อมการค้าการลงทุนในประเทศในลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันที่ 6 กรกฎาคม 2570 ศาตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ ก็ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายตุ้ง จี้ หวา อดีตผู้บริหารสูงสุดเขตปกครองพิเศษคนแรกของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง และปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานสภาที่ปรึกษาแห่งชาติด้านการเมืองของสาธารณรัฐประชาชนจีน(สภาสูง) และเป็นผู้ก่อตั้งและประธาน China-United States Exchange Foundation หรือมูลนิธิด้านความสัพนธ์ทางเอกชนระหว่างจีนและสหรัฐ โดยได้มีการหารือกันในประเด็นต่างๆมากมายหลากหลายเป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งในด้านความเป็นไปได้ในการจัดการประชุมระดมความเห็นในภาคธุรกิจเอกชน ระหว่างนักธุรกิจของจีนและอาเซียน และอาจจะนำไปสู่การจัดการประชุมหารือระหว่างภาคธุรกิจเอกชน จีน อาเซียน และสหรัฐในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจในทะเลจีนใต้ในอนาคต

นายตุ้งได้ให้ความสนใจอย่างยิ่งต่อกิจกรรมของ APRC โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้ และรับที่จะนำไปปรึกษาหารือผู้เกี่ยวข้องเพื่อช่วยสนุบสนุนกิจกรรมต่างๆของ APRC ในเรื่องนี้ นอกจากนั้น ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอซีย และนายตุ้ง ยังได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสันตืภาพในภูมิภาคเอเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นคาบสมุทรเกาหลี ตลอดจนประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา

Advertisement

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า APRC ได้มีการดำเนินการทางการทูตแบบเงียบๆ และ กิจกรรมทางวิชาการในประเทศต่างๆในภูมิภาคมาโดยตลอด เพื่อพยายามสร้างเสริมสันติภาพในเขตทะเลจีนใต้ โดย เสนอแนวทางความร่วมมือกันทางด้านเศรษฐกิจในหลากหลสยรูปแบบ ที่เรียกว่า Functional Cooperation ซึ่งได้เป็นทียอมรับทั้งในหมู่นักวิชาการ นักการเมือง ผู้นำ และผู้กำหนดนโยบายทั้งในอดีตและปัจจุบัน ในอาเซียน และจีน ว่าเป็นวิธีการที่สำคัญในการธำรงรักษาสันติภาพในทะเลจีนใต้ และสามารถเป็นวิธีการที่จะดำเนินควบคู่ไปกับการเจรจาประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ หรือ CoC แต่APRCยังมิได้มีโอกาสรับฟังแนวความคิดจากภาคนักธุรกิจและเอกชนในจีน และอาเซียน เพราะภาคเอกชนเป็นผู้ที่จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในทะเลจีนใต้นี้ ไม่ว่าจะเป็นด้าน การท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม การลงทุน การปิโตรเลียม และที่สำคัญที่สุดคือการขนส่งสินค้าทางทะเลผ่านทะเลจีนใต้

ทั้งนางแคร์รี่ แลม และนายตุ้งจี้หวา เห็นพ้องกับดร.สุรเกียรติ์ ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพฯ (APRC) ว่า หาก เกิดความตึงเครียด หรือมีการปะทะกันในทะเลจีนใต้เมื่อใด จะมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความมั่นใจในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และเขตการค้าเสรี 16 ประเทศในรูปแบบของความร่วมมือ RCEP เป็นอย่างยิ่ง และที่สำคัญที่สุดจะกระทบต่อ การผลักดันนโยบาย หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ของจีน (One Belt One Road) ที่ต้องอาศัยเส้นทางคมนาคมขนส่งทางทะเลผ่านทะเลจีนใต้เป็นอันมาก บุคคลสำคัญของฮ่องกงทั้งสอง ยังได้แนะนำองค์กรทางธุรกิจ และ บุคคลสำคัญในภาคเอกชนเพื่อให้ร่วมงานกับ APRC จัดการประชุมระดมความคิดภาคเอกชน อาเซียน ฮ่องกง และจีน ในเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจในทะเลจีนใต้ ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในปลายปีนี้ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นเสนอต่อผู้นำอาเซียนและจีนต่อไป

ก่อนหน้านั้น ในวันที่ 6 กรกฎาคม ศาสตราจารย์ ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย ย้งได้รับเชิญจาก สถาบันกฎหมายระหว่างประเทศแห่งเอเซีย (Asian Academy of International Law) และสมาคมกฎหมายระหว่างประเทศของจีน (Chinese Society of International Law) ให้เป็นประธานการสันนมนาในช่วง ความร่วมมือกันทางการลงทุน : โอกาสและความท้าทายในเอเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้โครงการ ความริเรื่ม หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) ของจีน ในระหว่างการประชุมใหญ่ 2017 ด้านกฎหมายระหว่างประเทศ : อนาคตร่วมกันของเอเชีย ณ ศูนย์ประชุมและนิทรรศการฮ่องกงอีกด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image