“ป้อมมหากาฬ” คาใจกลไกรัฐ โวยผลหารือร่วม 4 ฝ่าย 3 เดือนไม่ถูกนำมาใช้

“ชุมชนป้อมมหากาฬ” คาใจกลไกรัฐ โวยผลหารือร่วม 4 ฝ่าย 3 เดือนไม่ถูกนำมาใช้

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคมผู้สื่อข่าวรายงานว่าชุมชนป้อมมหากาฬ ได้ออกแถลงการณ์มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสงสัยในกลไกของภาครัฐในการแก้ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการชุมชนซึ่งที่ผ่านมามีหลายฝ่ายร่วมกันหาทางออกโดยมีการหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ทหาร, นักวิชาการ , สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์และชาวบ้าน กระทั่งได้ข้อสรุป แต่ปัจจุบันกลับยังไม่มีกระบวนการพิจารณาการบริการจัดการอย่างเป็นขั้นตอนเลย

เนื้อหาในแถลงการณ์มีดังนี้

“ชุมชนป้อมมหากาฬ ขอเรียนว่า ภายใต้ความขัดแย้งชุมชนป้อมมหากาฬพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะค้นหาแนวทางอันเป็นทางออกร่วมกันของสังคม ดังจะเห็นได้จาก ตลอดระยะเวลา 3 เดือน (เดือนเมษายน – เดือนกรกฎาคม 2560) ที่มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกัน 4 ฝ่าย (ตัวแทนกรุงเทพมหานคร ตัวแทนสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬและนักวิชาการ ตัวแทนกรุงเทพมหานคร ตัวแทน

Advertisement

สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และตัวแทนชุมชนป้อมมหากาฬและนักวิชาการ) เพื่อหาแนวทางในการจัดการพื้นที่ป้อมมหากาฬ จนเกิดรายงานผลการหารือร่วมกัน กรณีสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสนอขอให้อนุรักษ์บ้านบริเวณป้อมมหากาฬ แต่ก็ยังไม่มีกระบวนการในการพิจารณาการบริหารจัดการคนและชุมชนป้อมมหากาฬ อย่างเป็นขั้นเป็นตอน เกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย

… ด้วยเหตุเช่นนี้หากจำต้องมีกลไกใดก็ตามเกิดขึ้น เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาบริเวณพื้นที่ป้อมมหากาฬนั้น ก็ควรจะเป็นกลไกภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการบริหารจัดการคนและชุมชนป้อมมหากาฬ โดย

กระบวนการในการปรึกษาหารือนี้ ควรมาจากการมีส่วนร่วมอย่างหลากหลาย กว้างขวางจากทุกภาคส่วน ภาครัฐ ชุมชน ประชาสังคม วิชาการ และเอกชน เป็นต้น ควรเป็นกระบวนการสาธารณะ ที่มีช่องทาง มีเครื่องมือที่จะเผยแพร่แนวทางการแก้ปัญหาแก่สังคมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและเป็นระบบ และควรมีกลไกรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านจากสังคม เพื่อนำไปสู่การนิยามคำว่า “พื้นที่สาธารณะ” ที่สอดคล้องกับยุคสมัย บริบททางสังคมและวัฒนธรรมร่วมกัน

Advertisement

ท้ายที่สุดนี้ ชุมชนป้อมมหากาฬ ยังขอยืนยันเจตจำนงค์ในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วมอย่างแน่นหนัก และไม่เสื่อมคลาย และพร้อมอย่างยิ่งที่จะร่วมค้นหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งนี้บนหลักการที่ตั้งอยู่บนการมีส่วนร่วม ความยุติธรรม และความเป็นธรรม”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image