มทภ.2 ตรวจความพร้อม รับมือพายุ-ภัยแล้ง พร้อมกำชับ ช่วย ปชช.เดือดร้อนเต็มกำลัง

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม ที่ลานเอนกประสงค์ ภายในค่ายศรีพัชรินทร อ.เมือง จ.ขอนแก่น พลโท ธรากร ธรรมวินทร แม่ทัพภาคที่ 2 และผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 2 เดินทางติดตามความพร้อมของกำลังพลชุดบรรเทาสาธารณภัย มณฑลทหารบกที่ 23 พร้อมยุทโธปกรณ์ ภายหลังจากทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการประกาศเรื่องการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย โดยมี พล.ต.ผดุงเกียรติ โปร่งจิตต์ รอง ผบ.พล.ม.3 พ.อ.จุมพล จุมพลภักดี รอง ผบ.พล.ม.3 พ.อ.คณธัช ชนะกาญจน์ รอง ผบ.มทบ.23 นายสุชัย บุตรสาระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พล.ต.ต.พรหมณัฐเขต ฮามคำไพ ผบก.ภ.จว.ขอนแก่น หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น หัวหน้าศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และภาคีเครือข่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 19 องค์กร ร่วมให้การต้อนรับ

 

โดยทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้มีการประกาศเรื่องการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย ซึ่งจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน และอาจจะมีพายุฤดูร้อนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งนายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาล และผู้บัญชาการทหารบก ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก ได้มีความห่วงใยประชาชน จึงให้หน่วยทหารในพื้นที่ประสานความร่วมมือกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก และแม่ทัพภาคที่ 2 มณฑลทหารบกที่ 23 ค่ายศรีพัชรินทร สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดขอนแก่น ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 6 ในการป้องกันปัญหาภัยพิบัติภัยที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่

Advertisement

พล.ท.ธรากรกล่าวว่า โดยภาพรวมในพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 ได้มีการเน้นย้ำกำลังพลหน่วยขึ้นตรง ได้ใช้ศักยภาพที่มีอยู่ร่วมกับส่วนราชการผู้เกี่ยวข้อง เข้าให้การช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มขีดความสามารถ หากเกิดสถานการณ์ภัยธรรมชาติขึ้น เพื่อลดความสูญเสียและรักษาไว้ซึ่งความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินธุของประชมชนสูงสุด ซึ่งทุกฝ่ายได้มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว สำหรับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในภาคอีสานซึ่งมีอยู่ 20 จังหวัด ซึ่งตอนนี้ก็เข้าสู่ฤดูร้อน ที่เราต้องเจอทุกปี ซึ่งเราก็นำบทเรียนจากการที่เราได้เจอปัญหาน้ำมาก ในฤดูฝนปีที่ผ่านมา แล้วเราก็มาเจอฤดูร้อนซึ่งจะต้องขาดน้ำอีกซึ่งก็ได้ให้ทุกจังหวัด ได้มีการประชุมทบทวนแผนและก็ให้พัฒนาแผนเชิงบูรณาการ โดยการวิเคราะห์ว่าพื้นที่ไหนเป็นพื้นที่เสี่ยงโดยดูจากปริมาณน้ำฝน โดยดูจากน้ำต้นทุนที่จัดเก็บในที่ตั้งใกล้ใกล้ และในปัจจุบัน เราได้ตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งเมื่อเช้าผมได้ตรวจสอบ ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของภาคอีสานเรามีมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ 60 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้ว บางเขื่อนหรือบางอ่าง อย่างลำพระเพลิงนั้นมีถึง 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นปีนี้เรามีน้ำต้นทุน เยอะมาก และบางจังหวัด เราได้ไปติดตามตรวจสอบ และสามารถวิเคราะห์ได้ว่าตำบลไหนที่มีการเสี่ยง อำเภอไหน เราก็มาวางแผนและก็จัดว่าหน่วยงานใดจะเข้าไปช่วย ถ้า อบต.อยู่ใกล้ ก็ให้ อบต.เข้าไปดำเนินการ หรือว่าถ้าหากว่าเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลยากลำบากเราก็ยังมีภาคีเครือข่าย เรายังมีหน่วยงานอื่น มีหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ เรามี ปพ.จังหวัด เรามี ปพ.เขต คอยเสริมสร้าง หรือว่าทำให้เรานำเครื่องมือไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งเราก็ได้ดำเนินการและบูรณาการ กันอย่างเป็นรูปประธรรมในห้วงฤดูฝนที่ผ่านมา และบทเรียนเหล่านั้น เรานำมาปรับปรุงมาแก้ไขเพื่อที่จะสร้างความมั่นใจให้กับพี่น้องประชาชน

แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวต่อว่า สำหรับฤดูนี้ฤดูร้อนไม่ใช่แค่ปัญหาน้ำอย่างเดียว แต่เราต้องคำนึงถึงเรื่องไฟด้วย ไฟอาจจะเกิดลัดวงจรและเกิดอัคคีภัยขึ้นมาและยังมีภัยอย่างอื่น ถ้าใครขาดน้ำเราก็ต้องมาดู และสร้างความเข้าใจโดยการสร้างการรับรู้ การประชาสัมพันธ์ และสิ่งต่างๆเหล่านี้ให้กับพี่น้องประชาชน เพราะว่าการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคหรือการใช้น้ำเพื่อการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นในเขตชลประทานหรือว่านอกเขตชลประทานไม่ว่าจะเป็นน้ำที่จะใช้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมทั้งหมดนั้นเชื่อมโยงกันทั้งหมด และก็ใช้ลุ่มน้ำเดียวกันใช้อ่างเก็บน้ำ ใช้เขื่อนเก็บน้ำเดียวกันเราจะต้องบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย จากการที่เราได้มีการวางแผน มีการตรวจมีการซักซ้อมนั้น ก็ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจในความช่วยเหลือที่จะไปถึงพี่น้องประชาชนด้วยความรวดเร็วแต่ก็ขอให้พี่น้องประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังเพื่อที่จะเตือนภัยกันด้วย ในรูปแบบต่างๆ และก็ขอให้พ่อแม่พี่น้อง ได้ใช้น้ำกันอย่างประหยัด ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญและใช้น้ำให้ให้เหมาะให้ควรเพราะบางอย่างน้ำสำหรับมนุษย์น้ำสำหรับสัตว์ น้ำสำหรับที่จะปลูกพืชการเกษตร สามารถที่จะใช้แตกต่างกันจะต้องใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพด้วย หลังจากนั้นท่านจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ ของทางราชการไม่ว่าจะเป็นการลดพื้นที่การปลูกพืชหรือการปลูกข้าวหรือ งดหรือเปลี่ยนรูปแบบการปลูกเป็นพืชใช้น้ำน้อย ไม่ว่าจะเป็นพืชตระกูลถั่วต่างๆ เหล่านี้จะเป็นการบำรุงดินไปด้วยและได้ราคาดีด้วยอย่างนี้เป็นต้นต้องสร้างความเข้าใจ และก็ให้ความร่วมมือกันเมื่อเข้าใจแล้วต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายผมต้องขอขอบคุณพี่น้องประชาชนที่เราจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังถ้าหากเกิดปัญหาผมมั่นใจว่าทางทหารก็ตามทางฝ่ายปกครองก็ตามไม่ว่าจะเป็นท้องที่ท้องถิ่นพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือพี่น้องประชาชนและเราก็เตรียมการกันไว้แล้ว เพื่อที่จะลดความทุกข์ของพี่น้องประชาชน และก็เพิ่มความสุขถึงแม้ว่าจะเป็นฤดูร้อนที่มีอุณหภูมิสูง แต่สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะฝาก

Advertisement

นอกจากปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูร้อนนี้ สิ่งที่ผมเป็นห่วงมากที่สุดก็คือเมษายนวันสงกรานต์ช่วง 7 วันอันตรายอุบัติภัยที่เกิดจากมนุษย์ อันนี้ไม่ใช่เป็นภัยธรรมชาติจะเป็นภัยที่ มนุษย์ ต้องตายนับร้อยเจ็บนับพัน อันนี้ก็ขอให้ท่านได้หาวิธีการป้องกันที่จะลดอุบัติเหตุกันอย่างไรไม่ว่าจะมีด่าน ครอบครัวด่านชุมชนหรือว่าด่านบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่กฎหมายของรัฐ สิ่งต่างๆเหล่านี้เพราะเราจะช่วยกันลดภัยต่างๆนี้ได้ต้องเห็นความสำคัญและร่วมมือกันอย่างจริงจัง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image