ฐานานุศักดิ์ : คอลัมน์ ฟรีสไตล์เรื่องบ้าน บ้าน

กันยายน 2562 ไกลไปมั้ยถ้าจะชวนคุยถึงสถานีรถไฟฟ้าสวยงาม

มหานครกรุงเทพตอนนี้เต็มไปด้วยไซต์ก่อสร้างรถไฟฟ้าหลากสี อย่าไปจำเลยว่าสีอะไรบ้าง ปวดหมองป่าวๆ ตามไปดูสถานีรถไฟฟ้าใหม่ๆ สวยๆ กันดีกว่า

ในโลกโซเชียล+มีเดียตอนนี้บอกเลย เขาหยิบมาพูดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่ 4 สถานีด้วยกัน วิธีการจำง่ายๆ ถามตัวเองดูว่าอยากดูการตกแต่งประดับประดาแบบไหนก็ไปที่นั่น

ถ้าอยากดูมังกร ก็ให้ไปดูที่สถานีมังกร

Advertisement

กมลาวาส ตั้งอยู่หน้าวัดเล่งเน่ยยี่ 1 ย่านเยาวราช ถ้าอยากดูสถาปัตยกรรมประตูบานเฟี้ยม เรดาร์ชี้เป้าไปที่สถานีสามยอดหรือสถานีวังบูรพา โดย 2 สถานีนี้ผู้ออกแบบคือทีมงานบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์

ถ้าอยากดูนกหรือดูหงส์ โน่นเลยค่ะ ลอดอุโมงค์มุดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาข้าม

ฝั่งธนฯไปดูที่สถานีอิสรภาพ รับผิดชอบ

Advertisement

โดยทีมสถาปนิกของบริษัทรับเหมา ช.การช่าง

และสุดยอดสถานีสวยต้องยกให้กับสถานีท้องพระโรง (สถานีสนามไชย) ซึ่งได้บรมครู รศ.ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ด้านสถาปัตยกรรม ประจำปี 2537 เป็นผู้รับผิดชอบ

เรามาเริ่มกันที่สถานีหงส์ “สถานีอิสรภาพ” ตัวสถานีอยู่ระหว่างซอยอิสรภาพ 23-34 จุดเน้นคืออยู่ใกล้วัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ประวัติศาสตร์บอกว่าเป็นสถานที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชสร้างขวัญและกำลังใจให้กำลังพลก่อนออกรบ

เพราะฉะนั้นจึงนำหงส์ซึ่งเป็นสัตว์ในวรรณคดีมาเป็นตัวเดินเรื่องในการตกแต่งสถานี เน้นลายหงส์สีทองเป็นภาพแสดงประกบไลติ้งดีไซน์ให้สวยงาม เพราะหงส์นอกจากมีความสวยงามแล้วยังถือเป็นสัตว์สิริมงคลอีกด้วย

ถัดมา สถานีบานเฟี้ยม “สถานีสามยอด” ทำเลเป็นย่านค้าขายอย่างสำเพ็ง พาหุรัด คลองถม เน้นสไตล์ย้อนยุคช่วงรัชกาลที่ 6 ความตั้งใจหลักคือทำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

ในอนาคตเมื่อเปิดให้บริการ จุดโอ้โฮจะเริ่มตั้งแต่โถงทางเข้าใหญ่โต ประตูทางเข้าทำเป็นบานเฟี้ยม (ประตูที่สามารถพับได้หลายทบ) เสาและช่องจำหน่ายตั๋วจำลองซุ้มประตูสามยอด ฝ้าเพดานตกแต่งสีเหลืองนวล เพิ่มสีสันและลวดลายให้กับสถานีโดดเด่นขึ้นมา

ถัดมา สถานีมังกร “สถานีวัดมังกรกมลาวาส” ทำเลย่านเยาวราชจึงเน้น 2 วัฒนธรรมไทย-จีน ประตูทางลงบนเพดานตกแต่งท้องมังกร แสดงสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของบ้านเมือง ผนังสองด้านกระจกทำสีลายมังกรสลับดอกบัว

บริเวณหน้าห้องตั๋วเพดานตกแต่งโลหะนูนสูง ก้อนเมฆทองรมดำ ลวดลายเกล็ดมังกรแดงสลับขาว ติดตั้งลายประแจจีนหัวสถานีกับทางเดิน ภาพรวมเน้น 3 สีคือแดง-ทอง-ดำ ตามความเชื่อจีน

อย่างไรก็ตาม ตั้งข้อสังเกตว่าการใช้ “สีแดง” จะเน้นสีแดงสด แดงแปร๊ด อะไรประมาณนี้ ตัดกับสีทอง เพราะสองเฉดสีนี้ถือเป็นตัวแทนความร่ำรวยมั่งคั่ง

เปรียบเทียบกับสถานีสุดท้าย “สถานีสนามไชย” ตกแต่งด้วยโทนสีแดงแต่เป็นสีแดงน้ำหมาก มีความเป็นเอกลักษณ์ไทยสูงมาก

ตอนก่อสร้างเขาบอกว่าทางขึ้นลงขุดพบซากฐานอาคาร นักโบราณคดีชี้เป้าว่าอาจเป็นวังเก่าของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขสวัสดี กรมหลวงอดิศรอุดมเดช สมัยรัชกาลที่ 2-6 จึงมีการนำซากสิ่งของจัดแสดงในสถานีรถไฟฟ้าด้วย

สถานีสนามไชยนี่แหละเป็นที่มาของหัวเรื่องฐานานุศักดิ์ เพราะผู้รับผิดชอบคืออาจารย์ภิญโญบอกว่าตั้งใจทำสุดฝีมือเพื่อให้เป็นตำราเรียนของนักเรียนทัศนศิลป์

คำว่าฐานานุศักดิ์ อธิบายแบบกล้อม

แกล้มเป็นการบ่งบอกสถานะว่างานสถาปัตยกรรมนั้นทำเพื่อใคร เช่น งานพุทธศิลป์ถวายเป็นพุทธบูชาก็จะทำแบบหนึ่ง งานสถาปัตยกรรมถวายพระมหากษัตริย์ก็จะต้องออกแบบฟูลออปชั่น

ในขณะที่สถานีสนามไชยออกแบบสำหรับประชาชนทั่วไปใช้สอย ดังนั้นจึงตั้งใจทำให้เหมือน แต่ไม่ให้เหมือนมากจนเกินไป อยากรู้ว่าสวยวิจิตรยังไงคุณแฟนคลับต้องอดใจรอเพื่อเข้าชมของจริงกันเอาเองแล้วล่ะค่ะ

ข้อมูลแถม ปัจจุบันเรามี 81 สถานีรถไฟฟ้า ภายในปีหน้าปีโน้นคาดว่าเพิ่มเป็น 200-300 สถานี

แนวโน้มยังมีสถานีสวยเกิดใหม่ได้อีกตลอดเวลาค่ะ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image