‘กลุ่มวังน้ำยม’ อดีตมหาอำนาจ ในไทยรักไทย

ในอดีต พรรคไทยรักไทย เป็นพรรคการเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เคยมีส.ส.ในสังกัดมากสุดถึง 376 เก้าอี้ในสภา จากทั้งหมด 500 ที่นั่ง

แต่ก็ใช้ว่ามีส.ส.จำนวนมากแล้วจะเป็นเรื่องที่ดี เพราะส.ส.ของพรรคไทยรักไทย มีการแบ่งกลุ่มแบ่งก๊วนเป็นจำนวนมาก โดยกลุ่มไหนมีส.ส.ในมือมากสุด ก็จะมีอัตราต่อรองเก้าอี้รัฐมนตรี โดยเฉพาะกระทรวงสำคัญๆ

กลุ่มวังน้ำยม จึงเป็นกลุ่มหนึ่งที่มักจะได้เก้าอี้กระทรวงน้ำดีไปครอบครองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ

กลุ่มวังน้ำยมอยู่ในความดูแลของ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ในขณะนั้นอยู่ในตำแหน่งเลขาธิการพรรคไทยรักไทย และ สมศักดิ์ เทพสุทิน ในขณะนั้น อยู่ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย

Advertisement

แต่เมื่อเกิดการรัฐประหารโดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) ในฐานะหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(คมช.) นำรถถังเข้ายึดอำนาจ จาก นายทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

ปฏิวัติผ่านมายังไม่ทันเต็มเดือนกลุ่มวังน้ำยมได้ทยอยลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย โดย สมศักดิ์ เทพสุทิน ให้เหตุผลในขณะนั้นว่า “อยากให้ความสมานฉันท์ที่ผู้ใหญ่แต่ละฝ่ายอยากให้เกิด ตรงนี้จะทำให้มีความชัดเจนขึ้น” และต่อมาได้มีการก่อตั้งพรรคมัชฌิมาธิปไตย ร่วมกับ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และถูกยุบไปในที่สุด จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกลุ่มมัชฌิมา

ในขณะที่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ระยะหลังหายไปจากวงการการเมือง โดยไม่ปรากฎเป็นข่าวแต่อย่างใด ในขณะที่ล่าสุด ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หลานชายโดยสายเลือด ออกมามีสีสันในวงการการเมืองแทน หลังจากประกาศตั้งพรรคอนาคตใหม่

Advertisement

อย่างไรก็ตามในช่วงก่อนปฏิวัติสมาชิกกลุ่มวังน้ำยม ประกอบด้วย

ภาคเหนือ ประมาณ 40 คน อาทิ วิสาร เตชะธีราวัฒน์, บัวสอน ประชามอญ, อรุณี ชำนาญยา, จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์, พินิจ จันทรสุรินทร์, สิรินทร รามสูต, ปัญญา จีนาคำ, อนงค์วรรณ เทพสุทิน, กฤษณา สีหลักษณ์, ศรัณย์ ศรัณย์เกตุ, เรวัต แสงวิจิตร, สุรศักดิ์ อนรรฆพันธ์, ทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์, ณรงค์กร ชวาลสันตติ, เกษม ปานอุดมลักษณ์, สัญชัย วงษ์สุนทร, เมธี ฉัตรจินดารัตน์, พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ ฯลฯ

ภาคกลาง ประมาณ 20 คน อาทิ ประแสง มงคลศิริ, วิวัฒน์ นิติกาญจนา, อนุสรณ์ นาคาศัย, เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร, พงษ์ศักดิ์ วรปัญญา, สุชาติ ลายน้ำเงิน, ศุภพรพงษ์ ชวนบุญ, น.พ.วัลลภ ยังตรง, ประชา ประสพดี ฯลฯ

ภาคอีสาน ประมาณ 50 คน อาทิ พีระเพ็ชร ศิริกุล, ประเสริฐ บุญเรือง, มุกดา พงษ์สมบัติ, จตุพร เจริญเชื้อ, ปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข, ไพจิต ศรีวรขาน, ศุภชัย โพธิ์สุ, สุภรณ์ อัตถาวงศ์, โสภณ เพชรสว่าง, ขจรธน จุดโต, ประสิทธิ์ จันทาทอง, เอกธนัช อินทร์รอด, เทวฤทธิ์ นิกรเทศ, เฉลิมชาติ การุญ, สาคร พรหมภักดี, ชูชัย มุ่งเจริญพร, ฟาริดา สุไลมาน, ศุภรักษ์ ควรหา, ธีระยุทธ วานิชชัง, ทองดี มนิสสาร, ธีระชัย แสนแก้ว และธราพงษ์ สีลาวงศ์

กทม. กฤษฎา สัจจกุล และลลิตา ฤกษ์สำราญ

บัญชีรายชื่อ อนุชา นาคาศัย, ร.ท.กุเทพ ใสกระจ่าง, กริช กงเพชร และประสพ บุษราคัม
(ข้อมูลรายชื่อจากศูนย์ข้อมูลการเมืองไทย)

อย่างไรก็ตามภายหลังจากพรรคไทยรักไทย ถูกยุบ ได้มีการก่อตั้งพรรคพลังประชาชนขึ้นมาแทน โดยในขณะนั้น สมัคร สุนทรเวช พาพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง และได้เป็นนายกฯรัฐมนตรี ก่อนที่จะตกเก้าอี้นายกฯ เพราะรายการชิมไปบ่นไป และเมื่อจะมีการโหวตเลือกนายกฯคนใหม่อีกครั้ง พรรคพลังประชาชน เกิดการแบ่วเป็น 2 ขั้ว เสียงส่วนหนึ่งสนับสนุน สมชาย วงสวัสดิ์ เป็นนายกฯ ส่วนอีกกลุ่ม เสนอ สมัคร สุนทรเวช เป็นนายกฯตามเดิม ทำให้ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ชนะการโหวต

ส่งผลให้เกิดรอยร้าวขนาดใหญ่ เมื่อพรรคพลังประชาชนถูกยุบอีกครั้ง จึงมีการแยกตัวไปตั้งพรรคใหม่ คือพรรคเพื่อไทย และส.ส.อีกกลุ่มย้ายไปสังกัดพรรคภูมิใจไทย และ ถือเป็นอีกครั้งที่กลุ่มมัชฌิมา กลับมารวมกับพรรคภูมิใจไทย เป็นการรวมตัวระหว่างกลุ่มเพื่อนเนวิน(กลุ่ม16เดิม) กับกลุ่มมัชมา

นอกจากนี้ยังมีบางส่วนแยกตัวไปตั้งเป็นพรรคเล็กพรรคน้อย ซึ่งน่าจับตาว่าการเลือกตั้งครั้งหน้า พรรคไหน กลุ่มไหนจะมีบทบาทมากกว่ากัน

ทีมงานการเมืองรายงาน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image