สุจิตต์ วงษ์เทศ : จรดพระนังคัล แรกนาขวัญ

เศษภาชนะดินเผามีลายประทับรูปบุคคล คันไถ และวัว จากเตาเผาบ้านบางปูน ต. พิหารแดง อ. เมืองฯ จ. สุพรรณบุรี

เดือนหกเริ่มเข้าฤดูการผลิตใหม่ เพราะฝนเริ่มตกแล้ว ถึงเวลาต้องเตรียมเครื่องมือทำไร่ไถนา

ที่สำคัญก็คือต้องทำพิธีแรกนา หรือนาแรก ทางอีสานเรียกนาตาแฮก
ในทวาทศมาส (โคลงดั้น) เอกสารยุคต้นกรุงศรีอยุธยา พรรณนาฤดูเดือนหก (ไพศาขย) เริ่มมีฝนตกแล้วว่า “ฤดูไพศาขยสร้อง ฝนสวรรค์” ต่อจากนี้ไปจะมีพิธีแรกนาขวัญ

แรกนาขวัญชุมชนหมู่บ้านทุกแห่งจะมีธงปักและผูกคันไถปลิวไปตามลมทุกหนทุกแห่ง ทวาทศมาส (โคลงดั้น) พรรณนาว่า
๏ เดือนหกเรียมไห้ร่ำ ฤๅวาย ยามย่อมชนบทถือ ท่องหล้า ธงธวัชโบกโบยปลาย งอนง่า คิดว่ากรกวักข้า แล่นตาม ฯ
๏ ทันธงบใช่น้อง เรียมทรุด หิวคระหนรนกาม พรั่นกว้า ธวัชงอนโบกโบยสุด ลิ่วลี่ กรใช่กรหน้าหน้า ใช่น้องนาไถ ฯ
จนถึงปลายกรุงศรีอยุธยาก็ยังมีพรรณนาแรกนาขวัญไว้ในนิราศธารโศกของเจ้าฟ้า ธรรมาธิเบศร์ (กุ้ง) ว่า
๏ เดือนหกสรกฝนสวรรค์ จรดนังคัลตามพิธี แรกนาเข้าธรณี พี่ดูเจ้าเปล่าใจหาย
๏ เดือนหกตกครั่นครื้น ฝนสวรรค์ พิธีจรดนังคัล ก่อเกล้า แรกนาจอมไอศวรรย์ กรุงเทพ พี่แลบเห็นเจ้า เปล่าแล้วใจหาย

จรดนังคัล เป็นคำเขมร แปลว่า จรดผาลไถนา (นังคัล คือ ผาลไถนา) หมายถึงไถนาครั้งแรก อีสานเรียกนาตาแฮก ภาคกลางเรียกแรกนาขวัญ

Advertisement
พิธีแรกนาขวัญ แถวขบวนของพระยาแรกนาขณะทำพิธีแรกนาที่ท้องสนามหลวง (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
พิธีแรกนาขวัญ แถวขบวนของพระยาแรกนาขณะทำพิธีแรกนาที่ท้องสนามหลวง (ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ)

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image