เปิดบัญชีรายภาค ผู้มีสิทธิโหวตประชามติ

ข้อมูลอัพเดตล่าสุดของสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กับตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่มีสัญชาติไทย อายุครบ 18 ปีบริบูรณ์ ในวันออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 โดยรวมทั่วทั้งประเทศ มีจำนวน 50,585,118 ราย แบ่งเป็นชาย 24,465,842 ราย หญิง 26,119,276 ราย

แยกเป็นจังหวัดตามภาคดังนี้

1

 

Advertisement

2

กรุงเทพมหานคร

มีผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งสิ้น 4,483,075 ราย ชาย 2,068,744 ราย หญิง 2,414,331 ราย

ภาคเหนือ

จังหวัด ชาย หญิง รวม

1.เชียงราย 449,549 475,728 925,277

2.เชียงใหม่ 615,676 675,688 1,291,364

3.น่าน 194,012 193,542 387,554

4.พะเยา 192,236 205,034 397,270

5.แพร่ 180,813 196,650 377,463

6.แม่ฮ่องสอน 85,412 82,476 167,888

7.ลำปาง 305,690 322,875 628,565

8.ลำพูน 161,072 175,500 336,572

9.อุตรดิตถ์ 179,614 190,868 370,482

10.ตาก 186,538 187,140 373,678

11.พิษณุโลก 331,788 353,825 685,613

12.สุโขทัย 231,363 251,239 482,602

13.เพชรบูรณ์ 382,555 396,354 779,509

14.พิจิตร 209,313 224,590 433,903

15.กำแพงเพชร 276,056 287,013 563,069

16.นครสวรรค์ 406,065 436,245 842,410

17.อุทัยธานี 128,717 133,992 259,709

รวม 9,202,928

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จังหวัด ชาย หญิง รวม

1.กาฬสินธุ์ 382,642 394,009 776,651

2.ขอนแก่น 697,134 732,297 1,429,431

3.ชัยภูมิ 438,404 453,619 892,023

4.นครพนม 271,104 276,233 547,337

5.นครราชสีมา 1,002,019 1,052,406 2,054,425

6.บึงกาฬ 158,134 157,724 315,858

7.บุรีรัมย์ 595,398 612,792 1,208,190

8.มหาสารคาม 374,027 397,043 771,070

9.มุกดาหาร 132,800 133,932 266,732

10.ยโสธร 213,841 215,542 429,383

11.ร้อยเอ็ด 514,556 527,765 1,042,321

12.เลย 248,674 247,715 496,389

13.ศรีสะเกษ 560,180 571,998 1,132,178

14.สกลนคร 433,716 442,407 876,123

15.สุรินทร์ 525,515 537,991 1,063,506

16.หนองคาย 197,724 201,585 399,309

17.หนองบัวลำภู 195,925 198,001 393,926

18.อำนาจเจริญ 145,384 147,775 293,159

19.อุดรธานี 597,060 613,779 1,210,839

20.อุบลราชธานี 700,897 709,683 1,410,580

รวม 17,009,430

 

ภาคกลาง

จังหวัด ชาย หญิง รวม

1.ชัยนาท 126,564 140,402 266,966

2.นครนายก 99,651 104,955 204,606

3.นครปฐม 333,529 375,037 708,566

4.นนทบุรี 436,721 520,113 956,834

5.ปทุมธานี 394,356 457,199 851,555

6.พระนครศรีอยุธยา 301,097 336,586 637,683

7.ลพบุรี 296,808 301,913 598,721

8.สมุทรปราการ 466,535 528,203 994,738

9.สมุทรสงคราม 73,991 83,065 157,056

10.สมุทรสาคร 191,927 215,214 407,414

11.สระบุรี 240,150 253,876 494,026

12.สิงห์บุรี 79,881 90,795 170,676

13.สุพรรณบุรี 320,844 353,587 674,491

14.อ่างทอง 106,823 120,167 226,990

15.จันทบุรี 200,878 214,342 415,220

16.ชลบุรี 528,562 573,355 1,101,917

17.ตราด 83,715 86,380 170,095

18.ระยอง 250,854 267,251 518,105

19.ฉะเชิงเทรา 262,767 280,867 543,634

20.ปราจีนบุรี 182,239 191,442 373,681

21.สระแก้ว 208,367 210,955 419,322

22.กาญจนบุรี 307,791 312,717 620,508

23.ราชบุรี 319,515 348,747 668,262

24.เพชรบุรี 178,448 197,542 375,990

25.ประจวบคีรีขันธ์ 196,730 207,900 404,630

รวม 12,961,686

 

ภาคใต้

จังหวัด ชาย หญิง รวม

1.กระบี่ 162,869 169,373 332,242

2.ชุมพร 191,076 199,243 390,319

3.ตรัง 233,028 251,553 484,581

4.นครศรีธรรมราช 581,197 607,686 1,188,883

5.นราธิวาส 260,162 275,011 535,173

6.ปัตตานี 228,275 240,999 469,574

7.พังงา 98,359 100,502 198,861

8.พัทลุง 195,336 211,098 406,434

9.ภูเก็ต 127,523 151,652 279,175

10.ยะลา 172,027 181,031 353,058

11.ระนอง 66,052 65,716 131,768

12.สงขลา 499,910 545,726 1,045,636

13.สตูล 110,743 115,026 225,769

14.สุราษฎร์ธานี 382,895 403,964 786,859

รวม 6,828,332

 

จากการแบ่งตัวเลขรายภาค จะเห็นได้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีจำนวน 20 จังหวัด มีตัวเลขผู้มีสิทธิเลือกตั้งสูงที่สุด

ถึง 17 ล้านคน ตามมาด้วยภาคกลาง ที่มีจังหวัดสูงสุดจำนวน 25 จังหวัด มีตัวเลขผู้มีสิทธิออกเสียงเกือบ 13 ล้านคน ขณะที่

ภาคเหนือมีจำนวน 17 จังหวัดมีผู้มีสิทธิออกเสียง 12.2 ล้านคน ขณะที่ภาคใต้มีจำนวนจังหวัดที่น้อยที่สุด 14 จังหวัด และมีจำนวนตัวเลขผู้มีสิทธิลงคะแนนเสียง 6.8 ล้านคน ซึ่งรวมแล้วผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 50 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากการทำประชามติปี 2550 จำนวน 5 ล้านคน

ดังนั้นหากผู้มาใช้สิทธิออกเสียงมาใช้สิทธิเกินร้อยละ 60 ตัวเลขผลการประชามติจะเป็นอย่างไร เพราะในเมื่อภาคใต้ เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เป็นฐานเสียงของพรรคเพื่อไทย หากทั้ง 2 พรรครณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิจำนวนมาก ยิ่งเท่ากับเป็นการชี้ขาดว่าประเทศจะเดินไปทางใด

อย่างการเลือกตั้งเมื่อปี 2554 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งออกมา

ใช้สิทธิทั้งสิ้น 75.03% จากจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 46,921,682 คน พรรคที่ได้รับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อมากที่สุดคือ พรรคเพื่อไทย 15,744,190 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 48.41 ของผู้มาใช้สิทธิ รองลงมาคือ พรรคประชาธิปัตย์ 11,433,501 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 35.15 พรรคภูมิใจไทย 1,281,577 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 3.94 พรรคชาติไทยพัฒนา 906,656 คิดเป็นร้อยละ 2.79 พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 494,894 คิดเป็นร้อยละ 1.52 พรรคพลังชล 178,110 คิดเป็นร้อยละ 0.55

พรรครักประเทศไทย 998,603 คิดเป็นร้อยละ 3.07 พรรคมาตุภูมิ 251,702 คิดเป็นร้อยละ 0.77 พรรครักษ์สันติ 284,132 คิดเป็นร้อยละ 0.87 พรรคมหาชน 133,772 คิดเป็น 0.41 และพรรคประชาธิปไตยใหม่ 125,784 คิดเป็นร้อยละ 0.39 โดยมีผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน 1,419,088 คิดเป็นร้อยละ 4.03% คะแนนเสีย 2,039,694 คิดเป็นร้อยละ 5.79%

ขณะที่ผลการทำประชามติปี 2550 ผู้มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด 45,092,955 ผู้มาใช้สิทธิ 25,978,954 คิดเป็นร้อยละ 57.61 มีผู้ไม่มาใช้สิทธิ 19,114,001 คิดเป็นร้อยละ 42.39 เห็นชอบ 14,727,306 คิดเป็นร้อยละ 57.81 ไม่เห็นชอบ 10,747,441 คิดเป็นร้อยละ 42.19 รวม 25,474,747 ส่วนบัตรเสีย/คืนบัตร 504,207 คิดเป็นร้อยละ 1.94 ของบัตรทั้งหมด

หากเทียบระหว่างการลงประชามติปี 2550 กับการเลือกตั้งปี 2554 จะเห็นว่าคะแนนของพรรคเพื่อไทยสูงกว่าคะแนนของผลการประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญนับล้านคะแนน

ผลการประชามติจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการทำประชามติที่จะมีขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ ในขณะที่องค์กรต่างๆ ทั้งไทยและต่างประเทศกำลังจับตามอง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image