สุจิตต์ วงษ์เทศ : ย่านคนจีน ถิ่นไชน่าทาวน์ ยุคอยุธยา

ลายเส้นคัดลอกภาพจิตรกรรมฝาผนังในกรุพระปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ อยุธยา เขียนโดยช่างชาวจีน ยุคต้นอยุธยา

ตลาดของคนจีน ยุคอยุธยา มีหลายแห่ง บอกไว้ในเอกสารจากหอหลวง แต่ที่สำคัญๆ มีตัวอย่างดังนี้

ตลาดใหญ่ท้ายพระนคร เป็นตลาดใหญ่ยิ่งยวดในกรุงอยู่ถนนย่านในไก่ เชิงสะพานประตูจีนไปถึงเชิงสะพานประตูในไก่
มีตึกกว้านร้านจีนตั้งตึกทั้งสองฟากถนนหลวง จีน ไทย นั่งร้านขายสรรพสิ่งของมีเครื่องสำเภา เครื่องทองเหลืองทองขาว กระเบื้อง ถ้วยโถโอชาม มีแพรสีต่างๆ อย่างจีน และไหมสีต่างๆ มีเครื่องมือเหล็กและสรรพเครื่องมาแต่เมืองจีนมีครบ
มีขายของรับประทานเป็นอาหารและผลไม้มาแต่เมืองจีน

ตลาดน้อย อยู่ถนนย่านสามม้า ตั้งแต่เชิงสะพานในไก่ตะวันออกไปถึงบริเวณประตูช่องกุดท่าเรือจ้างข้ามไปวัดพนัญเชิง
มีพวกจีนตั้งโรงทำเครื่องจันอับ และขนมแห้งจีนต่างๆ หลายชนิดหลายอย่าง
มีช่างจีนทำโต๊ะ เตียง ตู้ เก้าอี้น้อยใหญ่ต่างๆ ขาย มีช่างจีนทำถังไม้ใส่ปลอกไม้และปลอกเหล็ก ถังใหญ่น้อยหลายชนิดขาย
ทำสรรพเครื่องเหล็กต่างๆ ขาย และรับจ้างตีเหล็กรูปพรรณตามใจชาวเมืองมาจ้าง

ตลาดวัดท่าราบ อยู่หน้าบ้านเจ้าสัวซี มีตึกแถว 16 ห้อง สองชั้น ที่ชั้นล่างตั้งร้านขายของ ชั้นบนให้คนอยู่

Advertisement

ตลาดบ้านจีน อยู่ปากคลองขุนละคอนไชย (คลองตะเคียน)
ที่นี่มีหญิงละครโสเภณีตั้งโรงอยู่ท้ายตลาด 4 โรง รับจ้างทำชำเราแก่บุรุษ
ตลาดนี้เป็นตลาดใหญ่ใกล้ทางเรือและทางบก มีตึกกว้านร้านจีนมาก ขายของจีนมากกว่าของไทย มีศาลเจ้าจีนศาลหนึ่งอยู่ท้ายตลาด

จิตรกรรมชาวจีนอยุธยา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image