ม.ล.ปนัดดาเปิดวังวรดิศ ปาฐกถาพิเศษ น.ศ.รัฐศาสตร์ มธ.ย้ำ ต้องเป็นคนเก่งและดี

เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร โครงการรัฐศาสตร์ประกาศเกียรติ (Dean’s List) ให้แก่นักศึกษาผู้มีผลการศึกษาดี และนักศึกษาผู้ทำกิจกรรมดีเด่น จำนวน 60 คน โดยมีคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ เป็นประธาน

DSC_1704 LR-2

ในการนี้ได้รับเกียรติจากหม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ใช้พื้นที่พิพิธภัณฑ์และหอสมุด สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ วังวรดิศ และเป็นองค์ปาฐกในหัวข้อ “เป็นคนเก่งและดี อย่างมีสุข” โดยระบุว่า “การเป็นคนเก่งแต่ไม่ดี เป็นไปไม่ได้ เนื่องจากเป็นของตรงข้าม สำหรับคนที่มีปัญญา ก็คือคนที่มีคุณงามความดี คนเรานั้นเมื่อตายไปก็จบ แต่คุณงามความดีที่เราทำไว้จะอยู่กับวงศ์ตระกูล ลูกหลานเรา”

DSC_1693 LR-2

Advertisement

และระบุอีกว่า ปัญญาชนทุกท่านต้องช่วยกันบอกกล่าว หากผู้บริหารในภาครัฐบางคนยังพูดว่าจังหวัดของตนชำระภาษีให้กับประเทศมากมายในแต่ละปี แต่กลับได้รับการจัดสรรงบประมาณกลับมายังจังหวัดแต่เพียงน้อย (น้อยกว่าที่ตนชำระ) หากผู้บริหารยังคงใช้คำพูดว่าประเทศไทยมีรัฐบาลกลาง มิหนำซ้ำยังพลั้งเผลอพูดว่าประเทศไทยประกอบด้วย 77 จังหวัด แสดงว่าผู้พูดไม่รู้เรื่องรู้ราวและขาดความรู้ความเข้าใจในพื้นฐานทางหลักรัฐศาสตร์การปกครองประเทศโดยสิ้นเชิง แล้วเราจะพัฒนาประชาธิปไตยกันอย่างไรดี

DSC_1544 LR-2

เราทุกคนย่อมทราบดีว่าจังหวัดต่างๆ มีศักยภาพที่แตกต่างกัน ความร่ำรวยทางเศรษฐกิจ พื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันอุดมศึกษา และการท่องเที่ยว เป็นอาทิ ที่แต่ละพื้นที่ของประเทศมีไม่เท่าเทียมกัน แต่ทุกจังหวัดทุกพื้นที่คือความภาคภูมิใจของประชาชนคนไทยทั้ง 76 จังหวัด กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาต่างอุ้มชูเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ในระบบที่เรียกว่า ‘Tax Sharing System’ หรือ ‘สรรพากรประเทศ’ ระบบจึงไม่ใช่เป็นแบบตัวใครตัวมัน หรือตัดช่องน้อยแต่พอตัวเมื่อพื้นที่หนึ่งพื้นที่ใดมีความร่ำรวย ประเทศไทยไม่มีระบบที่เรียกว่ารัฐบาลกลาง หากมีแต่ ‘ราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น’ ที่ต้องมีระบบการเชื่อมโยง (Connectivity) และการคานอำนาจที่เหมาะสมในการรักษาระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินและระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีของทุกภาคส่วนกับอีกประเทศที่ดำรงความเป็นเอกภาพตามแนวนโยบายที่เรียกว่า ‘ประชารัฐ’

Advertisement

DSC_1579 LR-2

ประเทศไทยมี 76 จังหวัด ไม่ใช่ 77 จังหวัด น้องสุดท้องคือ จ.บึงกาฬ ที่แยกออกมาจาก จ.หนองคาย เมื่อ พ.ศ.2554 ดังนั้น สถานะของกรุงเทพฯ คือความเป็นเมืองหลวง (Capital City) ของ 76 จังหวัด เป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ผู้แทนทางการทูต และองค์การระหว่างประเทศ เป็นถิ่นพำนักของผู้คนจากทุกๆ จังหวัดทั่วราชอาณาจักรในการดำรงสัมมาชีพ มีสถานภาพเป็นเทศบาลขนาดใหญ่ เป็น อปท.ในรูปแบบพิเศษ (เฉกเช่นเมืองพัทยา) ซึ่งทางที่เหมาะสมแล้วควรเรียกตำแหน่งผู้บริหารกรุงเทพมหานครว่านายกเทศมนตรี (Lord Mayor) เช่นเดียวกับมหานครลอนดอนและนิวยอร์ก ราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่นจึงต้องมีการจัดระบบการคานอำนาจที่เหมาะสมระหว่างกัน ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร เพราะมันคนละระบบ ต่างบริบทและอำนาจหน้าที่ และต้องร่วมกันเสริมร่วมกันสร้างธรรมาภิบาลจังหวัดให้เกิดขึ้นทั่วทั้ง 76 จังหวัด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image