ครั้งแรกในโลก! พบหางไดโนเสาร์มีขนอายุ 99 ล้านปี คงสภาพใน ‘อำพัน’ สภาพสมบูรณ์ (ชมคลิป)

ภาพโดย R.C. MCKELLAR, ROYAL SASKATCHEWAN MUSEUM

เว็บไซต์เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค รายงานเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา อ้างรายงานจากวารสาร “เคอร์เรนต์ไบโอโลจี” ระบุถึงการค้นพบหางไดโนเสาร์สภาพสมบูรณ์ มีอายุย้อนไปถึง 99 ล้านปี ที่ถูกยางไม้ที่กลายสภาพเป็นอำพันคงสภาพซากเอาไว้ โดยยังคงเหลือไว้ทั้งกระดูก เนื้อเยื่อ หรือแม้แต่ขนของไดโนเสาร์

รายงานระบุว่าการค้นพบก่อนหน้านี้ เป็นการค้นพบเพียงเส้นขนไดโนเสาร์ในอำพัน รวมถึงหลักฐานรอยประทับได้โนเสาร์มีขนในฟอสซิล ทว่าครั้งนี้นับเป็นการค้นพบชิ้นส่วนไดโนเสาร์มีขนที่มีภาพสมบูรณ์มากที่สุด ซึ่งจะสามารถสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการและโครงสร้างของขนไดโนเสาร์ได้มากขึ้น

งานวิจัยดังกล่าวนำโดยลิดา ชิง นักบรรพชีวิต จากมหาวิทยาลัยธนณีวิทยาของจีน โดยได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งจาก สภานักสำรวจของสมาคมแนชั่นแนลจีโอกราฟฟิค พบตัวอย่างอำพันขนาดเท่าผลมะนาว มีสภาพกึ่งใส มีอายุจากกลางยุคครีเตเชียส แสดงให้เห็นช่วยแรกของการเปลี่ยนสภาพระหว่างขนของไดโนเสาร์กับขนของนกที่บินได้

ชิ้นส่วนหางไดโนเสาร์ดังกล่าวมีขนาด 1.4 นิ้วปกคลุมไปด้วยขนสีน้ำตาลขณะที่ด้านไต้มีสีขาวหรืออาจไร้สี ภาพจากการแสกนพบกระดูกสันหลัง 8 ชิ้นที่อาจเป็นส่วนกลางหรือส่วนปลายหางที่ยาวของไดโนเสาร์ที่อาจะมีกระดูกสันหลังรวม 25 ชิ้น โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าชิ้นส่วนดังกล่าวอาจเป็นชิ้นส่วนของ “โคเอลูโรซอร์” ไดโนเสาร์ในตระกูลเดียวกันกับไทรันโนซอรัส ซึ่งวิวัฒนาการมาเป็นนกในปัจจุบัน

Advertisement
ภาพโดย ลิดา ชิง
ภาพโดย ลิดา ชิง

ขอบคุณเนื้อหาจาก National Geographic

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image