‘สังคมไทย’ที่’คนไทย’ไม่เห็น โดย ปราปต์ บุนปาน

แฟ้มภาพ

ขออนุญาตกลับมาเขียนถึง/คัดลอกเนื้อหาของหนังสือรวมบทสัมภาษณ์ “ดื่มไดอะล็อก” โดย ใบพัด นบน้อม กันอีกสักหน

คราวนี้จะกล่าวถึงบทสัมภาษณ์ชิ้นแรกในหนังสือ ซึ่งมีหัวข้อชื่อ “เมืองไทยเท่าที่เห็น” ตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนพฤษภาคม 2558

ในบทสัมภาษณ์ชิ้นดังกล่าว ใบพัดไปพูดคุยกับ “เออเชนี เมรีโอ” หรือ “เจนนี่” นักวิชาการชาวฝรั่งเศส ที่อยู่เมืองไทยมานานพอสมควร (7 ปี ณ พ.ศ.2558)

เธอเคยทำงานที่สถาบันพระปกเกล้า เคยเป็นอาจารย์สอนหลักสูตรภาษาอังกฤษของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปัจจุบันกำลังทำปริญญาเอก ที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมาย ศาสนา และภาษา ในสังคมไทย

Advertisement

บทสนทนาหลายๆ ช่วง ระหว่างใบพัดกับเจนนี่ ช่วยส่องสะท้อนภาพของสังคมไทยในมุมมองที่ผิดแผกออกจากความคุ้นเคยทั่วไปได้อย่างน่าสนใจ อาทิ

“- จริงๆ แล้วสังคมไทยเป็นยังไงกันแน่ เจนนี่อยู่ข้างนอกแล้วมีโอกาสได้มาข้างใน เห็นอะไรที่คนไทยไม่เห็น

“สังคมไทยเป็นสังคมที่มี contradiction เหมือนมีหลายอย่างขัดแย้งในตัวเอง ซึ่งสังคมอื่นก็เป็น ฝรั่งเศสก็เป็น อเมริกาก็เป็น

Advertisement

“แต่สังคมไทยแปลกและน่าสนใจกว่า contradiction จะยังอยู่ไปเรื่อยๆ ไม่มีการสนทนาถึงความขัดแย้งนั้น

“เช่น เน้นเรื่องศาสนาพุทธ แต่ขณะเดียวกันก็บ้าทุนนิยม หรือว่าไม่ชอบความขัดแย้ง แต่ขณะเดียวกันก็มีความขัดแย้งสูงมาก หรืออย่างเรื่องศีลธรรมคุณธรรม แต่ประเทศไทยกลับมีปัญหาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ โสเภณี มี hypocrisy (ลักษณะเสแสร้ง/หน้าไหว้หลังหลอก) สูงมาก

“ประเทศไทยไม่มีการอภิปรายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เหมือนอยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆ รักษา contradiction ไว้

“-คิดว่าจะเป็นเหมือนลูกโป่งไหม ที่วันหนึ่งอาจจะระเบิดขึ้นมา

“หลายคนอาจจะรู้สึกอย่างนั้นและรอมานาน แต่ก็ไม่เห็นระเบิด ไปเรื่อยๆ ของมันได้ เพราะว่าคนที่มีผลประโยชน์ในการรักษาสภาพแบบนี้ฉลาด

“อันนี้เกี่ยวข้องกับศาสนา ภาษา กฎหมาย สิ่งที่อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียก “รัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรม” เป็นรัฐธรรมนูญที่ไม่เคยถูกฉีก

“ประเด็นหลักคือ ประเทศไทยไม่ได้เป็นสังคมแห่งความจริง สังคมนี้ไม่มีการ debate (ถกเถียง) ไม่มีการปะทะของความคิด ดังนั้น จึงมีความคิดเดียวที่ยังคงอยู่ไปเรื่อยๆ ความจริงไม่มีโอกาสเกิดขึ้น เป็นปัญหาในเชิงการเมืองด้วย

“ตอนนี้มองว่าวิกฤตการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นเกี่ยวกับว่าใครมีสิทธิสร้างความจริง และความจริงที่ออกมาจะมีหน้าตาอย่างไร

“เราขาดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น อภิปราย สิ่งที่ขัดแย้งกับความจริงของรัฐจะไม่มีสิทธิปรากฏขึ้นได้บนเวทีสาธารณะ แล้วประชาธิปไตยเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่มีการอภิปรายอย่างเสรี เพราะสังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่เน้นการอภิปรายเป็นหลัก”

“-ที่เมืองไทย อะไรบ้างที่เห็นแล้วมีความหวัง

“นักศึกษา ตอนนี้ค่อนข้างมีความหวังมาก เพราะว่ามี critical thinking (ความคิดเชิงวิพากษ์) อยากรู้อยากเห็นและรู้จักโลกพอสมควร ซึ่งต่างจากคนรุ่นเก่า

“สิ่งสำคัญที่สุดคือคนรุ่นนี้สร้างสังคมแห่งการถกเถียง สังคมแห่งการแสวงหาความรู้และความจริง”

พออ่านบทสัมภาษณ์นี้แล้ว ก็คิดถึงบางเรื่องราว ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image