กยท.ตั้งจุดรับซื้อยาง 3,000 แห่ง มั่น ให้ราคาดีกว่าพ่อค้าคนกลาง

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะคณะกรรมการพิจารณากระบวนการทำงานของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ในการเข้ารับซื้อยางพาราจากชาวสวนยาง จำนวน 100,000 ตัน ว่า หลักการรับซื้อมีการตั้งจุดรับซื้อในภาคอีสานและภาคเหนือ 1,000 จุด และภาคใต้ 2,000 จุด โดยใช้จุดรับซื้อเดิมประจำจุดต่างๆของกองทุนสงเคาระห์การทำสวนยาง (กสย.) เดิมก่อนจะมายุบรวมกับอีก 2 องค์กรคือองค์การสวนยาง(อสย.) และสถาบันวิจัยยาง เปลี่ยนเป็นการยางแห่งประเทศไทย(กยท.) ซึ่งจะมีฐานข้อมูลเกษตรสวนยางในพื้นที่อยู่แล้ว โดยกำหนดเป้าหมายรับซื้อ 1 ราย 150 กิโลกรัม

โดยในวันที่ 18 ม.ค.นี้ กยท.จะประชุมพิจารณรายละเอียดกำหนดสูตรยางตามความชื้นที่ซื้อ ไล่ราคาลงไปจากราคายางแผ่นดิบกิโลกรัมละ 45 บาท ทั้งนี้การกำหนดสูตรราคาจะต้องคำนวน ตามความชื้น ค่าดีอาร์ซีหรือความเข้มข้นเนื้อยาง ปรับลดทอนลงไปและจุดรับซื้อออกมาเป็นรายตำบล หมู่บ้าน ทุกจังหวัดที่ปลูกยาง 57 จังหวัด โดยจะมีการชี้แจงให้เกษตรกรสวนยางรับทราบโครงการนี้อย่างเต็มที่ เพราะกยท.พร้อมเน้นการมีส่วนตรวจสอบได้ และให้มั่นใจเกษตรรายย่อยได้ประโยชน์มากทีสุด ซึ่งเกษตรกรภาคเหนือ อีสาน และภาคใต้มาขายได้สบายใจ ไม่มีปัญหาเพราะเคยขายกันอยู่แล้วในพื้นที่ประจำท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม คงไม่มีเกษตรกรไปขายให้พ่อค้าคนกลาง เพราะเขารู้ราคารัฐบาลให้ดีกว่า ซึ่งบางพื้นที่อยากให้มีการรับซื้อเร็วขึ้น เช่นภาคอีสาน จะปิดกรีดกลางเดือน ก.พ.นี้ และในส่วนเกษตรกรภาคใต้ เรีกยร้องให้ซื้อมากกว่า150 กก. ประเด็นเหล่านี้จะนำไปหารือด้วย รวมทั้งเกษตรได้มีข้อเสนอขอสินเชื่อเพื่อไปซื้อเครื่องมือรีดยางแผ่น ที่เก็บไว้ได้ โดยไม่ต้องรีบขาย เพราะที่ผ่านมาพ่อค้ามาซื้อน้ำยางดิบโดยตรง ทำให้ไม่ได้ราคา ซึ่ง 15 มาตรการแก้ไขยางพาราทั้งระบบตามนโยบายรัฐบาล ได้ทำให้เกษตรกร ได้สินเชือพัฒนามูลค่ายางดีขึ้น ซึ่งสัปดาห้หน้าจะประชุมคณะกรรมการยางแห่งชาติครั้งแรกด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image