9.00 INDEX มองผล”โพล” ด้วยสายตา “สุนิยม” มองดุลพินิจ”นักข่าว”อย่าง”เข้าใจ”

มองเผินๆเหมือนกับว่า ไม่ว่าโพลอันออกมาจาก”นิด้า” ไม่ว่าโพลอันออกมาจาก”สวนดุสิต”
จะสะท้อนอาการ”ชเลียร์”
อย่างเช่นที่นำเสนอคำตอบต่อคำถามในเรื่อง “ข้อดี”ของรัฐบาลจาก “รัฐประหาร”
82.64 % มีอำนาจเด็ดขาด พูดจริง ทำจริง
71.31 % บ้านเมืองสงบ ไม่มีการชุมนุมประท้วง
65.27 % ทำงานคล่องตัว แก้ปัญหาได้เร็ว
อย่างเช่นที่นำเสนอต่อคำถามในเรื่อง”การแฮก”เข้าเว็บไซต์ของ “หน่วยราชการ”
36.39 % เป็นวิธีที่ไม่เหมาะสม
กระนั้น หากลองศึกษา “คำตอบ” ไม่ว่าจะจากของ”นิด้า” ไม่ว่าจะจากของ”สวนดุสิต”
ก็จะมองเห็นบางแง่ บางมุม
บางแง่ บางมุม ที่มิได้เป็นอาการ”ชเลียร์” หากน่าจะเป็น”ความจริง”
เพียงแต่จะ “ยอมรับ” หรือไม่

ในเรื่องของ “สงครามไซเบอร์” ผลการสำรวจของโพลยังบ่งบอกความนัยบางอย่าง
เป็นการพิสูจน์ศักยภาพว่ารับมือได้แค่ไหน
เป็นวิธีที่เหมาะสมเพราะรัฐไม่ยอมฟังเสียงค้านของประชาชนบางส่วน
รัฐต้องเร่งชี้แจงให้ชัดเจน จะได้ช่วยลดข้อขัดแย้ง
เช่นเดียวกับ “ความเห็น”อันมาจากส่วนที่ชมชอบต่อรัฐบาลซึ่งมาจาก “การเลือกตั้ง”
80.04 % ประชาชนเลือกเอง
61 % มีประสบการณ์ รู้ปัญหา อยู่ในพื้นที่
52.27 % สามารถตรวจสอบการทำงานได้
เห็นหรือยังว่า ผลอันได้จาก”โพล” มิได้สะท้อน”ด้านเดียว” หากพยายามทำอย่าง “รอบด้าน”
เพียงแต่จะ”เลือก”ฟัง แบบใด

หากไม่เข้าใจกระบวนการทำงานอันยากลำบากของสำนัก”โพล”ก็ขอให้นำ “บทเรียน” จาก”นักข่าว”มาศึกษา
เป็นบทเรียนในเรื่อง “ฉายา” รัฐบาล
นี่เป็นขนบอันนักข่าว”ทำเนียบรัฐบาล”กระทำมาอย่างต่อเนื่อง
ไม่ว่ารัฐบาล”เลือกตั้ง” ไม่ว่ารัฐบาล”รัฐประหาร”
แล้วเหตุใดพอปีระกาอันคาบเกี่ยวระหว่างเดือนธันวาคมกับ เดือนมกราคมย่างเข้ามา
จึงจำเป็นต้อง “งด”
นี่มิเท่ากับเป็นการ “ปิดปาก” หรือ “เซ็นเซอร์ตนเอง”ของบรรดา “เหยี่ยว”ข่าวหรอกหรือ
จำเป็นต้อง”งด”จำเป็นต้อง”เข้าใจ”

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image