“พระองค์ภาฯ” ทรงปฏิบัติภารกิจแรกในฐานะทูต “ยูเอ็นโอดีซี”

เมื่อเวลา 10.17 น. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในฐานะทูตสันถวไมตรีด้านการส่งเสริมหลักนิติธรรมและระบบงานยุติธรรมทางอาญา สำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นโอดีซี) เสด็จมาร่วมการประชุมเวทีสาธารณะว่าด้วยหลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งถือเป็นพระภารกิจแรกในฐานะทูตสันถวไมตรีฯ จัดโดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (ทีไอเจ) องค์การมหาชน ในโอกาสเปิดโครงการโรลด์โปรแกรม (RoLD Program) ซึ่งมี นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการทีไอเจ, นายลุค สตีเว่นส์ ผู้ประสานงานสหประชาชาติและผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นดีพี) ประจำประเทศไทย, นายเจเรมี่ ดักลาส ผู้อำนวยการยูเอ็นโอดีซี ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก ตลอดจนผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมหลักสูตรอบรมโรลด์ เอ็กคลูซีฟ โปรแกรม รวมกว่า 200 คน รับเสด็จ ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ

S__958610

การนี้ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงมีพระดำรัสปาฐกถาพิเศษ ความตอนหนึ่งว่า โลกได้เรียนรู้บทเรียนที่ดีมากมายในการแสวงหาหนทางสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านเป้าหมายของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ หรือเอ็มดีจี ซึ่งเป็นกรอบแนวทางที่มีเป้าหมายชัดเจนในการขจัดปัญหาความยากจน ความหิวโหย และโรคภัยต่างๆ พบความสำเร็จในหลายๆด้าน แต่ก็ยังมีภาวะถดถอยในบางเรื่อง ซึ่งน่าประสบความสำเร็จมากกว่านี้หากเราให้ความสำคัญกับเรื่องบางเรื่อง อาทิ ความยุติธรรมและหลักนิติธรรม ที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งนี้ ในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (ค.ศ.2015-2030) หลักนิติธรรมไม่เพียงเป็นเป้าหมายหนึ่งเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ของตัวมันเอง แต่ยังทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายอื่นๆ อีกด้วย เพราะหลักนิติธรรมที่มีประสิทธิผลจะทำให้เกิดภาวะที่ประชาชนทั้งหลาย สามารถที่จะใช้สิทธิพื้นฐานต่างๆได้ โดยไม่ต้องกลัวว่าจะมีการเลือกปฏิบัติ ฉะนั้นหลักนิติธรรมคือส่วนที่จะขาดไปไม่ได้ของการพัฒนาที่ยั่งยืน

สำหรับตัวข้าพเจ้าในหน้าที่ที่ต้องรักษากฎหมาย ได้พบกับเรื่องราวของคนที่ต้องมาเกี่ยวข้องกับระบบนิติธรรม ได้เห็นถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ ทัศนคติและการตระหนักรู้ของผู้คนว่าเราควรจะต้องเคารพกฎหมาย ซึ่งข้าพเจ้าเชื่อว่าทุกคนควรจะมีความคิดเห็นร่วมกันว่าคนควรที่จะเคารพกฎหมาย ซึ่งจะเป็นข้อกำหนดให้มีหลักนิติธรรมและการพัฒนา แต่ทัศนคติดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นโดยง่าย อาจจะใช้หลายชั่วอายุคน อาจจะใช้ความพยายามร่วมกัน ที่จะทำให้มีทัศนคติดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้

Advertisement

S__958612

“ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้ทำให้เห็นว่าหลักนิติธรรมมีส่วนที่ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ยกตัวอย่างชาวเขาที่เคยทำมาหากินด้วยการปลูกพืชที่ผิดกฎหมาย เขาเหล่านั้นขาดสิ่งที่เป็นปัจจัยในการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐาน ซึ่งถ้าเราไปปฏิบัติตามกฎระเบียบเดิมๆ คงจะไม่เป็นประโยชน์จากบุคคลเหล่านี้ แต่ถ้าเราได้ให้ปัจจัยพื้นฐานแก่เขาแล้ว เขาสามารถเลี้ยงชีพได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะเป็นเวลาที่ให้เขาได้เคารพกฎหมาย โครงการพระราชดำริจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างให้เกิดความเคารพในหลักนิติธรรมได้ ทั้งนี้ ข้าพเจ้าได้ไปหมู่บ้านเหล่านี้ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 เคยเสด็จฯไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว ได้ไปพูดคุยกับชาวชุมชน ผู้นำหมู่บ้านและเยาวชนในหมู่บ้านนั้น ข้าพเจ้าได้เห็นว่าพวกเขามีวัฒนธรรมของการเคารพกฎหมาย ไม่ต้องรอให้มีการบังคับใช้กฎหมาย จากตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า หลักนิติธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น เราสามารถดำเนินการได้ในทุกๆ ระดับ”

พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงมีพระดำรัสปาฐกถาพิเศษ ต่ออีกว่า ในฐานะที่เป็นทูตสันถวไมตรีฯ ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะทำงานร่วมกับยูเอ็นดีซี และตระหนักถึงการทำงานของสำนักงานของยูเอ็นดีซี เพื่อสิ่งนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งความร่วมมือระหว่างเรานั้นได้มีการเสริมสร้างในภาคส่วนต่างๆ เนื่องจากมีความพยายามในการที่จะสร้างประชาคมอาเซียนซึ่งมีความสามารถในการที่จะรับกับความท้าทายต่างๆ ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่าเรามีศักยภาพและโอกาสมากมายร่วมกันในอนาคตนั้น ท้ายที่สุดนี้ ในฐานะปัจเจกบุคคล ข้าพเจ้ามีความเชื่อในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในหลักนิติธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนส่วนคนอื่นๆ ก็อาจจะค้นพบว่าเขาสามารถที่จะทำประโยชน์มากด้าน อาทิ สุขอนามัย การต่อต้านการทุจริต การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือการลดความยากจน แม้ว่ามุมมองของเราจะแตกต่างกัน แต่ก็เชื่อว่าพวกเราทุกคนมีค่านิยมร่วมกัน ทุกคนทราบดีว่าหลักนิติธรรมเป็นเรื่องของการเคารพกฎหมาย ความยุติธรรม

Advertisement

S__958611

ขณะที่ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการทีไอเจ กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ได้มีผู้เข้าร่วมงานในหลายภาคส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับหลักนิติธรรม รวมถึงพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เป็นความเชื่อมโยงเพื่อนำหลักเป้าหมายไปใช้ในการพัฒนา เพื่อการปฏิรูปหลักนิติธรรม ซึ่งไม่เพียงนักกฎหมายเท่านั้นที่จะนำความเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมไทย การปฏิรูปหลักนิติธรรมเป็นหน้าที่ของทุกคน
นายลุค สตีเว่นส์ ผู้ประสานงานยูเอ็นดีพี ประจำชาติไทย กล่าวว่า พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงงานด้านนิติธรรมในหลายๆ มิติ อาทิ แบงค็อก รูส์ เป็นการลดช่องว่างระหว่างหญิงและชาย ทำให้เกิดเป้าหมายของความยุติธรรม โดยสังคมแห่งสันติภาพและความเท่าเทียม

ด้าน นายเจเรมี่ ดักลาส ผู้แทนยูเอ็นโอดีซีประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าวว่า เราได้ทำงานร่วมกับ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา อย่างลึกซึ้ง เพื่อเป้าหมายในการลดความรุนแรง การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ระบบยุติธรรม การปฏิรูปเรือนจำและผู้ต้องขัง ให้เป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนและหลักนิติธรรม

S__958645

S__958647
เจเรมี่ ดักลาส
S__958651
ลุค สตีเว่นส
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image