กสม.มอบรางวัลผู้หญิงนักปกป้องสิทธิฯ “วันสตรีสากล” ส่งสาส์น “รัฐ” ปกป้องไม่ให้ถูกฟ้องเพื่อหยุดเคลื่อนไหว

เมื่อเวลา 09.10 น. วันที่ 6 มีนาคม ที่ห้องคอนเวนชั่น ซี 2 โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท คณะอนุกรรมการด้านสิทธิสตรี ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดงานเชิดชูเกียรติผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล ประจำปี 2560 เพื่อยกย่องผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เสียชีวิต และกำลังทำงานหนักเพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย โดยมีผู้หญิงกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับรางวัล อาทิ ภิกษุณีธัมมนันทา, เครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน จังหวัดกระบี่ และ นางสาวณัฐพร อาจหาญ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกลุ่มอีสานใหม่

IMG_8514

นางอังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประธานอนุกรรมการด้านสิทธิสตรี กล่าวว่า ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับหน้าที่ของนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างมาก แต่แม้ว่าผู้หญิงจะได้รับยอมรับทางสังคมมากขึ้น แต่ทัศนคติของคนส่วนใหญ่ในสังคมยังมองว่าผู้หญิงควรมีบทบาทอยู่ในพื้นที่ส่วนตัวมากกว่าสาธารณะ ผู้หญิงที่ทำหน้าที่ปกป้องสิทธิมนุษยชนต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อนมากกว่าผู้ชาย ต้องดูแลครอบครัว ขณะที่บางคนต้องสู้ขณะตั้งครรภ์ และยังมีความพยายามในการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ใส่ร้ายในเรื่องส่วนตัวต่างๆ ขณะที่ผู้หญิงก้าวขึ้นมาทำงานด้านนี้มากขึ้น กลับมีความพยายามจัดการรูปแบบใหม่ๆ อย่างการฟ้องร้องดำเนินคดี ให้ผู้หญิงหยุดสู้ จากรายงานของ โพรเท็กชั่น อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุว่าตลอดหลายปีที่ผ่านมามีนักปกป้องสิทธิมนุษยชนกว่า 60 คนถูกสังหารและถูกบังคับให้สูญหาย ในจำนวนนี้เป็นหญิง 5 คน และตั้งแต่ต้นปี 2560 มา 8 ใน 10 ของนักปกป้องสิทธิฯ ถูกต้องข้อหาว่ามีความผิดทางอาญาฯ เป็นผู้หญิง

กรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ยังกล่าวอีกว่า ในโอกาสวันสตรีสากล จึงขอส่งสาส์นไปยังรัฐบาล ขอให้รีบเร่งดำเนินมาตรการปกป้องนักสิทธิมนุษยชนทุกคน โดยเฉพาะผู้หญิง ไม่ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีให้นักสิทธิมนุษยชนหยุดพูดหรือหยุดเคลื่อนไหวในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิ และเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน รัฐต้องให้ความสำคัญในการสอบสวน ต้องเข้าร่วมสังเกตคดี และพยายามทุกทางให้มีการนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย

Advertisement
OLYMPUS DIGITAL CAMERA
นางอังคณา นีละไพจิตร

ด้าน ทิชา ณ นคร กล่าวว่า นักปกป้องสิทธิทั้งหญิงและชายล้วนมีความสุ่มเสี่ยงเท่าๆ กัน ทว่านักปกป้องสิทธิผู้หญิงมีความเปราะบางสูงกว่า กลไกระดับองค์กรสิทธิมนุษยชน ต้องทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องผู้หญิงเหล่านี้อย่างแข็งแรง เพื่อให้บุคคลเหล่านี้สามารถเคลื่อนไหวงานในมิติที่ยากขึ้น โดยไม่รู้สึกโดดเดี่ยวและไม่ตกอยู่ในอันตราย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกป้องหญิงนักปกป้องต้องจับทิศทางให้ได้ เพื่อให้พวกเธอเหล่านั้นรู้สึกว่าการทำงานมีหลักประกัน

ทิชา ณ นคร
ทิชา ณ นคร
OLYMPUS DIGITAL CAMERA
บรรยากาศภายในงาน ทุกคนร่วมกันไว้อาลัยแด่นักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ถูกสังหารและถูกบังคับให้สูญหาย
OLYMPUS DIGITAL CAMERA
มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
OLYMPUS DIGITAL CAMERA
ณัฐพร อาจหาญ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากกลุ่มอีสานใหม่ 
OLYMPUS DIGITAL CAMERA
บรรยากาศภายในงาน
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image