สพฉ.ทำคู่มือการซักประวัติผู้ป่วยต่างชาติ 5 ภาษา แก้ปัญหาสื่อสาร ณ จุดเกิดเหตุ

รอ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิ นแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า สพฉ.ได้จัดทำ “คู่มือการซักประวัติผู้ป่วยต่ างชาติ” ขึ้น 5 ภาษา คือ อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น มาลายู และ พม่า เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสาร กับผู้ป่วย ณ จุดเกิดเหตุ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศท่ องเที่ยว และเป็นประเทศในประชาคมเศรษฐกิ จอาเซียน หรือ AEC ทำให้มีชาวต่างชาติ เดินทางมาท่องเที่ยว และ ทำงานจำนวนมาก ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะการ ให้ความช่วยเหลือกับผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งหากสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้นเท่าใดก็ จะยิ่งเป็นประโยชน์ ต่อตัวผู้ป่วยในเรื่องการรั กษาพยาบาลมากขึ้นเท่านั้น

นพ.วริษ คุปต์กาญจนากุล นายแพทย์ชำนาญการโรงพยาบาลกระบี่ หนึ่งในวิทยากร กล่าวว่า ในพื้นที่ประสบปัญหาด้านการสื่อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวจีน ที่ไม่สามารถสื่อสาร ภาษาอังกฤษได้ด้วย ซึ่ง “คู่มือการซักประวัติผู้ป่วยต่างชาติ” จะมีประโยชน์อย่างมากในจุดเกิดเหตุ เพื่อที่ทีมกู้ชีพ สามารถทราบอาการของผู้ป่วยในเบื้องต้นได้ ด้วยการชี้ ประโยคบอกอาการในภาษาต่างๆ ที่อยู่คู่มือนี้ ผ่านการตรวจความถูกต้องจากเจ้าของภาษาแล้ว เชื่อว่าคู่มือนี้ จะสามารถช่วยทีมกู้ชีพให้สื่อสาร ณ จุดเกิดเหตุ เบื้องต้นได้อย่างสะดวกมากขึ้น ว่า ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรและประสานกับศูนย์สั่งการให้เตรียมรับผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

“ที่จะจัดทำภาษาต่างประเทศ 5 ภาษานี้ เป็นเพราะสพฉ.ได้สำรวจข้อมูลการท่องเที่ยว และ การเข้ามาของ ชาวต่างชาติในประเทศไทยซึ่งมี การใช้ภาษาเหล่านี้มาเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งคู่มือนี้ทำให้การสื่อสารง่ายขึ้นและเป็นไปอย่างถูกต้อง ที่ผ่านมาทีมกู้ชีพจะต้องใช้ ระบบของ Google Translate ช่วยในการแปลภาษา แต่ปรากฏว่าแปลออกมาไม่ถูกต้อง ” นพ.วริษกล่าว

นพ.วริษ กล่าวว่า สพฉ.ได้ดำเนินการแจกคู่มือนี้ ไปยังทีมแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ ท่องเที่ยวสำคัญ รวมไปถึงโรงแรม ที่พักในพื้นที่ท่องเที่ยว เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการสื่ อสารกับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เบื้องต้น ก่อนที่จะประสานมายัง โรงพยาบาลต่อไป และในอนาคต สพฉ.จะพัฒนาคู่มือภาษาอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีก อาทิภาษารัสเซีย ลาว กัมพูชา เป็นต้น

Advertisement

ด้าน นส.กามีละ ดอนิ พยาบาลวิชาชีพ และ นายมาจิด สมาน เวชกิจฉุกเฉิน โรงพยาบาลบันนังสตาร์ จ.ยะลา กล่าวว่า ที่จังหวัดยะลา โดยเฉพาะพื้นที่ความรับผิ ดชอบของโรงพยาบาลต้องพบเจอกับผู้ ป่วยฉุกเฉินหลากหลาย ภาษาทั้ง ภาษามาลายู จีน และ พม่า เบื้องต้นโรงพยาบาลจัดทำคู่มือในการสื่อสารภาษาต่างๆแล้ว แต่การออกเสียงยังไม่ชัดเจน ซึ่งการอบรมครั้งนี้ทำให้ได้ พบกับวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในภาษานั้นๆจนสามารถ ออกสำเนียงได้อย่างถูกต้อง เพราะในภาษาต่างประเทศ การออกสำเนียงผิดเพี้ยนทำให้ ความหมายเปลี่ยนทันที ซึ่งถือว่ามีความสำคัญกับการสื่อสารผู้ป่วยอย่างมาก

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image